การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน

การประชุมทางทหารของอาเซียน

การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting: ACDFM) เป็นการประชุมผู้นำทางทหารในระดับสูงสุดของอาเซียน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544

การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน
ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting
ตราสัญลักษณ์อาเซียน
สถานะดำเนินการ
ประเภทการประชุมทางการทหาร
ความถี่ประจำปี
ที่ตั้งหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเดิมพ.ศ. 2545 (อายุ 22 ปี)
ผู้จัดงานกองทัพอินโดนีเซีย
ล่าสุดACAMM-24 (ไทย)
22–25 พฤศจิกายน 2566
เหตุการณ์ก่อนหน้าACAMM-23 (เวียดนาม)
3–12 พฤศจิกายน 2565
เหตุการณ์ถัดไปACAMM-25 (ฟิลิปปินส์)
ผู้เข้าร่วม
จัดโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติ แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2544 โดยใช้ แผนการดำเนินกิจกรรมร่วมในระยะเวลา 2 ปีของกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Militaries Two Year Activity Work Plan)[1] เป็นแนวทางสำหรับการประชุมระดับพหุพาคีในกองทัพในชาติอาเซียน และออกมาในรูปแบบของแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement)[1] ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชื่อของ การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Chiefs of Defence Forces Informal Meeting: ACDFIM) เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Operations Informal Meeting: AMOIM) ขึ้นเป็นครั้งแรกตามข้อเสนอของอินโดนีเซีย และในปี พ.ศ. 2558 มาเลเซียเสนอให้ตัดคำว่า Informal (ไม่เป็นทางการ) ออกจากชื่อการประชุมและรวมการประชุมนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ[2] จนกระทั่งในการประชุมครั้งที่ 15 ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประชุมเป็นการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน ซึ่งตัดคำว่าไม่เป็นทางการออกไปทำให้กลายเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยเป็นการประชุมแยกไม่ได้รวมกับการประชุมใด ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 12 ในประเทศสิงคโปร์[3]

หลังจากการก่อตั้งการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ACDFM) อย่างเป็นทางการ ได้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างการประชุมดังกล่าวกับการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) และการประชุมทางทหารอื่น ๆ ของอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมที่มีความยืดหยุ่นในภูมิภาคที่มีความสงบสุข ปลอดภัย และมั่นคง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน[3]

โครงสร้าง แก้

โครงสร้างโดยรวมของการประชุมทางทหารของอาเซียน ประกอบไปด้วย

  • การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ACDFM)
  • การประชุมหน่วยข่าวกรองทางทหารอาเซียน (ASEAN Military Intelligence Meeting: AMIM)
    • การแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางทหารระหว่างอาเซียน (ASEAN Military Analyst-to-Analyst Intelligence Exchange: AMAAIE)
  • การประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน (ASEAN Military Operations Meeting: AMOM)
  • การประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน (ASEAN Chiefs of Army Multilateral Meeting: ACAMM)
  • การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ASEAN Navy Chiefs Meeting: ANCM)
    • การประชุมเจ้าหน้าที่ผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ANCM Staff Meeting)
    • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รุ่นเยาว์กองทัพเรืออาเซียน (ASEAN Navy Young Officers Interaction: ANYOI)
  • การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน (ASEAN Air Chiefs Conference: AACC)
    • การประชุมคณะทำงานด้านการฝึกศึกษากองทัพอากาศอาเซียน (ASEAN Air Force Education and Training Working Group: AAFET-WG)
    • โครงการปฏิสัมพันธ์นายทหารอากาศอาเซียนรุ่นเยาว์ (ASEAN Junior Air Force Officers Interaction Program: AJAFOIP)
    • โครงการนายทหารประทวนอาวุโสอาเซียน (ASEAN Air Force Sergeant Major Program)
  • การประชุมผู้นำแพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Chiefs of Military Medicine Conference: ACMMC)
    • แลกเปลี่ยนนายทหารแพทย์อาเซียนรุ่นเยาว์ (Young ASEAN Military Medical Officers Exchange)

ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ACDFM) ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้

ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ หัวข้อการประชุม
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Chiefs of Defence Forces Informal Meeting: ACDFIM)[4]
1 2002 (2545)   อินโดนีเซีย
2 2003 (2546)   บรูไน
3 2004 (2547)   มาเลเซีย
4 2005 (2548)   ฟิลิปปินส์
5 2007 (2550)   สิงคโปร์
6 2008 (2551)   ไทย
7 2010 (2553)   เวียดนาม
8 2011 (2554)   อินโดนีเซีย
9 2012 (2555)   กัมพูชา
10 2013 (2556)   บรูไน
11 2014 (2557)   พม่า
12 2015 (2558)   มาเลเซีย
13 2016 (2559)   ลาว Promoting Defence Cooperation for Dynamic ASEAN Community[5]
14 2017 (2560)   ฟิลิปปินส์
การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน (ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting: ACDFM)
15 2018 (2561)   สิงคโปร์ Strengthening Cooperation, Building Resilience[6][4]
16 2019 (2562)   ไทย ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน (Sustainable Security)[7]
17 2020 (2563)   เวียดนาม (ออนไลน์) ความร่วมมือทางทหาร เพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว[8] (Military Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN)[9]
18 2021 (2564)   บรูไน (ออนไลน์) เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง[10] (We Care, We Prepare, We Prosper)[11]
19 2022 (2565)   กัมพูชา ความเป็นปึกแผ่นเพื่อความมั่นคงที่กลมกลืน (Solidarity for Harmonized Security)[12]
20 2023 (2566)   อินโดนีเซีย สันติภาพ ความรุ่งเรือง และความมั่นคง (Peace, Prosperity, and Security)[1]
21 2024 (2567)   ลาว[13]

การประชุมทางทหารอื่นของอาเซียน แก้

การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียนและการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน แก้

การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Military Intelligent Meeting: AMIM) และการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Military Operations Meeting: AMOM) เป็นการประชุมที่จัดควบคู่กันไปกับการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน[13] เพื่อการแลกเปลี่ยนกันในด้านของยุทธการและการข่าวของชาติสมาชิกภายในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ แก้

การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียนและการประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้

AMIM AMOM ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ หัวข้อการประชุม
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Intelligent Informal Meeting: AMIIM)
1 2002 (2545)   อินโดนีเซีย
2 2003 (2546)   บรูไน
3 2004 (2547)   มาเลเซีย
4 2005 (2548)   ฟิลิปปินส์
5 2007 (2550)   สิงคโปร์
6 2008 (2551)   ไทย
7 2010 (2553)   เวียดนาม
การประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Military Operations Informal Meeting: AMOIM)
8 1 2011 (2554)   อินโดนีเซีย
9 2 2012 (2555)   กัมพูชา การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการประสานงานการสู้รบเพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015[14]
10 3 2013 (2556)   บรูไน
11 4 2014 (2557)   พม่า
12 5 2015 (2558)   มาเลเซีย
13 6 2016 (2559)   ลาว Promoting Defence Cooperation for Dynamic ASEAN Community
14 7 2017 (2560)   ฟิลิปปินส์
15 8 2018 (2561)   สิงคโปร์ Strengthening Cooperation, Building Resilience
16 9 2019 (2562)   ไทย ความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ยั่งยืน (Sustainable Security)
การประชุมเจ้ากรมข่าวทหารอาเซียน (ASEAN Military Intelligent Meeting: AMIM)
17 2020 (2563)   เวียดนาม (ออนไลน์) Towards a cohesive and developing ASEAN Military Intelligence Community[15]
10 ความร่วมมือทางทหาร เพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว[16] (Military Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN)
18 11 2021 (2564)   บรูไน (ออนไลน์) เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง (We Care, We Prepare, We Prosper)[17][18]
19 12 2022 (2565)   กัมพูชา ความเป็นปึกแผ่นเพื่อความมั่นคงที่กลมกลืน (Solidarity for Harmonized Security)[19][20]
20 2023 (2566)   อินโดนีเซีย Strengthening The ASEAN Military Intelligence Community in Response to New Regional Security Challenges[21]
13 สันติภาพ ความรุ่งเรือง และความมั่นคง (Peace Prosperity and Security)[22]
21 14 2024 (2567)   ลาว[13]

การประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารบก
กลุ่มประเทศอาเซียน
ASEAN Chiefs of Army Multilateral Meeting
สถานะดำเนินการ
ประเภทการประชุมทางการทหาร
ความถี่ประจำปี
ที่ตั้งหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเดิมพ.ศ. 2543 (อายุ 24 ปี)
เจ้าภาพครั้งแรก  กองทัพบกมาเลเซีย
ล่าสุด24th ACAMM (ไทย)
22–25 พฤศจิกายน 2566
เหตุการณ์ก่อนหน้า23rd ACAMM(เวียดนาม)
3–12 พฤศจิกายน 2565
เหตุการณ์ถัดไป25th ACAMM (ฟิลิปปินส์)
ผู้เข้าร่วม
จัดโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Chiefs of Army Multilateral Meeting: ACAMM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จัดควบคู่ไปกับการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกไทยในขณะนั้น[23]

ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้

ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ หัวข้อการประชุม
1 2000 (2543)   ไทย อนาคตของความมั่นคงและเสถียรภาพของอาเซียนในภาพรวม
2 2001 (2544)   ฟิลิปปินส์ การก่อการร้ายสากลและปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ
3 2002 (2545)   สิงคโปร์ สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงของภูมิภาค
4 2003 (2546)   มาเลเซีย การเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและพัฒนาความสัมพันธ์ เพื่อเสริมมาตรการความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างผู้นำของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน
5 2004 (2547)   อินโดนีเซีย ความเป็นปึกแผ่นและความเป็นทหารอาชีพของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน
6 2005 (2548)   บรูไน การก่อตั้งอัตลักษณ์ความมั่นคงร่วมสำหรับอาเซียน
7 2006 (2549)   เวียดนาม ความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และมิตรภาพให้แน่นแฟ้น เพื่อความเข้าใจร่วมกันระหว่างกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน
8 2007 (2550)   ไทย
9 2008 (2551)   ฟิลิปปินส์
10 2009 (2552)   สิงคโปร์
11 2010 (2553)   มาเลเซีย
12 2011 (2554)   อินโดนีเซีย
13 2012 (2555)   บรูไน
14 2013 (2556)   พม่า
15 2014 (2557)   เวียดนาม การเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียนในการจัดการกับภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ[24]
16 2015 (2558)   ไทย ความพร้อมของกองทัพบก กลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในอีก 5 ปีข้างหน้า[25] (The Readiness of ASEAN Armies in response to the challenges in the next 5 years)
17 2016 (2559)   ฟิลิปปินส์
18 2017 (2560)   สิงคโปร์ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกองทัพบกกกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อต่อต้านภัยคุกคามข้ามชาติ[26]
19 2018 (2561)   มาเลเซีย เสริมสร้างจิตวิญญาณกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน : ลดอุปสรรคเพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือด้านความมั่นคง[27]
20 2019 (2562)   อินโดนีเซีย การขยายความร่วมมือของกองทัพบกไปสู่อาเซียน 2025 ก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน[28]
21 2020 (2563)   บรูไน (ออนไลน์) การดำเนินการต่อภัยคุกคามในภูมิภาคของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ภายใต้ฐานชีวิตใหม่ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19[29]
22 2021 (2564)   พม่า (ออนไลน์) บทบาทของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ในกระบวนการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19[30]
23 2022 (2565)   เวียดนาม การร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นของกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อสันติภาพ[31]
24 2023 (2566)   ไทย ความร่วมมือของกองทัพบก เพื่อส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียน[32]
25 2024 (2567)   ฟิลิปปินส์

