การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช รัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตและวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ[1] [2] และได้กำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้นในวันที่ 25 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560[3] รวมถึงได้ประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[4]

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศทองใหญ่ประกอบพระบรมราชอิสริยยศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศทองใหญ่ประกอบพระบรมราชอิสริยยศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
การสวรรคต
พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันสวรรคต13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (6 ปีที่แล้ว)
สถานที่สวรรคตอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
ประดิษฐานพระบรมศพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
พระโกศพระโกศทองใหญ่
ฉัตรนพปฎลมหาเศวตฉัตร
พระเมรุพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง
วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (5 ปีที่แล้ว)
ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

พระอาการประชวร

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์ ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิต พระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติ[5]

ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย[6]

ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่[7] ก่อนที่พระอาการจะเริ่มทรุดลงเรื่อย ๆ ทรงมีการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปกติ และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 38 ความว่า[8]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด

วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร[9] โดยนับตั้งแต่สำนักพระราชวังได้แถลงการณ์พระอาการประชวร ฉบับที่ 37 ประชาชนจำนวนมากได้เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราชเพื่อถวายพระพรให้ทรงหายจากพระอาการประชวร กิจกรรมสำคัญคือการสวดบทโพชฌังคปริตร ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นบทสวดมนต์ปัดเป่าโรคร้าย[10] พร้อมทั้งมีการเชิญชวนประชาชนสวมเสื้อสีชมพูซึ่งเป็นสีเสริมดวงพระราชสมภพและมีการร่วมกันถวายพระพรทั่วทั้งสื่อสังคม[11] วันที่ 13 ตุลาคม พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จฯ มายังโรงพยาบาลศิริราช[12]

สวรรคต

สำนักพระราชวังมีประกาศเรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี

— สำนักพระราชวัง 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559

มีคลิปศาสตราจารย์ นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ แพทย์ผู้อยู่ถวายการรักษาขณะสวรรคต ให้สัมภาษณ์ว่าเสด็จสวรรคตด้วยภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย[13] หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ถูกเลิกจ้าง โดยคำสั่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุเหตุผลว่า "...เนื่องจากได้มีการนำข้อมูลของผู้ป่วยไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ"[14]

เคลื่อนพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา โดยขบวนเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราชทางถนนอรุณอมรินทร์ ผ่านไปยังแยกอรุณอมรินทร์ขึ้นสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เคลื่อนต่อไปถนนราชดำเนินในสู่พระบรมมหาราชวังทางถนนหน้าพระลานที่ประตูพิมานไชยศรีและประตูเทวาภิรมย์[15]

ประชาชนถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ตั้งแต่เวลา 08.00 – 14.00 น. สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง[16]

ประชาชนถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[17] และได้จัดสมุดลงนามถวายความอาลัย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ประชาชนถวายสักการะพระบรมศพ

 
ประชาชนต่อแถวเพื่อรอเข้าสักการะพระบรมศพ

สำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาต ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เวลา 05.00–21.00 น. และร่วมบริจาคเงินสมทบทุน ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559[18] จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560[19] ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ ซึ่งมีประกาศให้งดการถวายสักการะพระบรมศพจากสำนักพระราชวัง

วันที่ พระราชพิธีหรืองานสำคัญ อ้างอิง
1 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) [20]
1 มกราคม พ.ศ. 2560 วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2560 [21]
20 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) [22]

ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ สำนักพระราชวังได้สรุปยอดรวมมีประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพรวม 12,739,531 คน[23]รวมระยะเวลาที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ 337 วัน

การแสดงความอาลัย

ภายในประเทศ

 
พระบรมฉายาลักษณ์ประดับไว้เพื่อการแสดงความอาลัย ณ ท้องสนามหลวง
 
ธงชาติไทยลดครึ่งเสาที่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แสดงความเสียใจต่อการสวรรคต ขอให้ประชาชนร่วมถวายความอาลัยและดำเนินชีวิตต่อไป[24]

รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559[25] โดยต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาไว้ทุกข์ต่อไปอีก 14 วัน[26](ยกเว้นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม[27] และในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เฉพาะงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9[28]) รวมทั้งยังมีประกาศขอความร่วมมือให้งดจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน ส่งผลให้การแสดงรื่นรมย์ต่าง ๆ เช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรม กิจกรรมกีฬา การแสดงต่าง ๆ ต่างยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งสถานบันเทิงต่าง ๆ หลายแห่งปิดการให้บริการชั่วคราว[29] และยังมีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันหยุดราชการด้วย[30]

