การสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลาน

45°55′41″N 1°02′28″E / 45.9280°N 1.0410°E / 45.9280; 1.0410

การสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลาน
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง
ซากเครื่องมือ จักรยาน จักรเย็บผ้า ฯลฯ ยังคงปรากฏให้เห็นในอนุสรณ์สถานออราดูร์-ซูร์-กลาน
สถานที่ออราดูร์-ซูร์-กลาน, จังหวัดโอต-เวียน, ฝรั่งเศส
วันที่10 มิถุนายน 2487
ตายถูกฆ่า 642 คน
ผู้เสียหายพลเรือนชาวฝรั่งเศส
ผู้ก่อเหตุ ไรช์เยอรมัน, กองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 2 "ดัสไรช์"
Map of France with mark showing location of Oradour-sur-Glane
Map of France with mark showing location of Oradour-sur-Glane
ออราดูร์-ซูร์-กลาน
ที่ตั้งของออราดูร์-ซูร์-กลานในฝรั่งเศส

วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1944 สี่วันหลังดีเดย์ หมู่บ้านออราดูร์-ซูร์-กลาน (ฝรั่งเศส: Oradour-sur-Glane) จังหวัดโอต-เวียน ประเทศฝรั่งเศสภายใต้การปกครองของนาซีเยอรมนี ถูกทำลาย ชาวบ้าน 642 คน รวมทั้งผู้ชายที่ไม่ได้เป็นนักรบ ผู้หญิง และเด็ก ถูกสังหารหมู่โดยกองร้อยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สซึ่งเป็นการลงโทษแบบเหมารวมจากความเคลื่อนไหวต่อต้านในพื้นที่ รวมทั้งการจับกุมและประหารชีวิตในภายหลังของนายทหารยศชตวร์มบันน์ฟือเรอร์แห่งวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส นามว่า เฮลมุท คัมพ์เฟอ ซึ่งมีคนบอกว่าถูกเผาทั้งเป็นต่อหน้าคนดู คัมพ์เฟอเป็นผู้บัญชาการที่ได้รับประดับยศสูงในกองพลเอ็สเอ็ส-พันเซอร์ที่ 2 ดัสไรช์

พวกเยอรมันได้สังหารทุกคนที่พวกเขาพบเจอในหมู่บ้านในช่วงสมัยนั้น เช่นเดียวกับผู้คนที่ถูกนำตัวเข้ามาข้างในจากพื้นที่โดยรอบ ยอดผู้เสียชีวิตรวมถึงผู้คนที่กำลังผ่านทางไปในหมู่บ้านในช่วงเวลาที่กองร้อยเอ็สเอ็สเดินทางมาถึง ผู้ชายจะถูกนำตัวเขาไปในยุ้งฉางและคอก ซึ่งพวกเขาจะถูกยิงที่ขาและราดด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนที่ยุ้งฉางจะถูกจุดไฟเผา ส่วนผู้หญิงและเด็กถูกต้อนเข้าไปในโบสถ์ที่ถูกจุดไฟเผา ผู้ที่พยายามจะหลบหนีออกทางหน้าต่างก็จะถูกยิงด้วยปืนกล เกิดการปล้นสะดมอย่างกว้างขวาง

โดยรวมแล้ว มีบุคคล 643 คน ที่ถูกบันทึกว่า ถูกฆาตกรรม ยอดผู้เสียชีวิตประกอบไปด้วยพลเมืองชาวสเปน 17 คน ชาวอิตาลี 8 คน และชาวโปล 3 คน

มีผู้รอดพ้นจากการสังหารหมู่ได้หกคน ผู้รอดชีวิตคนสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่ นามว่า รอแบร์ อิบราส ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการเคลื่อนไหวเพื่อความปรองดองระหว่างฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรีย เขาเสียชีวิต เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 ในวัย 97 ปี เขามีอายุ 18 ปี ในช่วงเวลาที่เกิดการสังหารหมู่

หมู่บ้านไม่เคยได้รับการฟื้นฟูเลย หมู่บ้านใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงในช่วงหลังสงคราม ประธานาธิบดีฝรั่งเศสชาร์ล เดอ โกล สั่งการให้คงสภาพหมู่บ้านที่ถูกทำลายไว้ให้เป็นอนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ถาวร

สมุดภาพ แก้

อ้างอิง แก้

บรรณานุกรม

  • Farmer, Sarah. Martyred Village: Commemorating the 1944 Massacre at Oradour-sur-Glane. University of California Press, 2000.
  • Fouché, Jean-Jacques. Massacre At Oradour: France, 1944; Coming To Grips With Terror, Northern Illinois University Press, 2004.
  • INSEE
  • Penaud, Guy. La "Das Reich" 2e SS Panzer Division (Parcours de la division en France, 560 pp), Éditions de La Lauze/Périgueux. ISBN 2-912032-76-8

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้