การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (อังกฤษ: percutaneous coronary intervention, ย่อ: PCI) เป็นหัตถการที่มิใช่การผ่าตัดใช้เพื่อรักษาการตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบในโรคหลอดเลือดหัวใจ เริ่มจากการเข้าถึงกระแสเลือดผ่านหลอดเลือดแดงต้นขาหรือข้อมือ แล้วใช้หลอดสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อดูหลอดเลือดทางภาพรังสีเอกซ์ หลังจากนั้น นักหทัยวิทยาปฏิบัติรักษาสามารถศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจ (coronary angioplasty) โดยใช้หลอดสวนบอลลูนซึ่งมีการสอดบอลลูนปล่อยลมเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่อุดตันแล้วสูบลมเข้าเพื่อบรรเทาการตีบแคบ สามารถอุปกรณ์บางอย่างเช่น ดลวด (stent) เพื่อถ่างหลอดเลือดให้เปิด นอกจากนี้ หัตถการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน

การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ
การแทรกแซง
ภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจแสดงการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจหลักซ้ายและแขนงของมัน
ICD-9-CM36.09, 00.66

PCI ปฐมภูมิเป็นการใช้ PCI อย่างรีบด่วนมากในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลักฐานหัวใจเสียหายรุนแรงบนภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (MI ชนิด ST ยก) นอกจากนี้ PCI ยังใช้ในผู้ป่วยหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบอื่นหรืออาการปวดเค้นไม่เสถียร ซ่ึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการเพิ่ม สุดท้าย PCI อาจใช้ในผู้ป่วยอาการปวดเค้นเสถียรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาควบคุมอาการได้ยาก PCI เป็นทางเลือดของการปลูกถ่ายทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting) ซึ่งเลี่ยงหลอดเลือดที่ตีบตันโดยใช้หลอดเลือดปลูกถ่ายจากตำแหน่งอื่นในร่างกาย ในบางกรณี (เช่น มีการอุดกั้นมาก หรือมีโรคพื้นเดิมเบาหวาน) CABG อาจให้ผลดีกว่า

ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจริเริ่มครั้งแรกในปี 1977 โดยอันเดรอัส กรูเอนท์ซิกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์