การแสดงความอาลัยในสื่อสังคม

 
เว็บไซต์ในประเทศไทยเปลี่ยนสีเป็นขาว-ดำหรือสเกลสีเทา เพื่อแสดงความอาลัย

ในสื่อสังคมต่าง ๆ มีการแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่นในเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานจำนวนมากเปลี่ยนภาพผู้ใช้เพื่อแสดงความอาลัย เพจดังต่าง ๆ ลงภาพแสดงความอาลัยและงดลงเนื้อหาบันเทิงเป็นการชั่วคราว[31] รวมทั้งทางเฟซบุ๊กยังประกาศงดโฆษณาในเว็บไซต์ภาคภาษาไทยอย่างไม่มีกำหนดเพื่อแสดงความอาลัย,[32] กูเกิลประเทศไทยมีการเปลี่ยนดูเดิลเป็นสีดำเพื่อแสดงความอาลัย,[33] ยูทูบงดโฆษณา 7 วันเช่นกัน, ดาราและนักแสดงต่างร่วมกันแสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมและทวิตเตอร์[34] นอกจากนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้เปลี่ยนสีเว็บเป็นขาวดำเพื่อแสดงความอาลัยด้วย [35]จนกระทั่งภายหลังได้ปรับสีเว็บเข้าสู่สีปกติ โดยมีการประดับริบบิ้นสีดำที่มุมหน้าจอ

และชาวต่างประเทศ อาทิ โชโกะ คาริยาซากิ โยชิมิ โทคุอิ ฮัม อึนจอง ถวายความอาลัยผ่านยูทูบและอินสตาแกรม[36]

การดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภายหลังการสวรรคต

สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องออกอากาศรายการพิเศษจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นการฉายสารคดีพระราชกรณียกิจตลอดรัชกาล สลับกับการแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคต วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีการถ่ายทอดสดการเชิญพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยาในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ กระทั่งเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จึงเริ่มการออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามปกติ เดิมพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า รัฐบาลขอความร่วมมืองดรายการตามปกติและรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 30 วัน ก่อนถูกยกเลิกไป[37] สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้งดรายการรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน[38]

ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักงาน กสทช. ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ โดยในช่วง 15-30 วันหลังการสวรรคต ให้สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม และขอความร่วมมือในการปรับสีรายการต่าง ๆ ไม่ให้ฉูดฉาดจนเกินไป ในช่วง 31-37 วันถัดมา สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป และรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ออกอากาศได้ โดยมีการควบคุมเนื้อหา และตั้งแต่วันที่ 38-100 หลังการสวรรคต สามารถนำรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกอากาศได้ แต่ไม่ควรมีเรื่องของความรุนแรง เรื่องทางเพศ และถ้อยคำหยาบคาย[39]

ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 สำนักงาน กสทช. ได้ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ เมื่อล่วงพ้นระยะเวลา 100 วัน หลังการเสด็จสวรรคต โดยให้นำรายการปกติมาออกอากาศได้ แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการกำกับเนื้อหารายการผังรายการ และการจัดระดับความเหมาะสมของรายการตามที่ กสทช. กำหนดโดยเคร่งครัด รวมทั้งควรสอดแทรกรายการที่เกี่ยวกับการพระราชกรณียกิจ แนวความคิด และปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสารคดีเทิดพระเกียรติพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นอกจากนี้ กรณีที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และพระราชพิธีต่าง ๆ รวมถึงรายการ "ศาสตร์แห่งพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณในทันที[40]สถานีโทรทัศน์ยังรายงานกรณีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าถวายความเคารพพระบรมศพอาทิ หมี เสว่[41]ดินีช เมธา[42]

ระดับนานาชาติ

วันพุธที่ 25 มกราคม 2560 บริษัท ไทยเจียระไน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) [43] ผู้ผลิตสื่อนิตยสารจีน @Mangu (แอดม่านกู่) ร่วมกับ บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหาร พนักงาน สมาคม องค์กร นักศึกษาและกลุ่มชาวจีนที่ประกอบธุรกิจและอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินไทย รวมใจกันขับร้อง เพลงสรรเสริญพระบารมี ภาษาจีน ในชื่อเพลง "Royal Anthem King Bhumibhol Chinese Language" เพื่อถวายความจงรักภักดีและน้อมแสดงความอาลัยในวาระครบ 100 วัน การเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ [44]

