การสูญหาย (ดาราศาสตร์)

การสูญหาย (อังกฤษ: extinction) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ที่ใช้ในความหมายของการดูดกลืนและการกระจายรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากวัตถุทางดาราศาสตร์โดยสสารบางอย่าง เช่น ฝุ่นและแก๊สที่อยู่ระหว่างวัตถุที่แผ่รังสีกับผู้สังเกต บุคคลแรกที่นำเสนอหลักการของการสูญหายในสสารระหว่างดาวคือ โรเบิร์ต จูเลียส ทรัมเพลอร์[1] แม้ว่าจะมีการระบุถึงสภาวการณ์นี้มาก่อนแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1847 โดย Friedrich Georg Wilhelm von Struve[2] สำหรับผู้สังเกตที่อยู่บนโลก การสูญหายสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากสสารระหว่างดาว และจากชั้นบรรยากาศของโลก นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากฝุ่นระหว่างดาวที่อยู่รอบๆ วัตถุที่สังเกตก็ได้ การสูญหายเนื่องจากชั้นบรรยากาศทำให้ผลสังเกตในบางช่วงคลื่นหายไป (เช่น คลื่นรังสีเอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต และอินฟราเรด) ทำให้ต้องทำการสังเกตการณ์จากฐานสังเกตในอวกาศ แสงสีน้ำเงินมักจะถูกทอนลงได้มากกว่าแสงสีแดงในช่วงความยาวคลื่นของแสง ผลที่ได้ทำให้วัตถุมีสีแดงกว่าความเป็นจริง การสูญหายระหว่างดาวเช่นนี้เรียกกันว่า reddening

อ้างอิง แก้

  1. R.J. Trumpler, 1930. Preliminary results on the distances, dimensions and space distribution of open star clusters. Lick Obs. Bull. Vol XIV, No. 420 (1930) 154-188. Table 16 is the Trumpler catalog of open clusters, referred to as "Trumpler (or Tr) 1-37l[1]
  2. Struve, F. G. W. 1847, St. Petersburg: Tip. Acad. Imper., 1847; IV, 165 p.; in 8.; DCCC.4.211[2]