ฉบับร่าง:การทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Opecuted (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 6 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
ฉบับร่างนี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาฉบับร่างนี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
แม้ว่าชาวนอร์สได้เข้ามาสำรวจและตั้งรกรากปลักฐานทางตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ เมื่อราวปี ค.ศ. 1000 และคลื่นระลอกต่อมาและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีมากขึ้นของการล่าอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา ซึ่งเกิดขึ้นในทวีปอเมริกาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1500 และค.ศ. 1800 ในช่วงยุคแห่งการสำรวจ ในช่วงเวลานั้น หลายจักรวรรดิแห่งยุโรป - ส่วนใหญ่เป็นสเปน โปรตุเกส บริเตน และฝรั่งเศส ได้เริ่มต้นทำการสำรวจและกล่าวอ้างสิทธิ์ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติและทุนมนุษย์ของทวีปอเมริกา ส่งผลทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานและการล้มล้างชนเผ่าพื้นเมืองบางแห่งและการก่อตั้งรัฐอาณานิคมหลายแห่งที่ได้ตั้งถิ่นฐานเอาไว้ ดินแดนอาณานิคมของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปในอดีตบางแห่ง รวมทั้งนิวแม็กซิโก อะแลสกา แพร์รี่/เกรตเพลนส์ ทางตอนเหนือ "ดินแดนตะวันตกเหนือ" ในอเมริกาเหนือ คดคอดของเต็มซันโตโดมิงโก คาบสมุทรยูกาตัน และภูมิภาคดาริเอนในอเมริกากลาง และอเมซอนทางตะวันตกเฉียงเหนือ เทือกเขาแอนดีส ตอนกลาง และกีอาน่าในอเมริกาใต้ - ซึ่งยังคงเป็นพื้นที่ชนบท มีประชากรเบาบาง และเป็นชนพื้นเมืองในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม รัฐอานานิคมที่ตั้งถิ่นฐานหลายแห่ง รวมทั้งบราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก อาร์เจนติน่า และสหรัฐได้เติบโตกลายเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่มีการตั้งถิ่นฐานด้วยสิทธิ์ของตนเอง รัสเซียเริ่มก่อตั้งอาณานิคมทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยริเริ่มตั้งแต่กลางศตวรรษที่สิบแปด ซึ่งเแสวงหาขนสัตว์เพื่อการค้าเสื้อขนสัตว์ โครงสร้างทางสังคมหลายอย่าง - รวมทั้งศาสนา ขอบเขตทางการเมือง และภาษาฝรั่งเศส - ซึ่งครอบงำซีกโลกตะวันตกในศตวรรษที่ 21 คือทายาทของโครงสร้างที่ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลานั้น
อัตราที่รวดเร็วที่ซึ่งยุโรปเติบโตขึ้นในความมั่นคั่งและอำนาจเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 เนื่องจากเอาแต่หมกหมุ่นอยู่กับสงครามภายในและค่อย ๆ ฟื้นฟูจากการสูญเสียประชากรซึ่งเกิดจากกาฬโรค ความแข็งแกร่งของจักรวรรดิออตโตมันของชาวตุรกีบนเส้นทางการค้าสู่เอเชีย ทำให้กษัตริย์ยุโรปตะวันตกต้องค้นหาทางเลือกอื่น ส่งผลลัพธ์ในการเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสและการค้นพบ"โลกใหม่" โดยบังเอิญ
เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาทอร์เดซิลลาสในปี ค.ศ. 1494 โปรตุเกสและสเปนได้ตกลงกันว่าจะแบ่งโลกออกเป็นสองส่วน โดยโปรตุเกสจะมีอำนาจเหนือดินแดนที่ไม่ใช่ของชาวคริสเตียนในฝั่งตะวันออก และสเปนมีอำนาจเหนือดินแดนทางฝั่งตะวันตก การอ้างสิทธิ์ของสเปนโดยพื้นฐานแล้วได้รวมถึงทวีปอเมริกาทั้งหมด อยางไรก็ตาม สนธิสัญญาทอร์เดซิลลาสได้มอบส่วนปลายด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ให้กับโปรตุเกส ซึ่งได้สถาปนาประเทศบราซิลขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1500
