การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี ได้รับการยืนยันว่าไปยังประเทศเยอรมนีในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563 เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เคสแรกได้รับการยืนยัน และอยู่ใกล้มิวนิก รัฐไบเอิร์น ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่ในเดือนมกราคมและต้นเดือนกุมภาพันธ์มาจากสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่นั่น หลังจากนั้น กลุ่มใหม่ได้เพิ่มโดยนักเดินทางจากประเทศอิตาลี, จีน และอิหร่าน ก่อนหยุดเที่ยวบินผู้โดยสารในวันที่ 18 มีนาคม ในวันที่ 25 และ 26 กุมภาพันธ์ หลังการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในประเทศอิตาลี ได้มีการพบหลายเคสที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของอิตาลีในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค สำหรับเคสอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาวอิตาลี ได้เกิดขึ้นในหลายภูมิภาครวมถึงรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค, รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน และรัฐไรน์ลันท์-ฟัลทซ์ ส่วนกลุ่มก้อนที่เฉพาะเจาะจงเกิดขึ้นในไฮน์สแบร์กนั้นเชื่อมโยงกับเทศกาลในกันเกลท์[4] ทั้งนี้ การเสียชีวิตรายแรกเป็นหญิงอายุ 89 ปีในเอ็สเซิน และชายอายุ 78 ปีในไฮน์สแบร์ก ซึ่งมีการรายงานเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563[5][6]

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี
กรณีที่ได้รับการยืนยันต่อ 100000 คนในอำเภอ
แผนที่ของรัฐที่ได้รับการยืนยันเคสโคโรนาไวรัส (ณ วันที่ 28 มีนาคม):
  ได้รับการยืนยัน 100–499 คน
  ได้รับการยืนยัน 500–999 คน
  ได้รับการยืนยัน 1,000–9,999 คน
  ได้รับการยืนยัน ≥10,000 คน
โรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
สถานที่ประเทศเยอรมนี
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน[1][2]
วันแรกมาถึง27 มกราคม พ.ศ. 2563
(4 ปี 2 เดือน 22 วัน)
ผู้ป่วยยืนยันสะสม9,477,603 คน
หายประมาณ 4,328,400 คน[3][a]
เสียชีวิต117,488 คน
https://interaktiv.tagesspiegel.de/lab/karte-sars-cov-2-in-deutschland-landkreise/

การควบคุมโรคและการแพร่ระบาดของเยอรมันได้รับการแนะนำโดยสถาบันโรแบร์ท ค็อค (RKI) ตามแผนโรคระบาดแห่งชาติ การระบาดครั้งแรกได้รับการจัดการในขั้นตอนการยับยั้ง (พร้อมด้วยมาตรการแรกของขั้นตอนการป้องกัน)[7] ซึ่งพยายามลดการขยายตัวของกลุ่มก้อนให้เหลือน้อยที่สุด รัฐบาลเยอรมันและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหลายคนกล่าวว่าประเทศนี้ได้รับการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี และในตอนแรกเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษให้ตุนหรือจำกัดเสรีภาพของประชาชน ครั้นตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม การระบาดทั่วได้รับการจัดการในขั้นตอนการป้องกันโดยมีรัฐเยอรมันเป็นผู้สั่งปิดโรงเรียนและโรงเรียนอนุบาล, เลื่อนภาคการศึกษา รวมถึงห้ามมิให้ไปเยี่ยมสถานพยาบาลเพื่อคุ้มครองผู้สูงอายุ สองวันต่อมา พรมแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านถูกปิด ในวันที่ 22 มีนาคม รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวเพื่อชาติ เกือบจะเหมือนกับในประเทศออสเตรียและรัฐไบเอิร์น ซึ่งได้ดำเนินการเมื่อเจ็ดวันก่อนและสามวันก่อนตามลำดับ ตัวบุคคลได้รับอนุญาตให้ออกจากที่พักอาศัยของพวกเขาสำหรับกิจกรรมบางอย่างเท่านั้น เช่น การเดินทางไปทำงาน, เล่นกีฬา หรือซื้อของชำ และไม่อยู่ในกลุ่มที่มีมากกว่าสองคนหากพวกเขาไม่ได้ร่วมส่วนครัวเรือนเดียวกัน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วย 71,730 ราย เสียชีวิต 775 ราย และหายป่วยประมาณ 16,100 ราย[8][9] อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่นอิตาลีหรือสเปน นำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนเคสที่ได้รับการบันทึกและไม่ได้บันทึกไว้ รวมถึงการแจกแจงอายุ และความแตกต่างระหว่างประเทศในจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักที่มีระบบช่วยหายใจ หัวหน้าสถาบันโรแบร์ท ค็อค เตือนว่าอัตราการเสียชีวิตของเยอรมันจะเพิ่มขึ้นและคล้ายคลึงกับประเทศอื่น ๆ

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. There are no official numbers for how many have recovered, because recoveries are not always reported in Germany. The number here is an estimate by the Robert Koch Institute.

อ้างอิง แก้

  1. "Q&A on coronaviruses (COVID-19)". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 March 2020. the outbreak began in Wuhan, China, in December 2019.
  2. Sheikh, Knvul; Rabin, Roni Caryn (10 March 2020). "The Coronavirus: What Scientists Have Learned So Far". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
  3. "Aktueller Lage-/Situationsbericht des RKI zu COVID-19" [Current Situation Report of the Robert Koch Institute on COVID-19] (ภาษาเยอรมัน). Robert Koch Institute. n.d. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  4. "Kreis Heinsberg". Kreis Heinsberg. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Hamburg, Hamburger Abendblatt- (9 March 2020). "Coronavirus: Zwei Tote in Deutschland - Italien sperrt das ganze Land". www.abendblatt.de. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  6. SPIEGEL, DER. "Coronakrise: Kanzlerin Merkel in häuslicher Quarantäne - DER SPIEGEL - Politik". www.spiegel.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  7. "Ergänzung zum Nationalen Pandemieplan – COVID-19 – neuartige Coronaviruserkrankung" (PDF). www.rki.de. Robert Koch Institute. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
  8. "Alle bestätigten Coronavirus-Infektionen nach Landkreisen und Bundesländern". Tagesspiegel. สืบค้นเมื่อ 31 March 2020.
  9. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Daily Situation Report of the Robert Koch Institute" (PDF). Robert Koch Institute. 2 April 2020.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้