การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว

การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว (อังกฤษ: rapid diagnostic test; RDT) เป็นการตรวจโรคทางการแพทย์ที่รวดเร็วและทำได้ง่าย เมหาะสมในการใช้สำหรับการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นหรือเร่งด่วน และเพื่อใช้ในบริการการแพทย์ที่มีทรัพยากรอยู่จำกัด โดยทั่วไปแล้วชุดตรวจชนิดนี้จะสามารถให้ผลได้ภายในวันเดียวกันกับการตรวจภายในสองชั่วโมง หรือโดยทั่วไปในประมาณ 20 นาที[1][2]

ชุดตรวจของราพิดสเทพเทสท์ (RST)

สหภาพยุโรปได้ให้นิยามการตรวจโรคแบบรวดเร็วว่าเป็นเครื่องมือการแพทย์สำหรับการตรวจโรคที่ใช้ตรวจในเชิงคุณภาพ (qualitative) หรือกึ่งคุณภาพ (semi-quantitative) นอกร่างกาย (in vitro-diagnostic) ใช้เพียงครั้งเดียวหรือในจำนวนจำกัด เพื่อให้ได้ผลตรวจที่รวดเร็ว[3] โดยมีลาเทอรอลโฟลว์เทสท์ (Lateral flow test) เป็นการตรวจรวดเร็วชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักมาก[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Simple / Rapid tests". WHO. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  2. "Rapid Diagnostic Tests: How They Work". CDC. สืบค้นเมื่อ 19 July 2014.
  3. 2009/886/EC: Commission Decision of 27 November 2009 amending Decision 2002/364/EC on common technical specifications for in vitro diagnostic medical devices
  4. Quesada-González, Daniel; Merkoçi, Arben (2015). "Nanoparticle-based lateral flow biosensors". Biosensors & Bioelectronics. 15 (special): 47–63. doi:10.1016/j.bios.2015.05.050. hdl:10261/131760. PMID 26043315.