การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เพื่อนำไปจุดในงานเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แผนการของการวิ่งนั้นได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ .2550) [1] ภายใต้สโลแกนว่า "Journey of Harmony" (和諧之旅) [2] [3] และคาดว่าจะใช้เวลาวิ่ง 130 วัน ผ่าน 21 ประเทศรวมประเทศจีน ระยะทาง 137,000 ก.ม. (85,100 ไมล์) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการวิ่งคบเพลิงที่ยาวที่สุดนับตั้งแต่การวิ่งคบเพลิงครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 จากกรุงเอเธนส์สู่กรุงเบอร์ลิน [4]

การคุ้มกันผู้วิ่งคบเพลิงที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หลังจากคบเพลิงได้ถูกจุดขึ้นในเมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา คบเพลิงได้ถูกนำไปที่กรุงเอเธนส์ แล้วถูกส่งต่อไปที่กรุงปักกิ่งในวันที่ 31 มีนาคม หลังจากนั้นจึงได้รับการส่งต่อไปสู่เมืองสำคัญต่างๆ ทั่วโลก และคาดว่าคบเพลิงนี้จะมีการนำขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของโลกยอดเขาเอเวอร์เรสต์อีกด้วย [5]

การวิ่งคบเพลิงในครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงที่มีเหตุจลาจลความไม่สงบในทิเบต ซึ่งจึนได้ทำการตอบโต้ผู้ประท้วงจนนำไปสู่การเรียกร้องให้คว่ำบาตรจีนที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมืองใหญ่ต่างๆ ทั่วโลก

คบเพลิงโอลิมปิก

คบเพลิง

แก้

คบเพลิงโอลิมปิก 2008 ออกแบบโดยบริษัท ลีโนโว บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อันดับ 1 ของจีน ภายใต้แนวคิดว่า "เมฆแห่งคำมั่นสัญญา" ได้แรงบันดาลใจจากรูปลักษณ์ของการม้วนสาส์นของจีนโบราณ ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายการผสานมือ 2 ข้างเข้ามาหากัน ตัวคบเพลิงมีสีแดงลายเมฆ สูง 72 ซ.ม. หนักเกือบ 1 กิโลกรัม ทำจากอะลูมิเนียม บรรจุเชื้อเพลิงโพรเพนที่สามารถหล่อเลี้ยงไฟได้ 15 นาที ทนลมแรงได้ถึงระดับ 65 ก.ม. ต่อชั่วโมง และอยู่ท่ามกลางสายฝนได้ในระดับที่ฝนตกไม่เกิน 50 ม.ม. ต่อชั่วโมง [6] [7]

ปักกิ่งเกมมีผู้วิ่งคบเพลิงทั้งหมด 21,880 คน โดยในประเทศจีนมีผู้วิ่งจำนวน 19,400 คน คนละ 200 เมตร และนอกประเทศจีน 2,480 คน คนละ 250 เมตร [8]

เส้นทาง

แก้
 
Paris : « Beijing 2008 »

การวิ่งคบเพลิงจัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ในช่วงแรกได้มีการวางเส้นทางสู่กรุงไทเป ไต้หวัน ระหว่างการวิ่งคบเพลิงในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และฮ่องกง ประเทศจีน แต่ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีข้อสรุปว่าการวิ่งครั้งนี้เป็นการวิ่งนอกประเทศหรือในประเทศจีน ทางการไต้หวันจึงไม่ขอรับการวิ่งในกรุงไทเป [9]

