การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565)

การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565) (อังกฤษ: Siege of Malta หรือ Great Siege of Malta) เป็นการล้อมที่เป็นส่วนหนึ่งของสงครามออตโตมันในยุโรปและสงครามออตโตมัน-ฮับสบวร์กเมื่อจักรวรรดิออตโตมันรุกรานเข้าล้อมมอลตาที่เป็นที่ตั้งมั่นของอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1565 ฝ่ายอัศวินฮอสพิทาลเลอร์เป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ การล้อมครั้งนี้เป็นการต่อสู้อันดุเดือดและนองเลือดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และเป็นยุทธการที่ยุโรปถือว่าเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งของยุโรปที่วอลแตร์ถึงกับกล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นที่รู้จักกันมากเท่ากับการล้อมมอลตา” และเป็นยุทธการครั้งแรกที่ทำให้ยุโรปยุติความเชื่อในความคงกระพันของจักรวรรดิออตโตมัน และเป็นการเริ่มต้นของความมีอิทธิพลของสเปนในเมดิเตอเรเนียน[1] สงครามครั้งนี้เป็นจุดสูงสุดของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างพันธมิตรคริสเตียนและจักรวรรดิออตโตมันในการมีอำนาจในเมดิเตอเรเนียน การแข่งขันที่รวมทั้งการโจมตีมอลตาในปี ค.ศ. 1551 ก่อนหน้านั้นที่ฝ่ายออตโตมันทำลายกองเรือของฝ่ายพันธมิตรคริสเตียนอย่างย่อยยับในยุทธการดเจอร์บา (Battle of Djerba) ในปี ค.ศ. 1560

การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565)
ส่วนหนึ่งของ สงครามออตโตมันในยุโรป และ สงครามออตโตมัน-ฮับสบวร์ก

การล้อมมอลตา - การมาถึงของกองทัพเรือออตโตมัน
โดยMatteo Perez d' Aleccio
วันที่18 พฤษภาคม - 11 กันยายน ค.ศ. 1565
สถานที่
ผล อัศวินฮอสพิทาลเลอร์ได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
จักรวรรดิออตโตมัน

อัศวินฮอสพิทาลเลอร์
จักรวรรดิสเปน

พลเรือนมอลตา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลาลา คารา มุสตาฟา ปาชา
ปิยาเล ปาชา
เตอร์กุต ไรส์
ซาลิห์ ไรส์
อูลุค อาลี ไรส์
ฌอง เดอ วาเลตต์
Goncales de Medran
Melchior de Robles
Colonel Mas
Mathurin Romegas
la Miranda
กำลัง
22,000-48,000 คน
6,100-8,500 คน
ความสูญเสีย
<25,000-35,000 คน 2,500 กอง
พลเรือน 7,000 คน
ทาส 500 คน

อ้างอิง แก้

  1. Fernand Braudel, The Mediterranean and the Mediterranean World in the Age of Philip II, vol. II ( University of California Press: Berkeley, 1995).

ดูเพิ่ม แก้