บรรดามหาอำนาจยุโรปตะวันตกอื่น ๆ ต่างเห็นชัดได้ว่าพวกเขาต่างได้รับประโยชน์จากการเดินทางตะวันตกเช่นเดียวกัน และในปี ค.ศ. 1530 บริติชและฝรั่งเศสได้เริ่มก่อตั้งอาณานิคมที่ปลายด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกากลาง ภายในหนึ่งศตวรรษ สวีเดนได้ก่อตั้งนิวสวีเดน ดัตซ์ได้ก่อตั้งนิวเนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก-นอร์เวย์พร้อมกับมหาอำนาจอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้กล่าวอ้างสิทธิ์หลายครั้งในทะเลแคริบเบียน และในปี ค.ศ. 1700 เดนมาร์ก-นอร์เวย์ได้ฟื้นฟูอดีตอาณานิคมในกรีนแลนด์ และรัสเซียได้เริ่มสำรวจและกล่าวอ้างสิทธิ์ในชายฝั่งแปซิฟิกตั้งแต่อะแลสกาไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย
การเผชิญหน้ากันที่รุนแรงซึ่งเริ่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นในช่วงเริ่มต้นของช่วงเวลานั้น เนื่องจากชนพื้นเมืองได้ต่อสู้รบอย่างดุเดือดเพื่อปกป้องความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนของตนจากผู้ก่อตั้งอาณานิคมชาวยุโรปจำนวนมาก เช่นเดียวกับเพื่อนบ้านชนพื้นเมืองที่เป็นศัตรูกันซึ่งติดตั้งด้วยเทคโนโลยียูเรเซีย ความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิต่าง ๆ กับประชากรชนพื้นเมืองเป็นกระแสหลักในทวีปอเมริกาจนถึงปี ค.ศ. 1800 และแม้ว่าบางส่วนของทวีปจะได้รับเอกราชจากยุโรปในขณะนั้น แต่ภูมิภาคอื่น ๆ เช่น แคลิฟอร์เนีย ปาตาโกเนีย "ดินแดนตะวันตกเหนือ" และเกรตเพลนส์ ทางตอนเหนือแทบจะไม่มีอาณานิคมอยู่เลยจนถึงปี ค.ศ. 1800
ประวัติแก้ไข
เริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1492 เมื่อสเปนที่มีหัวหน้าคือคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบ“โลกใหม่” ซึ่งก็คือทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลก็เดินทางไปสำรวจดินแดนในอเมริกาใต้ที่ปัจจุบันเรียกว่าบราซิล การเลี่ยงเส้นทางที่ไม่ให้ทับกันระหว่างสองมหาอำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างสองราชอาณาจักร[1] ในที่สุดพระสันตะปาปาก็เข้ามาแก้ไขปัญหาในปี ค.ศ. 1494 ในข้อตกลงในสนธิสัญญาทอร์เดสซิลลาส (Treaty of Tordesillas) ที่แบ่งโลกระหว่างสองมหาอำนาจ โปรตุเกส “ได้รับ” ทุกอย่างนอกยุโรปทางตะวันออกของเส้นที่แล่น 270 ลีก (League) ทางตะวันตกของหมู่เกาะแหลมแวร์เดที่ทำให้โปรตุเกสมมีอิทธิพลในการควบคุมแอฟริกา, เอเชีย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกา (บราซิล) ส่วนสเปนได้ทุกอย่างทางตะวันตกของเส้นแบ่งที่ระบุ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นดินแดนที่ยังไม่ได้รับการสำรวจที่มารู้จักกันต่อมาว่าเป็นทางเด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก[2]
การแบ่งสรรทวีปอเมริกาโดยชาวยุโรปแก้ไข
- บริติชอเมริกา (1607– 1783)
- นิวฟันด์แลนด์ (1583-1949)
- สิบสามอาณานิคม (1607- 1783)
- รูเพิตส์แลนด์ (1670-1870)
- บริติชโคลัมเบีย (1793-1871)
- บริติชนอร์ทอเมริกา (1783 – 1907)
- บริติชอินเดียตะวันตก
- นิวคูร์ลันด์ (โทบาโก) (1654–1689)
- นิวเนเธอร์แลนด์ (1609–1667)
- Essequibo (1616–1815)
- หมู่เกาะเวอร์จินของดัตช์ (1625–1680)
- Berbice (1627–1815)
- New Walcheren (1628–1677)
- Dutch Brazil (1630–1654)
- Pomeroon (1650–1689)
- Cayenne (1658–1664)
- Demerara (1745–1815)
- Suriname (1667–1954)
- อินเดียตะวันตกของเนเธอร์แลนด์
- กือราเซาและภายใต้ควาคุ้มครอง (1634–1954)
- ซินต์เอิสนาซียึสและรัฐภายใต้คุ้มครอง (1634–1954)
- รัชเชียนอเมริกา (อะแลสกา), (1784–1867)
- นิวสวีเดน (1638–1655)
- แซ็ง-บาร์เตเลมี (1785–1878)
- กัวเดอลุป (1813–1815)
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Jensen, De Lamar (1992), Renaissance Europe 2nd ed. pg. 345
- ↑ Fernandez-Armesto, Felipe (2006). Pathfinders: A Global History of Exploration. W.W. Norton & Company. p. 202. ISBN 0-393-06259-7.