การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)
การล้อมเซวัสโตปอล ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การป้องกันที่เซวัสโตปอล (รัสเซีย: Оборона Севастополя, transliteration: Oborona Sevastopolya) หรือ ยุทธการที่เซวัสโตปอล (German: Schlacht um Sewastopol) เป็นการสู้รบทางทหารที่เกิดขึ้นบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพครั้งนี้เป็นการสู้รบโดยฝ่ายอักษะ อันได้แก่ เยอรมนี โรมาเนีย และอิตาลี เข้าปะทะกับสหภาพโซเวียตจากพื้นที่ควบคุมที่เซวัสโตปอล ท่าเรือในแหลมไครเมียบนทะเลดำ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองกำลังทางภาคพื้นดินได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ไครเมียในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1941 และรุกรานพื้นที่ส่วนใหญ่ วัตถุประสงค์เดียวที่ไม่ได้อยู่ในเงื้อมมือฝ่ายอักษะคือ เซวัสโตปอล ด้วยความพยายามหลายครั้งในการรักษาความปลอดภัยแก่เมืองในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งสำคัญได้ถูกวางแผนเอาไว้จากปลายเดือนพฤศจิกายน แต่เกิดฝนตกหนักทำให้ฝ่ายอักษะต้องเลื่อนการโจมตีจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ด้วยภายใต้การบัญชาการของแอริช ฟอน มันชไตน์ กองกำลังฝ่ายอักษะสามารถเข้ายึดครองเซวัสโตปอลในช่วงปฏิบัติการแรก กองทัพโซเวียตได้เปิดฉากการยกพลขึ้นบกบนคาบสมุทรไครเมียที่เคียร์ชในเดือนธันวาคม เพื่อบรรเทาวงล้อมและบีบบังคับให้ฝ่ายอักษะหันเหกองกำลังเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของพวกเขา ปฏิบัติการปกป้องเซวัสโตปอลสำหรับช่วงเวลานั้น แต่หัวสะพานในไครเมียตะวันออกได้ถูกทำลายในเดือพฤษภาคม ค.ศ. 1942
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ท่าเรือเซวัสโตปอลภายหลังการสู้รบ (กรกฏาคม ค.ศ. 1942) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ไรช์เยอรมัน โรมาเนีย อิตาลี | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แอริช ฟอน มันชไตน์ โวลฟรัม ฟอน ริชโธเฟิน |
Ivan Yefimovich Petrov Filipp Oktyabrskiy Gordey Levchenko Pyotr Novikov (เชลย) | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
11th Army 8th Air Corps |
Coastal Army Black Sea Fleet | ||||||
กำลัง | |||||||
On 6 June 1942: 203,800 men 65 assault guns 1,300 guns and howitzers 720 mortars 803 aircraft[1] |
June 1942: 118,000 men 600 guns and howitzers 2,000 mortars[2] 1 battleship 2 heavy cruisers 1 Light Cruiser 2 Flotilla Leaders 6 Destroyers 9 Minesweepers 1 Guardship 24 Submarines | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
June–July 1942:[3]
|
30 October 1941 – 4 July 1942:
June–July 1942:
|
แม่แบบ:Campaignbox Crimea and Caucasus
แม่แบบ:Romanian military actions in World War IIภายหลังจากความล้มเหลวของการโจมตีครั้งแรกของพวกเขาที่เซวัสโตปอล ฝ่ายอักษะได้เลือกที่จะดำเนินสงครามการโอบล้อมจนกระทั่งช่วงกลางของปี ค.ศ. 1942 ที่ซึ่งจุดที่พวกเขาจะโจมตีกองทัพโซเวียตที่รอบล้อมด้วยทางพื้นดิน ทะเล และอากาศ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะได้เริ่มเปิดฉากปฏิบัติการในครั้งนี้ รหัสนามคือ Störfang (Sturgeon Catch) กองทัพแดงแห่งโซเวียตและกองเรือทะเลดำได้ก่อตั้งขึ้นเป็นเวลาถึงสัปดาห์ภายใต้การทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงของฝ่ายอักษะ กองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟอ)ได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการล้อม เหล่าอากาศที่ 8 ได้ทำการทิ้งระเบิดลงใส่กองกำลังโซเวียตโดยไม่มีการยกเว้น ด้วยเครื่องบินจำนวน 23,751 ลำและทิ้งระเบิดจำนวน 20,528 ตันในช่วงเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ความรุนแรงของการทัพโจมตีทางอากาศของเยอรมันได้ไปไกลเกินกว่าการทิ้งระเบิดต่อเมืองของเยอรมันก่อนหน้านี้ เช่น วอร์ซอ รอตเทอร์ดาม หรือลอนดอน การล้อมได้ยุติลง มีเพียงอาคาร 11 หลังที่ไม่ถูกทำลายหลงเหลืออยู่ในเซวัสโตปอล ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการจมหรือขัดขวางความพยายามส่วนใหญ่ของโซเวียตในการอพยพทหารของพวกเขาโดยทางทะเล กองทัพเยอรมันที่ 11 ได้เข้าปราบปรามและทำลายฝ่ายป้องกันด้วยการยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่จำนวน 46,750 ตันในช่วง Störfang
ในที่สุด เมื่อวันที่ 4 กรฏาคม ค.ศ. 1942 กองกำลังโซเวียตที่เหลือได้ยอมจำนนและฝ่ายเยอรมันได้ยึดท่าเรือ กองทัพแยกป้องกันชายฝั่งได้ถูกทำลายลง มีผู้ถูกสังหาร บาดเจ็บ หรือถูกจับกุมเป็นเชลยในการโจมตีครั้งสุดท้ายด้วยจำนวน 118,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 200,481 นายในการล้อมโดยรวมสำหรับทั้งเรือและกองเรือทะเลดำของโซเวียต ฝ่ายอักษะได้พบกับความสูญเสียใน Störfang จำนวนประมาณ 35,866 นาย ซึ่งมีจำนวน 27,412 นาย เป็นชาวเยอรมัน และ 8,454 นายเป็นชาวโรมาเนีย ด้วยการที่กองกำลังโซเวียตได้ถูกกำจัดลง ฝ่ายอักษะได้มุ่งเป้าความสนใจของพวกเขาในการทัพช่วงฤดูร้อนของปีนั้น กรณีน้ำเงิน และการรุกรานของพวกเขาไปยังแหล่งน้ำมันเทือกเขาคอเคซัส
อ้างอิง
แก้- ↑ Melvin 2010, p. 276.
- ↑ Hayward 1998, p. 90.
- ↑ 3.0 3.1 Forczyk 2008, p. 90.
- ↑ Hayward 1998, p. 117.
- ↑ Krivosheev 1997, p. 107.