การพิชิตมักกะฮ์

การพิชิตมักกะฮ์ (อาหรับ: فتح مكة ฟัตฮ์ มักกะฮ์)เป็นเหตุการณ์ที่เมืองมักกะฮ์ถูกครอบครองโดยชาวมุสลิมที่นำโดยศาสดามุฮัมมัดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 629 หรือ มกราคม ค.ศ. 630[3][4] (ปฏิทินจูเลียน) วันที่ 10-20 รอมฎอน ฮ.ศ. 8[3]

ยึดครองมักกะฮ์
ส่วนหนึ่งของ สงครามระหว่างชาวมุสลิมกุเรช
วันที่เดือนธันวาคม ค.ศ. 629 หรือมกราคม ค.ศ. 630
สถานที่
ผล

ฝ่ายมุสลิมชนะ

  • สิ้นสุดสงครามระหว่างชาวมุสลิม–กุเรช
คู่สงคราม
มุสลิม เผ่ากุเรช
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มุฮัมมัด อบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์
กำลัง
10,000 นาย ไม่ทราบแน่ชัด
ความสูญเสีย
2[1] 12[2]

วันที่ แก้

มีรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่หลายแบบ เช่น

  • วันที่มุฮัมมัดออกจากมักกะฮ์น่าจะเป็นวันที่ 2, 6 หรือ 10 รอมฎอน ช่วงก่อนฮิจเราะฮ์ศักราช[3]
  • วันที่มุฮัมมัดเข้ามักกะฮ์น่าจะเป็นวันที่ 10, 17/18, 19 หรือ 20 รอมฎอน ฮ.ศ.8[3]

ถ้านำข้อมูลนี้ให้เป็นปฏิทินจูเลียนทำให้เกิดข้อมูลที่คาดเคลื่อน ตัวอย่างเช่น วันที่ 18 รอมฎอน ฮ.ศ.8 อาจจะเป็นวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.629, 10 หรือ 11 มกราคม ค.ศ.630 และ 6 มิถุนายน ค.ศ.630[3]

เบี้องหลัง แก้

ในปี ค.ศ.628 เผ่ากุเรชและชาวมุสลิมในมะดีนะฮ์ลงนามสนธิสัญญาฮุดัยบิยะฮ์โดยมีระยะเวลา 10 ปี แต่ในปี ค.ศ.630 มีการยกเลิกสัญญาหลังจากเผ่าของบนูบักร์ พันธมิตรของเผ่ากุเรชได้โจมตีเผ่าบนูคุซาอ์ที่เป็นพันธมิตรของชาวมุสลิม

หลังจากอุบัติเหตุครั้งนั้น เผ่ากุเรชจึงส่งผู้แทนมาหามุฮัมมัดว่าจะรักษาสนธิสัญญากับชาวมุสลิมและเสนอค่าสินไหม แต่ว่าพวกเขาถูกผู้คนบอกว่าพวกเขาไม่รักษาคำสัญญา[5] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] [6] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]

เข้าไปในมักกะฮ์ แก้

หลังจากอบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ออกไปแล้ว มุฮัมมัดจึงรวบรวมทหารขนาดใหญ่ทันที โดยที่ท่านไม่บอกสถานที่ที่พวกเขาจะไป แม้แต่เพื่อนที่สนิทที่สุดและแม่ทัพก็ไม่รู้เช่นกัน[7]

จากนั้นกองทัพมุสลิมจึงเดินทางไปมักกะฮ์ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.629 (6 รอมฎอน ฮ.ศ.8)[3] โดยรวมอาสาสมัครและทหารจากเมืองที่ยอมรับมุฮัมมัด จึงทำให้มีทหารกว่า 10,000 นาย นี่เป็นจำนวนทหารมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น หลังจากนั้นมุฮัมมัดได้นำกองทัพตั้งค่ายที่มัรรุซ-ซะฮ์ราน โดยห่างจากมักกะฮ์ไป 10 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วสั่งให้ทหารจุดไฟให้ห่างๆ รอบมักกะฮ์ เพื่อที่จะทำให้ชาวมักกะฮ์หวาดกลัว[2]

ในขณะเดียวกัน อบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ กำลังกลับไปที่มักกะฮ์ ตามรายงานเขียนว่าเขาพบกับอับบาซ ลุงของมุฮัมมัดโดยบังเอิญ