 
เส้นทางวิ่งคบเพลิงทั่วโลก
 
เส้นทางวิ่งคบเพลิงในจีน
วันที่ เมือง ประเทศ
25 มีนาคม โอลิมเปีย   กรีซ
30 มีนาคม เอเธนส์
31 มีนาคม ปักกิ่ง   จีน
2 เมษายน อัลมาเตอ   คาซัคสถาน
3 เมษายน อิสตันบูล   ตุรกี
5 เมษายน เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก   รัสเซีย
6 เมษายน ลอนดอน   สหราชอาณาจักร
7 เมษายน ปารีส   ฝรั่งเศส
9 เมษายน ซานฟรานซิสโก   สหรัฐ
11 เมษายน บัวโนสไอเรส   อาร์เจนตินา
13 เมษายน ดาร์เอสซาลาม   แทนซาเนีย
14 เมษายน มัสกัต   โอมาน
16 เมษายน อิสลามาบาด   ปากีสถาน
17 เมษายน นิวเดลี   อินเดีย
19 เมษายน กรุงเทพฯ   ไทย
21 เมษายน กัวลาลัมเปอร์   มาเลเซีย
22 เมษายน จาการ์ตา   อินโดนีเซีย
24 เมษายน แคนเบอร์รา   ออสเตรเลีย
26 เมษายน นะงะโนะ   ญี่ปุ่น
27 เมษายน โซล   เกาหลีใต้
28 เมษายน เปียงยาง   เกาหลีเหนือ
29 เมษายน นครโฮจิมินห์   เวียดนาม
2 พฤษภาคม ฮ่องกง   จีน
3 พฤษภาคม มาเก๊า
4 พฤษภาคม ซานย่า มณฑลไหหนาน
5 พฤษภาคม อู๋จื่อชาน
5 พฤษภาคม วั่นหนิง
6 พฤษภาคม ไหโข่ว
7 พฤษภาคม กวางโจว มณฑลกวางตุ้ง
8 พฤษภาคม เชินเจิ้น
9 พฤษภาคม ฮุ่ยโจว
10 พฤษภาคม ซัวเถา
11 พฤษภาคม ฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน
12 พฤษภาคม เฉวียนโจว
12 พฤษภาคม เซี่ยเหมิน
13 พฤษภาคม หลงหยาน
14 พฤษภาคม ลุ่ยจิน มณฑลเจียงซี
15 พฤษภาคม จิ่งกังซาน
16 พฤษภาคม หนานชาง
17 พฤษภาคม เวินโจว มณฑลเจ้อเจียง
17 พฤษภาคม หนิงปัว
18 พฤษภาคม หางโจว
19 พฤษภาคม เช่าซิง
19 พฤษภาคม เจียซิง
20 พฤษภาคม เซี่ยงไฮ้
22 พฤษภาคม ซูโจว มณฑลเจียงซู
22 พฤษภาคม หนานทง
23 พฤษภาคม ไท่โจว
24 พฤษภาคม หยางโจว
24 พฤษภาคม นานกิง
26 พฤษภาคม เหอเฟย มณฑลอันฮุย
27 พฤษภาคม หฺวายหนาน
27 พฤษภาคม อู๋หู
28 พฤษภาคม จีซี
28 พฤษภาคม หวงซาน
29 พฤษภาคม อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์
30 พฤษภาคม อี๋ชาง
31 พฤษภาคม จิงโจว
1 มิถุนายน ยั่วหยาง มณฑลหูหนาน
2 มิถุนายน ฉางซา
3 มิถุนายน เซ่าหยาง
4 มิถุนายน กุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองกวางซี
5 มิถุนายน หนานหนิง
6 มิถุนายน ไป๋เซอ
7 มิถุนายน คุนหมิง มณฑลยูนนาน
8 มิถุนายน ลี่เจียง
9 มิถุนายน แชงกรีลา
10 มิถุนายน กุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว
11 มิถุนายน ไขลี่
12 มิถุนายน ซุนอี้
13 มิถุนายน ฉงชิ่ง
15 มิถุนายน กว่างอัน มณฑลเสฉวน
15 มิถุนายน เหมียนหยาง
16 มิถุนายน กว่างฮั่น
16 มิถุนายน เล่อซาน
17 มิถุนายน ซื่อก้ง
17 มิถุนายน อี๋ปิน
18 มิถุนายน เฉิงตู
19 มิถุนายน ซานหนาน ทิเบต
20 มิถุนายน ลาซา
22 มิถุนายน โกลมุด มณฑลชิงไห่
23 มิถุนายน ชิงไห่หู
24 มิถุนายน ซีหนิง
25 มิถุนายน อุรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียง
26 มิถุนายน คาชี
27 มิถุนายน ฮือเหอจื่อ
27 มิถุนายน ชางจี๋
28 มิถุนายน ตุนหวง มณฑลกานซู
28 มิถุนายน เจียยู่กวน
29 มิถุนายน จิ่วฉวน
30 มิถุนายน เทียนสุ่ย
30 มิถุนายน หลานโจว
2 กรกฎาคม จงเว่ย เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย
3 กรกฎาคม อู๋จง
4 กรกฎาคม อิ๋นชวน
5 กรกฎาคม เหยียนอัน มณฑลฉ่านซี
6 กรกฎาคม หยางหลิง
6 กรกฎาคม เสียนหยาง
7 กรกฎาคม ซีอาน
8 กรกฎาคม ยุ่นเฉิง มณฑลชานซี
8 กรกฎาคม ผิงเหยา
9 กรกฎาคม ไท่หยวน
10 กรกฎาคม ต้าถง
11 กรกฎาคม ฮูฮอต เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
12 กรกฎาคม ออร์โดส
12 กรกฎาคม เปาโถว
13 กรกฎาคม ชื่อเฟิง
14 กรกฎาคม ชีชีฮาร์ มณฑลเฮย์หลงเจียง
15 กรกฎาคม ต้าชิ่ง
16 กรกฎาคม ฮาร์บิน
17 กรกฎาคม ซงหยวน มณฑลจี๋หลิน
17 กรกฎาคม ฉางชุน
18 กรกฎาคม เมืองจี๋หลิน
19 กรกฎาคม เหยียนจี๋
20 กรกฎาคม เฉิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง
21 กรกฎาคม เปิ่นซี
21 กรกฎาคม เหลียวหยาง
21 กรกฎาคม อันซาน
22 กรกฎาคม ต้าเหลียน
23 กรกฎาคม เยียนไถ มณฑลชานตง
23 กรกฎาคม เวยไห่
24 กรกฎาคม ชิงเต่า
24 กรกฎาคม รื่อเจ้า
25 กรกฎาคม หลินหยี
25 กรกฎาคม ชูฝู้
25 กรกฎาคม ไท่อัน
26 กรกฎาคม จี่หนาน
28 กรกฎาคม ซางชิว มณฑลเหอหนาน
28 กรกฎาคม ไคเฟิง
29 กรกฎาคม เจิ้งโจว
30 กรกฎาคม ลั่วหยาง
31 กรกฎาคม อานหยาง
1 สิงหาคม ฉือเจียจวง มณฑลเหอเป่ย์
2 สิงหาคม ฉินหวงเต่า
3 สิงหาคม ถังซาน
4 สิงหาคม เทียนจิน
6 สิงหาคม ปักกิ่ง

