ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ
ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ (อังกฤษ: approval voting) เป็นระบบการลงคะแนนสำหรับเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนเพียงคนเดียวซึ่งผู้ลงคะแนนอาจเลือกที่จะ "อนุมัติ" (approve) ผู้สมัครกี่รายก็ได้ โดยผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด ระบบการลงคะแนนแบบนี้มีลักษณะของแบบคะแนนรวมอยู่โดยที่ผู้ลงคะแนนสามารถให้คะแนนได้เป็นลำดับ โดยจะเลือกผู้สมัครที่จำนวนคะแนนรวมมากที่สุดรวมกัน วิธีนี้แตกต่างกับการลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่าซึ่งผู้ลงคะแนนเลือกลงคะแนนได้เพียงหนึ่งคนจากตัวเลือกทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งผู้ชนะการเลือกตั้งมาจากผู้ที่มีคะแนนนำโดยไม่คำนึงถึงว่าจะได้รับจำนวนเสียงข้างมากหรือไม่
ในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการเสนอให้เปลี่ยนมาใช้การลงคะแนนวิธีนี้ในการเลือกตั้งระดับเทศบาล โดยผ่านการรับรองแล้วในฟาร์โก รัฐนอร์ทดาโคตา ใน ค.ศ. 2018 และเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ใน ค.ศ. 2020 โดยในฟาร์โกนั้นใช้คะแนนอนุมัติเมื่อ ค.ศ. 2020 ในการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาเมือง[1][2][3][4] และเซนต์หลุยส์ใช้ระบบนี้ในการคัดเลือกผู้สมัครเพียงสองคนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี[5][6]
อธิบาย
แก้บัตรลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติจะแสดงจำนวนผู้สมัครเป็นรายบุคคลในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ โดยจะให้กาสัญลักษณ์ลงหน้าชื่อผู้สมัคร (หรือในบางกรณีให้ใส่ว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" แทน)
โดยอาจพบคำถามสำหรับผู้สมัครแต่ละรายโดยเฉพาะ เช่น "คุณอนุมัติบุคคลนี้สำหรับตำแหน่งนี้หรือไม่?" โดยให้ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกอนุมัติผู้สมัครเพียงรายเดียว บางราย หรือทุกรายก็ได้ โดยการนับคะแนนนั้นนับเท่ากันหมด และผู้สมัครทุกรายมีคะแนนเดียวเท่ากัน ไม่ว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ โดยผลรวมคะแนนอนุมัติในแต่ละรายของผู้สมัครจะเป็นตัวกำหนดผู้ชนะซึ่งได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด
บัตรลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครทุกรายเท่ากันนั้นโดยปกติแล้วไม่มีผลใด ๆ กับผลการเลือกตั้ง เนื่องจากในบัตรลงคะแนนนั้นแบ่งผู้สมัครเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุน โดยในแต่ละผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติย่อมหมายความว่าได้รับความพึงพอใจมากกว่าผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ ในขณะที่ลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนในหมู่ผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติจะไม่ได้รับการเฉพาะเจาะจง เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ
บัตรลงคะแนน
แก้บัตรลงคะแนนในระบบคะแนนอนุมัตินี้สามารถมีได้สี่รูปแบบ แบบง่ายที่สุดคือช่องว่างเพื่อให้ผู้ลงคะแนนระบุชื่อผู้สมัครที่สนับสนุนด้วยลายมือ ในบัตรลงคะแนนที่ละเอียดขึ้นจะมีรายชื่อผู้สมัครทุกคน และให้ผู้ลงคะแนนทำเครื่องหมายหน้าผู้สมัครที่สนับสนุน ในบางกรณีจะมีความซับซ้อนมากขึ้นซึ่งให้ถึงสองตัวเลือกต่อผู้สมัครหนึ่งราย
ในบัตรลงคะแนนทั้งสี่แบบนี้เทียบเท่ากันในทางทฤษฎี ในบัตรที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าอาจช่วยให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนได้ชัดเจนและรู้ถึงตัวเลือกทั้งหมดที่มี ในบัตรลงคะแนนแบบใช่/ไม่ใช่นั้นสามารถช่วยผู้สมัครในกรณีการ "ลืมลงคะแนน" โดยปล่อยช่องไว้แบบไม่ได้กาเครื่องหมายและยังช่วยให้ผู้ลงคะแนนมีโอกาสตรวจการลงคะแนนว่าถูกต้องตามต้องการแล้ว ในแบบที่มีช่องเดียวนั้นไม่สามารถจะทำให้เป็นบัตรเสียได้
ในกรณีที่ใช้บัตรลงคะแนนแบบที่สองหรือแบบที่สี่ การใส่คะแนนลับหลังลงในบัตรลงคะแนนนั้นจะไม่ทำให้บัตรเสีย (เว้นแต่จะเห็นชัดเจนว่าเป็นการโกง) ดังนั้นจึงทำให้คำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นธรรมในการเก็บรักษาบัตรลงคะแนนภายหลังการเลือกตั้ง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Fargo, North Dakota, Measure 1, Approval Voting Initiative (November 2018), November 7, 2018 Ballotpedia
- ↑ One of America’s Most Famous Towns Becomes First in the Nation to Adopt Approval Voting เก็บถาวร 2018-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed November 7, 2018
- ↑ Moen, Mike (June 10, 2020). "Fargo Becomes First U.S. City to Try Approval Voting". Public News Service. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
- ↑ "St. Louis Voters Approve Nonpartisan Elections". US News and World Report. November 4, 2020. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Rakich, Nathaniel (2021-03-01). "In St. Louis, Voters Will Get To Vote For As Many Candidates As They Want". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ "March 2, 2021 Non-Partisan Primary Municipal Election". City of St. Louis Board of Election Commissioners (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
ที่มา
แก้- Brams, Steven J.; Fishburn, Peter C. (1983). Approval Voting. Boston: Birkhäuser. ISBN 3764331240.