ผลกระทบ

ประชาชนบางส่วนโจมตีผู้ไม่สวมเสื้อสีดำ แสดงการไว้ทุกข์ เกิดเหตุการณ์ล่าแม่มด บางส่วนมีพฤติกรรมรุนแรง ถึงขั้นประจานทางสื่อออนไลน์[45] จากเหตุการณ์ดังกล่าว พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอให้ประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาวมาร่วมแสดงความอาลัยได้ ติดริบบิ้นหรือโบว์สีดำบนหน้าอกเสื้อหรือที่แขนเสื้อบริเวณต้นแขนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ความอาลัยแทน[46][47]

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[48] เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สุดท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหาดังกล่าว นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์คล้ายกันในจังหวัดพังงา[49]

กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกาศใส่เสื้อสีแดงในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและป้อนภาพลงสู่เฟซบุ๊ก อาทิ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และเอกชัย หงส์กังวาน ซึ่งต่อมาเอกชัยถูกทำร้ายร่างกาย กระดูกฝ่ามือหัก คาดว่าสาเหตุของการทำร้ายร่างกายมาจากการประกาศใส่เสื้อสีแดงในวันดังกล่าว[50]

รายการผู้แทนต่างประเทศที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ

ผู้นำและประมุขของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้

พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 นาฬิกาโดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวังในการถวายสรงน้ำพระบรมศพ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้าสู่ภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพบรรทมอยู่บนพระแท่น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยราชสักการะพระบรมศพ ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำอบไทยและโถน้ำขมิ้น ถวายสรงที่พระบาทพระบรมศพ ต่อจากนั้น ทรงหวีเส้นพระเจ้าพระบรมศพขึ้นครั้งหนึ่ง หวีลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วหวีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้ในพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงถวายซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียน แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฎาห้ายอดวางข้างพระเศียรพระบรมศพ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพลงสู่หีบ ทหารราชวัลลภรักษาพระองค์เชิญหีบพระบรมศพไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จตาม ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าเบื้องหลังพระฉากและพระแท่นสุวรรณเบญจดล ประกอบพระลองทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร แวดล้อมด้วยเครื่องสูงหักทองขวาง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงกราบ แล้วทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์เที่ยวละ 10 รูป ทรงทอดผ้าไตรเที่ยวละ 10 ไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ เมื่อครบ 100 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงกราบ และเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชากระบะมุกที่หน้าพระแท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม ณ มุขหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้น เสด็จลงบันไดมุขกระสันด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ในขณะพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ ชาวพนักงานประโคมกระทั่งมโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ไฉน กลองชนะ ทหารกองเกียรติยศสำหรับพระบรมศพถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารปืนใหญ่ยิงสลุตถวายพระเกียรตินาทีละ 1 นัดจนกระทั่งพระบรมศพประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจึงหยุดยิง

การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

สำนักพระราชวัง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้[85]

พระราชพิธี ระยะเวลา วันที่
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน 19 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร 15 วัน 27 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร 50 วัน 1 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร 100 วัน 20 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต 365 วัน 13 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พิธีถวายเลี้ยงภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระพิธีธรรม

ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 7 นาฬิกา และเวลา 11 นาฬิกา

พระพิธีธรรมพิธีสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ

ตั้งแต่คืนวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพตลอด 100 วัน ถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 15 นาฬิกา เวลา 19 นาฬิกา และเวลา 21 นาฬิกา

การบำเพ็ญกุศลพิธีกงเต็กถวายพระบรมศพ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย นายกองเอก[86] เจริญ สิริวัฒนภักดี และ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี พร้อมครอบครัวสิริวัฒนภักดี สมาคมนักธุรกิจสัมพันธ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลพิธีกงเต็ก ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ตามลำดับ[87]

การให้หน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ หลังจากการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน)

