การท่องเที่ยวเพื่อทำแท้ง

การท่องเที่ยวเพื่อการทำแท้ง หรือ การท่องเที่ยวเพื่อยุติการตั้งครรภ์ คือ การเดินทางเพื่อทำการยุติการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย จากการสำรวจ[1] พบว่าการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ แล้วยังพบอีกว่าผู้ที่เดินทางเพื่อทำแท้งส่วนใหญ่มีอายุน้อย การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มีปัจจัยร่วมหลายปัจจัยเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศและความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ การท่องเที่ยวในรูปแบบนี้และการยุติการตั้งครรภ์ยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน โดยบางประเทศพยายามแก้ไขปัญหาโดยการเรียกร้องไม่ให้ยุติการตั้งครรภ์ให้กับบุคคลต่างชาติ

ประวัติและปัจจัย แก้

กรุงลอนดอนเป็นเมืองแรก ๆ ที่คนนิยมเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์ในช่วง ค.ศ. 1960–1970[2] โดยยังพบว่า แนวโน้มการเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์ของชาวอเมริกันในลอนดอนลดลงหลังจากที่กฎหมายอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ในนิวยอร์ก[3] ชาวโปแลนด์ก็เดินทางไปทำแท้งในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงมากขึ้นเมื่อมีการออกกฎหมายอนุญาตการทำแท้งเฉพาะเมื่อการตั้งครรภ์มีผลกระทบในทางลบต่อศักดิ์ศรีและชีวิตของมารดา โปแลนด์ถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีกฎหมายควบคุมการยุติการตั้งครรภ์ที่เคร่งครัดที่สุดในยุโรป เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าความไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อการเดินทางเพื่อการทำแท้ง ทว่า แม่วัยใสที่มีอายุน้อย ฐานะยากจน การศึกษาต่ำ และชนกลุ่มน้อยไม่มีเงินที่จะเดินทางไปทำแท้ง ทำให้บุคคลดังกล่าวนี้เผชิญกับปัญหาจากการทำแท้งเถื่อน ตัวอย่างของแม่ชาวเม็กชิโกพบว่า แม่ที่เดินทางมาทำแท้งที่อเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีฐานะและการศึกษาทั้งนั้น นอกจากข้อจำกัดทางกฎหมายแล้ว ยังมีการตั้งข้อสงสัยการการท่องเที่ยวเพื่อการทำแท้งยังมีผลมาจากแรงกดดันของสังคม นอกจากนี้ ยังพบว่าแม่ในเดนมาร์กหลายคนเดินทางไปยุติการตั้งครรภ์เพราะว่าตนท้องลูกที่มีเพศไม่ตรงกับที่ตนต้องการ สร้างความสะเทือนใจต่อประชาชนชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก[4]

ในประเทศไทย ถึงยังไม่มีการวิจัยหรือข่าวสารเกี่ยวกับการเดินทางหรือท่องเที่ยวเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน แต่ปัญหานี้ยังน่าเป็นห่วง จากการวิจัยของวิลาสินี พนานครทรัพย์พบว่า "แม้ปัจจุบันยังยากที่จะค้นหาสถิติการทำแท้งที่แท้จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ภาพปัญหาเหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการลักลอบทำแท้งที่เกิดขึ้นเป็นอันมาก แม้สังคมไทยจะถือว่าการทำแท้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คือผิดทั้งผู้หญิงที่ทำแท้ง และผิดทั้งผู้ที่ทำให้ผู้หญิงแท้งลูก ยกเว้นเพียง 2 กรณีเท่านั้นที่แพทย์ทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมาย"[5]

ข้อถกเถียง แก้

มีข้อถกเถียงมากมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อการทำแท้ง ซึ่งหลายเหตุผลสืบเนื่องมาจากการไม่สนับสนุนการทำแท้งแต่เดิม เช่นมีการให้เหตุผลว่า “ในความเป็นจริง การเคารพต่อชีวิตมนุษย์ถูกเรียกร้องตั้งแต่ วินาทีแรกที่กระบวนการแห่งชีวิตเริ่มต้น นับจากวินาทีที่ไข่ของ มารดาผสมกับเชื้อของบิดา ชีวิตใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และชีวิต ดังกล่าวไม่ใช่สมบัติของบิดาหรือมารดา หากแต่คือชีวิตมนุษย์ คนใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นทุกขณะ”[6] ประเทศตุรกีมีมาตรการต่อต้านการจัดตั้งโปรแกรมเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการทำแท้ง[7] ผลการวิจัยในแคนาดาพบว่า ถึงแม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตให้มีการยุติการตั้งครรภ์แล้ว แต่หญิงมีครรภ์ยังประสบปัญหาไม่สามารถรับบริการดังกล่าวได้เพราะแรงกดดันจากสังคมและสถานพยาบาลเอง[8]

ดูเพิ่ม แก้

การอ้างอิง แก้

  1. http://www.socialinequities.ca/2013/03/london-town-transnationalism-and-abortion-tourism/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-29.
  4. http://cphpost.dk/news/international/danish-abortion-tourists-head-sweden
  5. วิลาสินี พนานครทรัพย์ การทำแท้ง: มุมมองที่แตกต่าง http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2012/02/JSA-30-1-wilasinee.pdf
  6. “เอกสารสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2”
  7. http://www.setimes.com/cocoon/setimes/xhtml/en_GB/features/setimes/features/2012/09/04/feature-04
  8. CHRISTABELLE SETHNA, MARION DOULL. Accidental Tourists: Canadian. 23 Apr 2012