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกในประเทศไทย

แก้

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 เวลา 02.40 น. สายการบินไชน่า แอร์ไลน์ ได้นำพา “ไฟโอลิมปิก” เคลื่อนจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย มาถึงยังประเทศไทยที่ท่าอากาศยาน กองบิน 6 กองทัพอากาศ โดยนายจาง เชียง หยู รองประธานคณะกรรมการจัดกีฬาโอลิมปิก 2008 ได้นำโคมที่มีไฟโอลิมปิกอยู่ข้างในออกจากตัวเครื่องบิน แล้วส่งมอบให้แก่พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปเก็บรักษาที่โรงแรมพลาซ่าแอทธีนี ถนนวิทยุ[10]

ต่อมาในวันรุ่งขึ้นได้มีการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกในประเทศไทย โดยเริ่มจากซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา วงเวียนโอเดียน ผ่านถนนเยาวราช ถนนเจริญกรุง ผ่าน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กระทรวงกลาโหม สนามหลวง ศาลฎีกา เข้าสู่ถนนราชดำเนินกลาง ผ่าน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สี่แยกคอกวัว วัดราชนัดดาราม ป้อมมหากาฬ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสิ้นสุดที่ ลานพระราชวังดุสิต รวมระยะทาง 10.5 กิโลเมตร โดยมีผู้วิ่งคบเพลิงทั้งหมด 80 คน โดยผู้วิ่งคบเพลิงคนสุดท้าย ได้แก่ ปวีณา ทองสุก[11]

อ้างอิง

แก้
  1. "Beijing 2008: BOCOG Announces Olympic Torch Relay Route". คณะกรรมการโอลิมปิกสากล. 2007-04-26. สืบค้นเมื่อ 2007-04-26.
  2. "Officials Expect Olympic Torch to Continue on Route".
  3. 北京2008年奥运会火炬接力主题:和谐之旅
  4. http://www.bangkok2007.com/th/news/news_detail2.php?cms_id=561[ลิงก์เสีย] จีนพร้อมระเบิดศึกโอลิมปิคเกมส์
  5. http://news.giggog.com/sport/cat10/news26894/ เก็บถาวร 2009-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิธีจุดคบเพลิงโอลิมปิค บทเริ่มต้นมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่
  6. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=241575[ลิงก์เสีย] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคบเพลิงโอลิมปิก
  7. 示威不斷 聖火難傳 境外是否續運 奧委周五定奪 เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน)
  8. "各省、自治区、直辖市及其他选拔主体火炬手分配情况一览表". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  9. http://news.thaieasyjob.com/world/show_news-2079-12.html[ลิงก์เสีย]
  10. ไฟโอลิมปิกถึงไทย “บิ๊กอ๊อด” เชื่อไม่มีป่วนวิ่งคบเพลิงเสาร์นี้[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
  11. วิ่งคบเพลิงไร้เหตุวุ่น- ทูตจีนลั่นสัมพันธ์ไทย 'พี่น้อง'[ลิงก์เสีย] เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้