หีบพระบรมศพ

นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวว่า สำนักพระราชวังได้ติดต่อให้จัดสร้างหีบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างหีบพระบรมศพทรงหลุยส์ผสมทองคำแท้ 100% จากแผ่นไม้สักทองอายุมากกว่า 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ขนาดความกว้าง 29 นิ้ว ความยาว 2.15 เมตร วัดรอบหีบทั้งใบ 229 นิ้ว ทั้งนี้ใช้เวลาประกอบทันทีหลังการเสด็จสวรรคต เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หีบพระบรมศพดังกล่าวแกะสลักลายกุหลาบไทยผสมผสานลายหลุยส์ รอบหีบปิดด้วยทองคำแท้ ภายในหีบพระบรมศพ ใช้ผ้าไหมสีงาช้าง มีที่รองที่บรรทม และซีลภายในเพื่อความแข็งแรง ส่วนผ้าคลุมเป็นผ้าไหมปักดิ้นทอง ซึ่งทางสุริยาเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมด[88]

การประโคมย่ำยาม

ในการประโคมงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีหน่วยงานเข้าร่วมประโคม วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะและกลองมโหรทึก) และวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้ชื่อว่า "เย็นศิระ เพราะพระบริบาล" จัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จไปทรงเปิดนิทรรศการด้วยพระองค์เอง ภายในนิทรรศการมีการจัดนิทรรศการทั้งหมด 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 บุญของแผ่นดินไทย โซนที่ 2 พระราชาผู้ทรงธรรม (ทำ) โซนที่ 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ โซนที่ 4 พระมิ่งขวัญชาวไทย และโซนที่ 5 ร้อยใจไทย นอกจากนั้นในบริเวณจัดแสดงนิทรรศการยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตด้วย[89]

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่กำลังรอคิวเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า นิทรรศการนี้จะเปิดให้เข้าชมในวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้าย และวันที่ 16 พฤษภาคม จะให้คณะรัฐมนตรีเข้าชมอีกครั้งก่อนจะปิดนิทรรศการ

โดยสาเหตุที่ต้องปิดนิทรรศการเร็วขึ้นเนื่องจากกรมศิลปากรกังวลเรื่องการก่อสร้างพระเมรุมาศ ถ้าต้องปิดตามกำหนดเดิมวันที่ 15 มิถุนายน แล้วค่อยส่งคืนพื้นที่จะทำให้งานล่าช้าหรืออาจเสร็จไม่ทัน เพราะขณะนี้เริ่มจะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และยังต้องใช้เวลารื้อถอนประมาณ 15 วัน ซึ่งงานก่อสร้างพระเมรุมาศเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จึงจำเป็นต้องปิดการเข้าชมให้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ 1 เดือน ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีประชาชนเข้าชมแล้วประมาณ 4 แสนคน สำหรับที่ตั้งนิทรรศการเย็นศิระฯ แห่งใหม่ยังไม่ได้กำหนด แต่จะเก็บรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ไว้จัดแสดงไว้ก่อน ถ้าได้สถานที่ที่เหมาะสม ก็จะนำกลับไปติดตั้งตามเดิม[90]

และภายหลังจากที่รัฐบาลได้จัดนิทรรศการนี้บริเวณท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ล่าสุดมีจำนวนผู้เข้าชม 395,050 คน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และหลังจากนี้กรมศิลปากรจะใช้พื้นที่ภายในท้องสนามหลวงเป็นเส้นทางขนส่งวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเร่งก่อสร้างพระเมรุมาศพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศให้แล้วเสร็จตามกำหนด รัฐบาลจึงได้ปิดให้เข้าชมนิทรรศการดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีการจัดทำนิทรรศการในรูปแบบเสมือนจริง ผ่านทางเว็บไซต์ เย็นศิระ เก็บถาวร 2017-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เพื่อจำลองบรรยากาศของนิทรรศการที่จัดแสดง ณ ท้องสนามหลวง รวมทั้งผู้เข้าชมและประมวลภาพกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้ประชาชนได้เข้าชมและเรียนรู้เรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งเก็บบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้แก่คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป[91]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

 
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดเพื่อถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และได้ประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[92]

สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้น คณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน รวมทั้งประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย[93] คาดการณ์ว่าการจัดสร้างพระเมรุมาศจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2560[94] โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี[95] และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ พระยานมาศสามลำคาน ราชรถน้อย พระที่นั่งราเชนทรยาน และพระวอสีวิกากาญจน์ เพื่อพร้อมใช้ในพิธีจริง นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย[96] ซึ่งราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบเหล่านี้ได้ใช้ในการซ้อมย่อยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม และ 15 ตุลาคม รวมถึงการการซ้อมใหญ่ในวันที่ 21 ตุลาคม

คณะรัฐมนตรีได้กำหนดการพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม[97]

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15:01 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 07:24 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระราชาคณะ 30 รูป สดับปกรณ์ก่อนเชิญพระบรมโกศลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โปรดเกล้า ฯ ให้เปลื้องพระลองทองใหญ่ประกอบพระบรมโกศออก และอัญเชิญพระบรมโกศไปประดิษฐานที่พระยานมาศสามลำคาน

หลังจากนั้น ริ้วขบวนที่ 1 จะอัญเชิญพระบรมโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ไปยังพระมหาพิชัยราชรถที่รออยู่ที่บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ประตูเทวาภิรมย์ ถนนมหาราช ถนนท้ายวังและถนนสนามไชย

จากนั้น ริ้วขบวนที่ 2 จะอัญเชิญพระบรมโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนิน เข้าถนนกลาง ท้องสนามหลวง

ต่อด้วย ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระบรมโกศโดยราชรถปืนใหญ่ เวียนรอบพระเมรุมาศโดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) 3 รอบ แล้วอัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานบนพระเมรุมาศ

เวลา 17:15 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[98] และในเวลา 22:30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ (จริง)[99]

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงในการพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง

โดยริ้วขบวนที่ 4 อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานและอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารโดยพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราชวัง เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ออกถนนราชดำเนินใน เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง และแยกเป็น 2 สาย โดยสายพระที่นั่งราเชนทรยานจะอัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และสายพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประดิษฐานพักไว้ในพระศรีรัตนเจดีย์[100]

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:32 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ[101]

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีพระราชพิธีเลี้ยงพระและเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยริ้วขบวนที่ 5[102] และในเวลา 17:28 น. เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร โดยริ้วขบวนที่ 6 ในการพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร[103]

ของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพ

หนังสือที่ระลึกงานพระบรมศพ

หนังสือพระราชทาน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์หนังสือพระราชทาน สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ องคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้ที่เข้าร่วมในการพระราชพิธีเป็นที่ระลึกอนุสรณ์วิทยาทาน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน 15 วัน 50 วัน และ 100 วัน[104][105][106]

หนังสือที่จัดทำโดยรัฐบาล

ทางรัฐบาลและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงาน องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมกันจัดทำหนังสือเพื่อเทิดพระเกียรติเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เห็นชอบให้จัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำนวน 11 รายการ ดังนี้[107]

  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉบับประชาชน
  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากหนังสือพิมพ์ ฉบับสื่อมวลชน
  • หนังสือจดหมายเหตุและซีดีบทเพลงแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • หนังสือจดหมายเหตุกานท์กวีคีตการปวงประชา น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จดหมายเหตุทั้ง 4 เล่มนี้จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

  • หนังสือพระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์และพระเมรุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช' 'จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
  • หนังสือนวมินทราศิรวาทราชสดุดี ร้อยกรองเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • หนังสือพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • หนังสือพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพในงานด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
  • หนังสือศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หนังสือทั้ง 4 เล่มนี้จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

  • หนังสือเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

สิ่งเทิดพระเกียรติอื่น ๆ

สปริงกรุ๊ป ได้จัดทำสมุดภาพเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชุดสรรเสริญพระบารมี จำนวน 2 เล่ม เล่มแรกมีตอนเดียวคือ "นพพระภูมิบาล" ส่วนเล่มที่ 2 มี 4 ตอน คือ "เอกบรมจักริน" "พระสยามินทร์" "พระยศยิ่งยง" ซึ่งในสมุดภาพทั้งสองเล่มรวมสี่ตอนนี้จะเป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และตอนพิเศษ "ยงยศยงศักดา มหาวชิราลงกรณ" ซึ่งเป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รวมถึงยังได้รวบรวมเพลงสรรเสริญพระบารมีจำนวน 9 รูปแบบ มาไว้ในสมุดภาพเล่มที่ 2 ด้วย โดยผ่านการคัดสรรจากหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว[108][109]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม และวันที่ ๑๓ ตุลาคม)
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๐" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  3. โปรดเกล้าฯ กำหนดวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ 26 ตุลาคม 2560[ลิงก์เสีย]
  4. ครม.ให้ 26ต.ค.60 หยุดราชการ เพื่อ ปชช.ร่วมถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9
  5. ""ในหลวง"เสด็จ"รพ.ศิริราช" แพทย์ถวายตรวจพระอาการ". เดลินิวส์. 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แถลงการณ์พระอาการ "ในหลวง" ฉบับที่ 36". มติชน. 1 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "แถลงฉบับที่ 37-พระอาการ "ในหลวง" คณะแพทย์เฝ้าติดตามถวายการรักษาใกล้ชิด". ข่าวสด. 10 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "แถลงการณ์ ฉ.38 ในหลวงพระโลหิตติดเชื้อ พระอาการไม่คงที่ ถวายรักษาใกล้ชิด". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ รพ.ศิริราช". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "พสกนิกรทยอย"ศิริราช"ร่วมสวดมนต์ถวายพระพร". โพสต์ทูเดย์. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "คนไทยถวายพระพรในหลวงผ่านโซเชียลฯ". วอยซ์ทีวี. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  12. "พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จศิริราชครบทุกพระองค์ พสกนิกรเปล่งเสียง"ทรงพระเจริญ"". ข่าวสด. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. คลิปหลุด หมอนิพนธ์ เล่าวันสุดท้ายแห่งพระชนชีพ ร.9
  14. ที่ ศธ 0517.07/17489 เรื่อง ขอยกเลิกสัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559
  15. พระบรมฯ อัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  16. พสกนิกรนับหมื่นร่วมถวายน้ำสรงพระบรมศพ ปลายแถวยาวถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้า
  17. "ประกาศ การถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  18. สำนักพระราชวัง ให้เข้าถวายสักการะ “พระบรมศพ” บนพระที่นั่งดุสิตเริ่ม 29 ต.ค. ตั้งแต่ 08.00–21.00 น.
  19. โปรดเกล้าฯ เลื่อนกำหนดวันสุดท้าย กราบถวายบังคมพระบรมศพ 'ร.9' ถึง 5 ต.ค. 60
  20. "สำนักพระราชวังแจ้งงดสักการะพระบรมศพ 1-2 ธ.ค. และ 5-6 ธ.ค.พระราชพิธีทักษิณานุปทาน ร.9". มติชน. 22 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "งดถวายสักการะพระบรมศพ 'ร.9' ในวันขึ้นปีใหม่". กรุงเทพธุรกิจ. 20 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "งดเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ 20-21 ม.ค." โพสต์ทูเดย์. 6 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. สำนักพระราชวังสรุปยอดประชาชนเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพฯ รวม 12.7 ล้านคน
  24. นายกฯ แถลงเรื่องในหลวง"เสด็จสวรรคตวันที่ 13 ต.ค.59
  25. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  26. ลดธงครึ่งเสา หยุดราชการ 26 ต.ค.วันเดียว งดรายการบันเทิงตลอดเดือน
  27. "ประกาศสำนักจุฬาฯ มุสลิมแต่งดำไว้ทุกข์ผิดหลักอิสลาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-02. สืบค้นเมื่อ 2017-09-28.
  28. กำหนดการและการแต่งกาย วันที่ 12 สิงหาคม 2560 เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9[ลิงก์เสีย]
  29. รัฐบาลประกาศขอความร่วมมือ สถานประกอบการ-สถานบันเทิง งดกิจกรรมรื่นเริง
  30. ครม.อนุมัติ14ตค.เป็นวันหยุดราชการ-งดจัดงานรื่นเริงมหรสพ 1 เดือน
  31. "หัวใจสลาย...โลกออนไลน์กลายเป็นสีดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
  32. "Facebook ประกาศ งดลงโฆษณาในไทยชั่วคราว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
  33. "Google ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
  34. "คนบันเทิงน้อมถวายความอาลัย"พ่อหลวง"เสด็จสู่สวรรคาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-15.
  35. ความเปลี่ยนแปลงของโซเชียลมีเดียในไทย ต่อกรณีสวรรคต
  36. สองศิลปินจากแดนปลาดิบส่งคลิปถวายความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่๙ พร้อมให้กำลังใจคนไทย
  37. 'ไก่อู' แจง รบ.ขอความร่วมมือทีวีงดรายการปกติ เป็นเวลา 30วัน ตลอด 24ชม.
  38. กสทช.แจ้ง 'วิทยุทีวี' งดรายการบันเทิง30วัน
  39. กสท.สรุปข้อปฏิบัติรายการทีวีใน 30 วันห้ามฉายเนื้อหาสร้างความแตกแยก
  40. "กสทช." แจงเกณฑ์ออกทีวีหลังครบ100วันในหลวงร.9ทุกช่องยังต้องเชื่อมสัญญาณจากทรท.อย่างเคร่งครัด
  41. 'หมีเซียะ' เข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ รัชกาลที่ 9
  42. นักแสดงซีรีส์ "พระพุทธเจ้า" เดินทางมาร่วมสักการะพระบรมศพ
  43. "Media Brand - jrnen". jrnen.co.th.
  44. [1] [2] [ชาวจีนในประเทศไทยร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นภาษาจีน ถวายอาลัย 100 วัน เสด็จสวรรค]