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน
ASEAN Navy Chiefs' Meeting
สถานะดำเนินการ
ประเภทการประชุมทางการทหาร
ความถี่ประจำปี
ที่ตั้งหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเดิมพ.ศ. 2544 (อายุ 23 ปี)
เจ้าภาพครั้งแรก  กองทัพเรือไทย
ล่าสุด17th ANCM (ฟิลิปปินส์)
8–12 พฤษภาคม 2566
เหตุการณ์ก่อนหน้า16th ANCM (อินโดนีเซีย)
21–23 สิงหาคม 2565
เหตุการณ์ถัดไป18th ANCM (พม่า)
ผู้เข้าร่วม
จัดโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพลงประจำ
การประชุม
ASEAN Navies stronger Together Forever

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน (ASEAN Navy Chiefs' Meeting: ANCM) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยกองทัพเรือไทยเป็นเจ้าภาพ ใช้ชื่อว่า ASEAN Navy Interaction (ANI) หลังการประชุมครั้งที่ 3 ได้เว้นช่วงไประยะหนึ่ง จึงดำเนินการจัดการประชุมต่อในครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย และในการประชุมครั้งที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อการประชุมเป็น ASEAN Navy Chiefs' Meeting

ในการประชุมครั้งที่ 11 ที่ประชุมมีมติให้ใช้เพลง ASEAN Navies stronger Together Forever ซึ่งแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงโดยกองทัพเรือไทยเป็นเพลงประจำการประชุม[33]

ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้

ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ หัวข้อการประชุม
1 2001 (2544)   ไทย
2 2003 (2546)   มาเลเซีย
3 2005 (2548)   สิงคโปร์
4 2010 (2553)   อินโดนีเซีย
5 2011 (2554)   เวียดนาม ASEAN Naval Cooperation for Peace and Sea Security
6 2012 (2555)   บรูไน Friendship at Sea for Regional Maritime Peace and Security
7 2013 (2556)   ฟิลิปปินส์ Partnership for Peace and Prosperity
8 2014 (2557)   ไทย บทบาทของกองทัพเรืออาเซียนภายหลังการร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2015 (Roles for the ASEAN Navies after ASEAN Integration 2015)[34]
9 2015 (2558)   พม่า
10 2016 (2559)   มาเลเซีย
11 2017 (2560)   ไทย การปกป้องคุ้มครองและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล[33]
12 2018 (2561)   สิงคโปร์
13 2019 (2562)   กัมพูชา Enhancing Cooperations for Sustainble Security at sea[35]
14 2020 (2563)   เวียดนาม (ออนไลน์) ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือเพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว (Naval Cooperation for a Cohesive and Responsive ASEAN"[36][37]
15 2021 (2564)   บรูไน (ออนไลน์) เศรษฐกิจสีน้ำเงิน: เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง (Blue Economy: We Care, We Prepare, We Prosper)[38]
16 2022 (2565)   อินโดนีเซีย บทบาทของกองทัพเรืออาเซียนในการจัดการกับความท้าทายทางทะเล (The roles of ASEAN navies in addressing maritime challenges)[39]
17 2023 (2566)   ฟิลิปปินส์ Synergy at Sea: Regional Cohesion for Peace and Stability[40]
18 2024 (2567)

การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน
ASEAN Air Chiefs' Conference
สถานะดำเนินการ
ประเภทการประชุมทางการทหาร
ความถี่ประจำปี
ที่ตั้งหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเดิมพ.ศ. 2547 (อายุ 20 ปี)
เจ้าภาพครั้งแรก  กองทัพอากาศไทย
ล่าสุด20th AACC (พม่า)
12–15 กันยายน 2566
เหตุการณ์ก่อนหน้า19th AACC (ลาว)
3–6 พฤศจิกายน 2565
เหตุการณ์ถัดไป21th ANCM (กัมพูชา)
ผู้เข้าร่วม
จัดโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน (ASEAN Air Chiefs' Conference: AACC) เป็นกิจกรรมทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียน จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2547[41][42] โดยกองทัพอากาศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งหลังจากนั้นกองทัพอากาศในชาติสมาชิกอาเซียนได้หมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม[41]

ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ แก้

การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน ประกอบไปด้วยประเทศเจ้าภาพและหัวข้อในการประชุม ดังนี้

ค.ศ. (พ.ศ.) เจ้าภาพ หัวข้อการประชุม
1 2004 (2547)   ไทย
2 2005 (2548)   มาเลเซีย
3 2006 (2549)   อินโดนีเซีย
4 2007 (2550)   ฟิลิปปินส์
5 2008 (2551)   สิงคโปร์
6 2009 (2552)   บรูไน
7 2010 (2553)   เวียดนาม
8 2011 (2554)   ไทย การเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.2015 (Strengthening Security Cooperation of ASEAN Air Forces towards ASEAN Community 2015)[41]
9 2012 (2555)   มาเลเซีย ส่งเสริมความร่วมมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนในปี 2015[43]
10 2013 (2556)   ลาว Partners for Peace and Development: Humanitarian Assistance and Disaster Relief[44][45]
11 2014 (2557)   พม่า ความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศเพื่อให้เกิดสันติภาพ และความรุ่งเรืองต่อประชาคมอาเซียน (Defence Cooperation towards Peaceful and Defence Cooperation towards Peaceful and Prosperous ASEAN Community)[46]
12 2015 (2558)   กัมพูชา ความร่วมมือและการประสานงาน ในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค[47] (Cooperation and Coordination to Maintain Regional Stability)
13 2016 (2559)   อินโดนีเซีย
14 2017 (2560)   ฟิลิปปินส์ ASEAN Air Forces: Partnering for change, Jointly Engaging for Greater Peace and Security[48]
15 2018 (2561)   สิงคโปร์ การเสริมสร้างมิตรภาพที่เข้มแข็งและเพิ่มพูนความมั่นคงในภูมิภาค (Strengthening Friendships and Enhancing Regional Security)[49]
16 2019 (2562)   บรูไน Elevating ASEAN Solidary Through Practical Cooperation[50]
17 2020 (2563)   เวียดนาม (ออนไลน์) กองทัพอากาศอาเซียน : สามัคคีปรองดองและตอบสนองทันท่วงที (ASEAN Air Force : Cohesive and Responsive)[51]
18 2021 (2564)   ไทย (ออนไลน์) ระดมสรรพกำลังและขีดความสามารถ พร้อมกับความร่วมมือระหว่างกันในระดับสูงสุด ในการต่อสู้กับความท้าทายรูปแบบใหม่ (Optimizing Capabilities and Cooperation against New Challenges)[52]
19 2022 (2565)   ลาว Together for Peace and Stability in ASEAN[53][54]
20 2023 (2566)   พม่า ความร่วมมือของกองทัพอากาศอาเซียนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ASEAN Air Forces’ Cooperation for Sustainable Environment)[55]
21 2024 (2567)   กัมพูชา[56]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางเยือนเมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน ครั้งที่ 20 (The 20th ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting (ACDFM-20))". 2023rtarf.rtarf.mi.th.
  2. 2.0 2.1 การจัดการความรู้ เรื่อง การจัดประชุม ผบ.ทสส.อาเซียน ผ่านระบบการประชุมทางไกล (PDF). กองการทูตฝ่ายทหาร กรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. 2564.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 CONCEPT PAPER ON DEVELOPING THE LINKAGE BETWEEN THE ASEAN DEFENCE MINISTERS’ MEETING (ADMM) AND THE ASEAN CHIEFS OF DEFENCE FORCES MEETING (ACDFM) (PDF). 14th ASEAN Defence Ministers Meeting.
  4. 4.0 4.1 "Royal Thai Navy - Detail Main". www.dasingapore.navy.mi.th.
  5. VietnamPlus (2016-03-14). "ASEAN chiefs of defence forces meet in Vientiane | World | Vietnam+ (VietnamPlus)". VietnamPlus (ภาษาอังกฤษ).
  6. "ประชุมผบ.ทหารสูงสุดอาเซียนครั้งที่ 15 กระชับความมั่นคงในภูมิภาค – สมาพันธ์รวมใจชาวจีนทั่วโลกเป็นหนึ่งเดียว". th.hepingshijie.com.
  7. "ทัพไทย ปลื้ม ประชุมผบ.ทหารสูงสุดอาเซียนนำไปสู่ความเป็นปึกแผ่น". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "เพิ่มประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมือทางทหารที่มีอยู่". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2563-09-24.