เมืองมักกะฮ์ตั้งอยู่ในเทือกเขาอิบรอฮีม และหุบเขาสีดำที่อาจจะสูงประมาณ1,000 ft (300 m)ในบางพื้นที่ โดยมีทางเข้ามักกะฮ์อยู่สี่ทาง ได้แก่: ทางตะวันตกเฉียงเหนือ, ทางตะวันตกเฉียงใต้, ทางใต้ และทางตะวันออกเฉียงเหนือ มุฮัมมัดได้แบ่งทหารออกเป็นสี่ส่วนโดยให้อบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัล-ญัรรอฮ์เข้าทางตะวันตกเฉียงเหนือ, อัซซุบัยร์เข้าทางตะวันตกเฉียงใต้, อะลีเข้าทางใต้ และคอลิด อิบน์ วะลีดเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือ[8]

ยุทธวิธีของพวกเขาคือการเดินเข้าไปที่จุดศูนย์กลางจากทุกด้าน จึงทำให้ข้าศึกไม่สามารถตีวงให้แตกได้ง่าย และหยุดไม่ให้ชาวกุเรชคนใดแอบหนีออกไปได้[2]

มุฮัมมัดจึงกำชับว่าอย่าต่อสู้จนกว่าพวกกุเรชจะเริ่มต่อสู้ ดังนั้นชาวมุสลิมเข้ามักกะฮ์ในวันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.629 (18 รอมฎอน ฮ.ศ.8)[3] การเข้าครั้งนี้ไม่มีการสู้รบหรือนองเลือดเลยทั้งสามฝั่ง ยกเว้นฝั่งของคอลิดถูกกลุ่มของเผ่ากุเรชที่นำโดยอิกริมะฮ์และซอฟวาน โดยพวกกุเรชโจมตีชาวมุสลิมด้วยดาบและธนู แล้วสู้รบกันจนฝ่ายกุเรชยอมแพ้หลังจากที่สูญเสียผู้ชายไป 12 คน ในขณะที่ชาวมุสลิมเสียชีวิตไปแค่ 2 คน[2]

ผลที่เกิดขึ้น แก้

อบูซุฟยานเข้ารับอิสลาม และเชื่อว่าเทพเจ้าของชาวมักกะฮ์ไม่มีพลังใดๆ ช่วยมันได้ พร้อมกับกล่าวว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์" เพื่อเป็นการตอบแทนเขา มุฮัมมัดจึงให้พวกเขาประกาศว่า:

"แม้แต่ใครที่อยู่ในบ้านของอบูซุฟยานจะปลอดภัย ใครที่ยอมวางอาวุธจะปลอดภัย ใครที่ใส่กลอนที่ประตูจะปลอดภัย"[9]

หลังจากที่มุฮัมมัดและผู้ติดตามมาที่กะอ์บะฮ์ ทั้งรูปปั้นและพระเจ้าของพวกเขาถูกทำลายหมด โดยที่ศาสดามุฮัมหมัดได้อ่านอายะฮ์หนึ่งของอัลกุรอาน ความว่า:"และจงกล่าวเถิด เมื่อความจริงปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ"(17:81)

ผู้คนเริ่มชุมนุมกันที่กะอ์บะฮ์ และมุฮัมมัดได้กล่าวว่า:

"ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์องค์เดียว พระองค์ทรงทำสัญญาของพระองค์เป็นจริงแล้ว และได้ช่วยเหลือบ่าวของพระองค์ พระองค์เท่านั้นที่ทำลายพวกสมรู้ร่วมคิดไปแล้ว ต่อไปนี้ พิธีกรรม อภิสิทธิ์ การอ้างสิทธิ์ที่จะล้างแค้นตอบแทน และการจ่ายสินไหมทดแทนอยู่ใต้เท้าของฉัน ยกเว้นการดูแลกะอ์บะฮ์ และการให้น้ำแก่ผู้มาทำฮัจญ์ ภายใต้สถานที่ศักดิสิทธิ์แห่งนี้ แม้แต่การตัดต้นไม้ก็ไม่เป็นที่อนุญาต ชาวกุเรชทั้งหลาย อัลลอฮ์ได้ทรงลบล้างการเคารพกราบไหว้เจว็ดบูชา และความทะนงในเชื้อสายแล้ว เพราะมนุษย์ทุกคนคือลูกหลานของอาดัม และอาดัมถูกสร้างมาจากดิน"

จากนั้นมุฮัมมัดจึงพูดกับชาวกุเรชว่า: "โอ้ชาวกุเรช พวกท่านคิดว่าฉันจะทำอะไรกับพวกท่านหรือ?" พวกเขาตอบว่า "เราหวังว่าท่านจะทำอย่างดีทีสุด ท่านเป็นพี่น้องที่มีเกียรติ ลูกชายของพี่น้องที่มีเกียรติ" เช่นนั้น มุฮัมมัดจึงกล่าวว่า: "ฉันจะพูดเหมือนกับที่ยูซุฟพูดกับพี่ชายของพวกเขาว่า 'ไม่ต้องกลัวอะไรในวันนี้ จงทำตัวตามสบาย พวกท่านเป็นอิสระแล้ว' "[10]