  45. Ultra-Royalists Guilt-Shame People Who Don’t Wear Mourning Black
  46. [www.komchadluek.net/news/politic/246179 นายกฯ เชื่อคนไทยรักในหลวง แม้ไม่มีเสื้อดำใส่ทุกวัน]
  47. รัฐบาล แนะ ติดริบบิ้นดำทดแทนชุดขาว-ดำได้ ขอสังคมอย่าจับผิด[ลิงก์เสีย]
  48. ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว
  49. ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น
  50. https://www.matichon.co.th/politics/news_1096884
  51. "Bhutanese royals pay respects to King". Bangkok Post. 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
  52. "Bahraini PM pays respects to late king". Bangkok Post. 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  53. "PM Lee Hsien Loong pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". Straits Times. 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  54. "Special Envoy of the President departs to Thailand to pay respect to the Late King". The President Office. 2016-10-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  55. "Death of King Bhumibol felt by all in Southeast Asia, says Najib". New Straits Times. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  56. "นายกฯ กัมพูชาถวายสักการะพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9". Dailynews. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  57. "Special envoy of Chinese president pays respects to late Thai King". Global Times. 2016-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-10-24.
  58. "ปธน.สิงคโปร์-นายกฯ ลาว วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  59. "President Tony Tan pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  60. "Jokowi pays respects to King". Bangkok Post. 2016-10-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  61. "ผู้นำต่างประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Government Public Relations Department. 2016-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
  62. "Viet Nam pays homage to Thai King". Viet Nam News. 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. "President pays last respects to the late king of Thailand". The Official website of the President. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  64. "กษัตริย์เลโซโท เสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". Komchadluek. 2016-11-2. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  65. "ผู้นำหลายประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". Matichon. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  66. "Duterte pays respects to King". Bangkok Post. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  67. "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป และสมเด็จพระราชินีมาทิลเดอ แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย Nicholas Nihon อุปทูต ณ สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม ประจำประเทศไทย ผู้แทนพระองค์ วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  68. "PM Narendra Modi Makes Stopover In Thailand To Pay Respects To Late King". NDTV. 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  69. "รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  70. "มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลาแห่งตองงา เสด็จฯ ทรงลงพระหัตถ์ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร". The Government Public Relations Department. 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-18.[ลิงก์เสีย]
  71. "ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่าง ๆ ไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง". Ch7. 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-24.[ลิงก์เสีย]
  72. "ผู้แทนบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ และประชาชนชาวไทย ไปถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช = Ch7". 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-12-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  73. "พระราชวงศ์ภูฏานถวายสักการะพระบรมศพ". ช่อง 8. 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  74. "จักรพรรดิญี่ปุ่นเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ข่าวสนุก. 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  75. "กษัตริย์บาห์เรนเสด็จฯ ถวายราชสักการะพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9". ข่าวสด. 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
  76. "ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล วางพวงมาลาถวายสักการะ และลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะที่ประชาชนเดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ อย่างต่อเนื่อง". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 2017-05-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
  77. "ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย ถวายความอาลัยในหลวง ร.9". ข่าวสด. 2017-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
  78. "อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐชิลี ถวายความอาลัยในหลวง ร.9". สปริงเรดิโอ. 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.[ลิงก์เสีย]
