การปฏิวัติประชาธิปไตย

การปฏิวัติประชาธิปไตย (อังกฤษ: democratic revolution) เป็นคำในรัฐศาสตร์หมายถึงการปฏิวัติที่นำไปสู่ประชาธิปไตยขึ้นแทนที่รัฐบาลเดิมซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยหรือการปฏิวัติที่ผลลัพธ์มีความเป็นประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

Tocqueville ระบุว่าประชาธิปไตยและระบอบการปกครองอื่นในเงื่อนไขทางสังคมหนึ่ง ๆ เป็นสิ่งซึ่งยึดเอาซึ่งความโน้มเอียงทางคุณธรรม, ปรัชญา, สังคม และการเมืองของประชาชนไว้ และเป็นวิถีการปฏิบัติตัวของผู้คน[1] ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการปฏิวัตินี้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนไปพร้อมกัน ที่ซึ่งในการปฏิวัติประชาธิปไตย พฤติกรรมที่เกิดขึ้นคือความเท่าเทียมและเสรีภาพของประชาชน แนวคิดของ Tocqueville ต่อการปฏิวัติประชาธิปไตยเชื่อว่าคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของความเท่าเทียม ซึ่งหมายถึงเมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนจะมีความเท่ากันมากขึ้น[2]

อ้างอิง แก้

  1. Allen, B. (1953). “Tocqueville, covenant, and the democratic revolution: harmonizing earth with heaven”. Lexington Books. Library of Congress Cataloging-in-Publication Data
  2. Fukuyama, F. (2000). “The March of Equality”. Journal of Democracy 11(1) 11-17. Johns Hopkins University Press