  9. "17th ASEAN Chiefs of Defence Forces' Meeting opens in Hanoi". mod.gov.vn.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "อาเซียนเปิดฉากประชุมสุดยอดวันนี้ เมียนมาบอยคอตไม่ส่งผู้แทนร่วมประชุม". workpointTODAY.
  11. "ประชุมผบ.ทหารสูงสุด 10 ชาติอาเซียนรับภัยคุกคาม". Thai PBS.
  12. "ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เข้าร่วมการประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอาเซียน ครั้งที่ 19 (The 19th ASEAN Chiefs of Defence Forces Meeting (ACDFM-19))". 2023rtarf.rtarf.mi.th.
  13. 13.0 13.1 13.2 thekey.u (2023-06-10). "ใครสนับสนุน"แยกดินแดน"เข้าข่ายกบฏ". THE KEY NEWS.
  14. "การประชุมหน่วยข่าวกรองทหารอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่๙". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2555-03-28.
  15. "17th ASEAN Military Intelligence Meeting officially held". mod.gov.vn.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ความร่วมมือทางทหารเพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2563-09-16.
  17. "การประชุม จก.ยก.ทหาร อาเซียน ครั้งที่ ๑๑". j3.rtarf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  18. Ipanaqué, Arévalo (2022). "Should We Prepare for Future Pandemics?". Journal of Quality in Health Care & Economics. 5 (3): 1–2. doi:10.23880/jqhe-16000283. ISSN 2642-6250.
  19. "ASEAN MILITARY INTELLIGENCE MEETING: MYANMAR DELEGATION ATTENDED AMIM-19". www.myanmaritv.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "19th ASEAN Military Intelligence meeting concludes - Khmer Times" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-03-15.
  21. "News - 20th ASEAN MILITARY INTELLIGENCE MEETING..." www.mindef.gov.bn.
  22. "การประชุมเจ้ากรมยุทธการทหารอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ (AMOM-13) ระหว่างวันที่ ๓ - ๖ มิ.ย.๖๖ ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย". j3.rtarf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  23. "ASEAN ARMIES RIFLE MEET 2023 (AARM 2023) การทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี ทบ.กลุ่มประเทศอาเซียน กับการเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 31 ของ ทบ.ไทย". thaitv5hd.com (ภาษาอังกฤษ).
  24. "'อุดมเดช'บินร่วมประชุมผบ.ทบ.อาเซียน". bangkokbiznews. 2014-11-21.
  25. m.mgronline.com https://m.mgronline.com/politics/detail/9580000129875. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  26. "ผู้บัญชาการทหารบกเตรียมเดินทางร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารบกอาเซียนที่สิงคโปร์ หารื". thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  27. ""บิ๊กแดง" ร่วมประชุม ผบ.ทบ.กลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อความมั่นคงในภูมิภาค". mgronline.com. 2018-11-26.
  28. ""พล.อ.อภิรัชต์" กระชับความร่วมมือ ทบ.อาเซียน". Thai PBS.
  29. "ผบ.ทบ. ร่วมประชุม ACAMM ครั้งที่ ๒๑" (PDF). ข่าวทหารบก Royal Thai Army News. 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  30. "ทบ.ยังคงช่วยน้ำท่วมภาคใต้ ย้ำดูแลทหารใหม่แข็งแรง ปลอดภัย รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น พร้อมเดินหน้าจับมือกองทัพบกอาเซียนแก้ไขสถานการณ์โควิด-19". rta.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  31. "ผบ.ทบ. ร่วมประชุม ACAMM 2022 สานความร่วมมือกลุ่มประเทศอาเซียน พัฒนางานความมั่นคง สร้างเสถียรภาพภูมิภาค". rta.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  32. "" การประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 24 (ASEAN Chiefs of Armies Multilateral Meeting – 24th ACAMM) " – กรมข่าวทหารบก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  33. 33.0 33.1 "ผบ.ทร.อาเซียน หนุนตั้งระบบเตือนภัยสิ่งแวดล้อมทางทะเล พร้อมแก้ปัญหาโจรกรรม". mgronline.com. 2017-11-19.
