การประท้วงร่างรัฐบัญญัติโซปาและพีปา

การปิดวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นการประท้วงออนไลน์ 24 ชั่วโมงซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลาเที่ยงคืน ตามเวลามาตรฐานตะวันออกสหรัฐ เว็บไซต์วิกิพีเดียแสดงเพียงข้อความต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) และร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี (PIPA) ซึ่งเป็นร่างกฎหมายที่กำลังมีการเสนอในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา โดยไม่แสดงบทความตามปกติ

ภาพจับหน้าจอแลนดิงเพจ (landing page) ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ อันเป็นเพียงหน้าเชิงสัญลักษณ์เพียงหน้าเดียวระหว่างการปิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม

วันที่ 16 มกราคม ผู้ก่อตั้งวิกิมีเดีย จิมมี เวลส์ และกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย ซู การ์เนอร์ ประกาศการปิดหลังดำเนินการหยั่งความเห็น 72 ชั่วโมงของชุมชนผู้เขียน การหยั่งเสียงทั่วไปมีขึ้นหลังการอภิปรายนานหลายสัปดาห์ในฟอรัมวิกิพีเดียขนาดเล็กกว่า วันที่นั้นถูกเลือกให้ตรงกับการปฏิบัติคล้ายกันในเว็บไซต์อื่น เช่น เรดดิต (Reddit) และดำเนินไป 24 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 05:00 UTC (หรือเที่ยงคืนตามเวลามาตรฐานตะวันออก) ของวันที่ 18 มกราคม[1]

ปฏิกิริยา แก้

มูลนิธิวิกิมีเดียรายงานว่า มีการเข้าชมวิกิพีเดียรุ่นที่ถูกปิดกว่า 162 ล้านครั้งในช่วงที่ปิด 24 ชั่วโมง โดยมีการใช้หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างน้อย 4 ล้านครั้งเพื่อค้นหาข้อมูลติดต่อผู้แทนรัฐสภาสหรัฐของพวกตน[2] การใช้หน้าแรกของวิกิพีเดียเพิ่มขึ้นมหาศาลระหว่างการปิดโดยมีบันทึกการเข้าชมหน้า 17,535,733 ครั้ง เทียบกับ 4,873,388 ครั้งเมื่อวันก่อนหน้า[3] คำร้องซึ่งสร้างและเชื่อมโยงไปถึงโดยกูเกิลมีการบันทึกกว่า 4.5 ล้านครั้ง โดยมูลนิธิอิเล็กทรอนิกส์ฟรอนเทียร์รายงานว่ามีข้อความอีเมลมากกว่า 1 ล้านฉบับถูกส่งไปยังสมาชิกรัฐสภาผ่านเว็บไซต์ของพวกเขาระหว่างการปิด[4] MSNBC รายงานว่ามีข้อความทวิตเตอร์เกิน 2.4 ล้านข้อความเกี่ยวกับ SOPA, PIPA และการปิด ระหว่างช่วง 16 ชั่วโมงของวันที่ 18 มกราคม ซึ่งรวมไปถึงผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ซึ่งมิได้ใช้บริการดังกล่าวนับแต่ พ.ศ. 2552 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ติดตาม (follower) ของเขาติดต่อสมาชิกรัฐสภาของพวกตน[5][6]

ในวันเดียวกัน มีวุฒิสมาชิกหกคนผู้สนับสนุนร่างรัฐบัญญัติทั้งสอง ประกาศว่าจะถอนการสนับสนุนร่างรัฐบัญญัติดังกล่าว[7] สมาชิกรัฐสภาอื่นอีกหลายคนออกแถลงการณ์วิจารณ์รุ่นปัจจุบันของร่างรัฐบัญญัติทั้งสอง[8][9]

อ้างอิง แก้

  1. "Websites blackout in SOPA anti-piracy protest". News.com.au. January 19, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
  2. Wortham, Jenna (January 18, 2012). "With Twitter, Blackouts and Demonstrations, Web Flexes Its Muscle". New York Times. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
  3. "Wikipedia article traffic statistics". stats.grok.se. January 19, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
  4. McSherry, Corynne; Samuels, Julie (January 18, 2012). "Thank You, Internet! And the Fight Continues". Electronic Frontier Foundation. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
  5. Chansanchai, Athima (January 19, 2012). "Twitter: More than 2.4 million SOPA tweets". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.
  6. Popkin, Helen A.S. (18 Janaury 2012). "SOPA inspires Mark Zuckerberg's first tweet since 2009". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. Greenberg, Andy (January 18, 2012). "Amidst SOPA Blackout, Senate Copyright Bill Loses Key Supporters". Forbes. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
  8. McCullagh, Declan; Mills, Elinor (January 18, 2012). "Protests lead to weakening support for Protect IP, SOPA". CNet. สืบค้นเมื่อ January 18, 2012.
  9. "Sopa: US backers end support for anti-piracy bill". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ January 19, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้