การรั่วไหลของน้ำมันที่มอนทารา
การรั่วไหลของน้ำมันที่มอนทารา เป็นการรั่วไหลของน้ำมันและแก๊ส รวมถึงคราบน้ำมัน (slick) ในภายหลัง ซึ่งเกิดขึ้นที่บ่อน้ำมันมอนทาราในทะเลติมอร์ นอกชายฝั่งทางเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในภัยพิบัติด้านน้ำมันครั้งเลวร้ายที่สุดของออสเตรเลีย[1] คราบน้ำมันถูกปล่อยออกมาหลังการระเบิดออกจากแท่นหลุมผลิตมอนทาราเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 และยังคงรั่วไหลออกมาต่อเนื่องจนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 (รวม 74 วัน)[2][3] เครื่องขุดเจาะน้ำมันเวสต์แอตลาสมีซีดริล บริษัทของนอร์เวย์-เบอร์มิวดา เป็นเจ้าของ และมี ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ออสตราเลเซีย (PTTEPAA) เป็นผู้ดำเนินงาน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของปตท. สผ. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของปตท. อีกต่อหนึ่ง ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติซึ่งรัฐไทยเป็นเจ้าของ และได้ดำเนินงานเหนือบ่อติดกันบนแท่นขุดเจาะมอนทารา บ่อน้ำมันมอนทาราตั้งอยู่นอกชายฝั่งคิมเบอร์ลี ห่างจากฐานทัพอากาศทรุสคอตต์ (Truscott) ไปทางเหนือ 250 กิโลเมตร และห่างจากดาร์วินไปทางตะวันตก 690 กิโลเมตร[4][5][6] คนงานหกสิบเก้าคนถูกอพยพออกมาอย่างปลอดภัยจากเครื่องขุดเจาะน้ำมันเวสต์แอตลาสเมื่อเกิดระเบิดขึ้น[5][7]
กระทรวงทรัพยากร พลังงานและการท่องเที่ยวออสเตรเลียประเมินว่า การรั่วไหลของน้ำมันที่มอนทาราอาจมีปริมาณสูงถึง 2,000 บาร์เรล (320 ม.3/วัน) ซึ่งเป็นห้าเท่าจากที่ ปตท. สผ. ออสตราเลเซียได้ประเมินไว้[8] โฆษกรัฐมนตรีทรัพยากร กล่าวว่า ปริมาณ 2,000 บาร์เรลนั้นหมายถึง ปริมาณน้ำมันซึ่งบ่อผลิตได้เมื่อมีการผลิตสูงสุด[9]
ความพยายามสี่ครั้งแรกของ PTTEPAA ที่จะหยุดการรั่วไหลของน้ำมันล้มเหลว แต่ความพยายามครั้งที่ห้าสำเร็จเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เมื่อ PTTEPAA ปั๊มของไหลสำหรับการเจาะ (drilling fluid หรือ drilling mud) ปริมาณอย่างน้อย 3,400 บาร์เรล (540 ม.3) เข้าไปในบ่อลดความดัน (relief well) เพื่อหยุดการรั่วไหล[2][3][10]
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ระหว่างความพยายามหยุดการรั่วไหล เกิดเพลิงไหม้ขึ้นบนเครื่องขุดเจาะเวสต์แอตลาส[11] วันที่ 2 พฤศจิกายน PTTEPAA กล่าวว่า ไฟนั้นดูเหมือนว่าจะเผาทำลายน้ำมันและดังนั้นจึงป้องกันมิให้เกิดการรั่วไหลลงทะเลเพิ่มเติม[12] ไฟนี้ส่วนใหญ่ถูกดับแล้วเมื่อการรั่วไหลยุติลง[2][13] เมื่อถึงเกณฑ์ความปลอดภัยแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญจึงได้เข้าไปประเมินความเสียหาย
อ้างอิง
แก้- ↑ "WA oil spill 'one of Australia's worst'". ABC News. 24 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "West Atlas oil leak stopped". ABC News. 3 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ 3.0 3.1 "PTTEP Australasia Timor Sea Operations – Incident Information #87" (PDF) (Press release). PTTEP Australasia. 3 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ Buckeridge, John (24 August 2009). "Expert comment on West Atlas oil spill". RMIT Newsroom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ 5.0 5.1 "Rig still spilling oil off WA coast". ABC News. 21 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "Timor Sea oil leak fix 'days away'". ABC News. 23 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
- ↑ "Oil leaking 'five times faster' than thought". ABC News. 22 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 2009-11-05.
- ↑ "Latest attempt fails to stop oil leak". ABC News. 17 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "Australia oil well catches fire". BBC News. 2 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "PTTEP Australasia Timor Sea Operations – Incident Information #86" (PDF) (Press release). PTTEP Australasia. 2 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.
- ↑ "Leaking oil rig continues to burn". ABC News. 1 November 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 5 November 2009.