  34. "ผบ.สส.แย้มตั้งกองกำลังสันติภาพร่วมอาเซียน ไม่เกี่ยง "บิ๊กตู่" มอบเก้าอี้ แต่ขอกระทรวงเดียว". mgronline.com. 2014-08-27.
  35. "ผู้บัญชาการทหารเรือเดินทางไปร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ครั้งที่ ๑๓". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  36. "ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือเพื่ออาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2563-11-06.
  37. "ผู้บัญชาการทหารเรือร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ครั้งที่ ๑๔ ทางไกลเสมือนจริง (Virtual Conference)". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  38. "11 Aug 21 - Strengthening Multilateral Cooperation at the 15th ASEAN Navy Chiefs' Meeting". www.mindef.gov.sg (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  39. "ผู้บัญชาการทหารเรือเข้าร่วมประชุมผู้บัญชาการทหารเรืออาเซียน ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย". www.navy.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. "11 May 23 - Strengthening Cooperation at the 17th ASEAN Navy Chiefs' Meeting". www.mindef.gov.sg (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  41. 41.0 41.1 41.2 "ผบ.ทอ.อาเซียนดันประชาคมอาเซียน". คมชัดลึกออนไลน์. 2011-06-14.
  42. Post, The Jakarta. "Yogyakarta hosts 13th ASEAN Air Chiefs Conference". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ).
  43. "การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียนครั้งที่๙". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2555-09-12.
  44. "Meeting Paper 10th AACC". www.mod.gov.la.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  45. "การประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียนครั้งที่๑๐". สถานีวิทยุเวียดนาม (ภาษาอังกฤษ). 2556-11-04.
  46. ""ประจิน" ร่วมประชุม ผบ.ทอ.อาเซียน". เนชั่นทีวี. 2014-09-25.
  47. "ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ปี 58 by Lakmuang Online - Issuu". issuu.com (ภาษาอังกฤษ). 2016-02-23.
  48. "News Headlines - 14th ASEAN AIRFORCE AIR CHIEFS CONFERENCE..." www.mindef.gov.bn.
  49. "Royal Thai Navy - Detail Main". www.dasingapore.navy.mi.th.
  50. Parameswaran, Prashanth. "What Did the 2019 ASEAN Air Force Chiefs Conference Achieve?". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  51. ""ผบ.ทอ." ร่วมประชุม "ผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน" มุ่งเสริมสร้างสันติภาพ ความยั่งยืน ในภูมิภาค". สยามรัฐ. 2020-10-22.
  52. "กองทัพอากาศ จัดการประชุมผู้บัญชาการทหารอากาศอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ - สำนักข่าว บางกอก ทูเดย์" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-17.
  53. "PAF'S PARTICIPATION IN THE 19TH ASEAN AIR CHIEFS CONFERENCE". www.paf.mil.ph.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  54. "Commander-in-Chief (Air)-led delegation attends 19th ASEAN Air Chiefs Conference | Ministry Of Information". www.moi.gov.mm (ภาษาอังกฤษ).
  55. "ผบ.ทอ.ไทย ร่วมประชุม ผบ.ทอ.อาเซียนที่พม่า แม้หลายชาติคว่ำบาตร". prachatai.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  56. "8 ASEAN nations attend ASEAN Air Chiefs Conference hosted by Myanmar". npnewsmm.com.