การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (อังกฤษ: United Nations Conference on Trade and Development ย่อว่า UNCTAD) เป็นองค์การระหว่างประเทศในสำนักเลขาธิการสหประชาชาติที่สนับสนุนความสนใจต่อประเทศที่กำลังพัฒนาในการค้าโลก[1] องค์นี้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1964 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในฐานะ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา แต่เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปีใน ค.ศ. 2024[2] โดยรายงานทั้งในสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ[3] อังค์ถัดมีรัฐสมาชิก 195 ประเทศและทำงานร่วมกับองค์การนอกภาครัฐทั่วโลก[4] สำนักงานใหญ่ที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สำนักงานใหญ่ในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ | |
ชื่อย่อ | UNCTAD; อังค์ถัด |
---|---|
ก่อตั้ง | 30 ธันวาคม 1964 |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินการอยู่ |
สํานักงานใหญ่ | เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
เลขาธิการ | เรเบกา กรินส์ปัน |
องค์กรปกครอง | สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ |
เว็บไซต์ | unctad |
เป้าหมายขององค์กรนี้คือ "การเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุน และการพัฒนา และช่วยเหลือประเทศเหล่านั้นในการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ในพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม" (จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ)
การประชุมอังค์ถัดจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยครั้งแรกจัดที่เจนีวาใน ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นมาการจัดการประชุม 15 ครั้งทั่วโลก ครั้งล่าสุดจัดที่บริดจ์ทาวน์ ประเทศบาร์เบโดสในวันที่ 3–8 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (แม้ว่าจะเป็นการประชุมแบบเสมือน เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19)
อังค์ถัดมีเจ้าหน้าที่ประจำ 400 คนและมีงบประมาณครั้งละ 2 ปี (2010–2011) ในรายจ่ายหลักที่ 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และงบเพิ่มเติมช่วยเหลือด้านเทคนิคอีก 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ องค์นี้เป็นสมาชิกในกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติที่เป็นกลุ่มองค์กรของสหประชาชาติที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน[5]
สมาชิก
แก้ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 อังค์ถัดมีสมาชิก 195 ประเทศ[6] ได้แก่รัฐสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดกับรัฐสังเกตการณ์ปาเลสไตน์กับสันตะสำนัก สมาชิกอังค์ถัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามกลุ่มภูมิภาคแห่งสหประชาชาติ[6] โดยมี 6 รัฐสมาชิกที่ยังไม่ได้จัดเรียง คือ คิริบาส นาอูรู ซูดานใต้ ทาจิกิสถาน ตูวาลู รายการ A ประกอบด้วยสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มแอฟริกาและกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก รายการ B ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ รายการ C ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มละตินอเมริกากับรัฐแคริบเบียน (GRULAC) รายการ D ประกอบด้วยประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก
สมาชิกล่าสุดคือปาเลสไตน์[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Oatley, Thomas (2019). International Political Economy: Sixth Edition (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 185. ISBN 978-1-351-03464-7.
- ↑ "UN Trade and Development brand materials". UNCTAD. สืบค้นเมื่อ 18 May 2024.
- ↑ "About UNCTAD | UNCTAD". unctad.org.
- ↑ "List of non-governmental organizations participating in the activities of UNCTAD" (PDF). UNCTAD. สืบค้นเมื่อ 30 January 2024.
- ↑ "UNDG Members". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 15 May 2012.
- ↑ 6.0 6.1 "Membership of UNCTAD and membership of the Trade and Development Board" (PDF). unctad.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022.
- ↑ "Palestinians join 2 UN agencies, chemical weapons pact", Ynetnews, 24 May 2018
อ่านเพิ่ม
แก้- Berthoud, Paul (2008). A Professional Life Narrative. worked with UNCTAD and offers testimony from the inside.