มีแค่ 10 คนเท่านั้นที่ถูกสั่งว่ามีความผิด:[11] อิกริมะฮ์ อิบน์ อบีญะฮัล, อับดุลลอฮ์ อิบน์ ซะอัด, ฮับบัร อิบน์ อัสวัด, มิกยาส ซูบาบะฮ์ ลัยษี, ฮุวัยรัษ อิบน์ นุก็อยด์, อับดุลลอฮ์ ฮิลาล และผู้หญิงอีกสี่คนที่มีข้อหาว่าได้ก่อเหตุอาชญากรรม บางคนก่อคดีอื่น ๆ บางคนหนีสงคราม และไม่รักษาสันติภาพ[11] แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครถูกฆ่านอกจากผู้หญิงสองคนที่ทำผิดกฎหมาย คนหนึ่งถูกประหารแต่อีกคนไว้ชีวิตเพราะเธอเข้ารับศาสนาอิสลาม[12]

หลังจากเปิดมักกะฮ์แล้ว เผ่าที่ไม่ได้เข้าร่วมได้ก่อสงครามฮุนัยน์ขึ้น

หมายเหตุ แก้

วันที่ที่ให้ในบันทึกสมัยก่อน
หลักฐานปฐมภูมิ วันที่ออกเดินทางไปมักกะฮ์ วันที่เข้ามักกะฮ์ อ้างอิง
อิบรอฮีม 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [13]
อบูซะอีด อัลคุดรี 2 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 17/18 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [14]
อัลฮะกัม 6 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [15]
อิบน์อับบาส, ตะบารี 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [16]
อิบน์อิสฮัก 20 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [17]
วะกีดี วันพุธที่ 10 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [18]
อิบน์ซะอัด วันพุธที่ 10 เาะมะฎอน ฮ.ศ. 8 วันศุกร์ที่ 19 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 8 [19][20]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Akram, Agha Ibrahim (10 August 2007). Khalid Bin Al-waleed: Sword of Allah: A Biographical Study of One of the Greatest Military Generals in History. Maktabah Publications. p. 57. ISBN 0954866525.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Akram 2007, p. 61.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events, Ta-Ha Publishers Ltd., London, 2001 pp 3, 72, 134-6
  4. Gabriel, Richard A., Muhammad: Islam’s First Great General, pp. 167, 176
  5. Peters, Francis E. (1994). Muhammad and the Origins of Islam. SUNY Press. p. 235 & 334. ISBN 978-0-7914-1875-8.
  6. Lewis, Bernard (1967). The Arabs in history. Harper & Row. p. 200. ISBN 978-0-06-131029-4.
  7. Seerah ibn Hisham p. 226/2,228.
  8. Akram 2007, p. 60.
  9. Page 329, Al-Kamil fi al-Tarikh by Ibn al-Athir (อาหรับ).
  10. Related by Ibn Kathir, recorded by Ibn al-Hajjaj Muslim
  11. 11.0 11.1 The Message by Ayatullah Ja'far Subhani, chapter 48 referencing Sirah by Ibn Hisham, vol. II, page 409.
  12. [1] Abu Dawood 8:2678 at International Islamic University Malaysia
  13. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 158:
    Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 172
  14. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 159:
    Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 171
  15. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 160:
    Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 177
  16. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 161:
    Ibn Hisham, As-Sirah an-Nabawiyyah, vol. 2, p. 473
    al-Tabari (1982), Tarikhul Umam wal-Muluk, vol. 1, Deoband, p. 391
  17. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 162:
    Ibn Hisham, As-Sirah an-Nabawiyyah, vol. 2, p. 522
  18. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 163:
    Ishaqun Nabi Alvi (August 1964), "?", Burhan, p. 92 (Burhan was an Urdu-language magazine.)
  19. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 164:
    Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 167
  20. Cited in F.R. Shaikh, Chronology of Prophetic Events pages 72 and 82 as footnote 165:
    Ibn Sa'd, Kitab at-Tabaqat al-Kabir, vol. 2, แปลโดย Moinul Haq, S., New Delhi, p. 170
  • Gabriel, Richard A, Muhammad: Islam’s First Great General, pub University of Oklahoma Press, 2007, ISBN 978-0806138602.