  79. "คณะผู้แทนจากประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา พร้อมคณะเดินทางมาร่วมแสดงความอาลัย ในหลวง ร.9". คมชัดลึก. 2017-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  80. "ผู้แทนพิเศษเครือรัฐออสเตรเลีย วางพวงมาลาถวายความอาลัยหน้าพระบรมโกศพระบรมศพ". ผู้จัดการ. 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2017-08-13.[ลิงก์เสีย]
  81. "ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง วางพวงมาลาถวายความอาลัย". คมชัดลึก. 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.
  82. "นายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ". สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา. 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
  83. "สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งตองงาเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ข่าวสด. 2017-09-27. สืบค้นเมื่อ 2017-09-27.
  84. "สมเด็จพระราชชนนีแห่งภูฏานเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ช่อง 7. 2017-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
  85. สำนักพระราชวัง เก็บถาวร 2016-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (2559, 17 ตุลาคม). งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เก็บถาวร 2016-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงได้จาก: http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/KingBhumibol/Data/13102016_04/4.1_13102016.pdf[ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2559).
  86. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/B/001/10.PDF
  87. คาดช่วงปีใหม่คนนับแสน จะมาสักการะ'พระบรมศพ' . (เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2559).
  88. เปิดตัวผู้ทำหีบบรรจุพระบรมศพ ไม้สักทองแผ่นเดียวไร้รอยต่อ อายุกว่า 100 ปี
  89. "ร.10ทรงเปิด'นิทรรศการ' เย็นศิระเพราะพระบริบาล". ไทยรัฐ. 10 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  90. "15 พ.ค. เปิดให้ชมนิทรรศการ 'เย็นศิระฯ' วันสุดท้าย". มติชน. 15 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  91. "รบ.เตรียมแพร่นิทรรศการ "เย็นศิระ เพราะพระบริบาล" ผ่านเว็บไซต์ 1 มิ.ย.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 19 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  92. ครม.ให้ 26ต.ค.60 หยุดราชการ เพื่อ ปชช.ร่วมถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9
  93. 14 ประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ 'ร.9'
  94. เผยภาพแบบก่อสร้างพระเมรุมาศในหลวงร.9
  95. "กทม. ลงปรับพื้นที่สนามหลวง เตรียมการก่อสร้างพระเมรุมาศช่วงต้นปีหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2016-11-07.
  96. "เตรียมสร้าง"ราชรถรางปืน-พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย"องค์ใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2017-04-01.
  97. "หมายกำหนดการ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  98. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  99. "ควันสีขาวลอยเหนือพระเมรุมาศ 'ในหลวง'เสด็จฯถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง". ข่าวสด. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  100. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระวงศานุวงศ์ อัญเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิ สู่พระบรมมหาราชวัง". คมชัดลึก. 27 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  101. "ในหลวง ร.10 เสด็จฯ ในการพระราชกุศลพระบรมอัฐิ". ประชาชาติธุรกิจ. 28 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  102. "ในหลวงเสด็จฯริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศที่5 เชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท". ประชาชาติธุรกิจ. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  103. "พระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธฯ-วัดบวรฯ". สนุก.คอม. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  104. "พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร"พระบรมศพ"โปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์หนังสือพระอภิธรรมภาษาบาลีและภาษาไทย เป็นอนุสรณ์วิทยาทานผู้เข้าร่วมพระราชพิธี". Headtnews. 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.[ลิงก์เสีย]
  105. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". Ch7. 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.[ลิงก์เสีย]
  106. "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ พระราชพิธี "ปัญญาสมวาร" พระเทพฯ ทรงคม". Matichon Online. 2016-12-1. สืบค้นเมื่อ 2016-12-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  107. "เล็งพิมพ์หนังสือที่ระลึก 5 ล้านเล่มแจกงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙". Manager Online. 2017-01-9. สืบค้นเมื่อ 2017-01-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  108. "สปริง กรุ๊ปแจกสมุดภาพเทิดพระเกียรติ 15 ธ.ค.!ทั่วไทย". ฐานเศรษฐกิจ. 14 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  109. "สมุดภาพ สรรเสริญพระบารมี เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง". ฐานเศรษฐกิจ. 26 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น