การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)
การตีกรุงโรมแตก (อังกฤษ: Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 410 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 410 โดยกรุงโรมถูกโจมตีโดยชนวิสิกอธที่นำโดยอาลาริคที่ 1 หลังจากที่จักรพรรดิโฮโนริอัสย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังราเวนนาเมื่อวิสิกอธเริ่มเข้ามารุกรานอิตาลี
การปล้นสะดมโรม (ค.ศ. 410) | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก | |||||||
การปล้นสะดมโรมโดยชนป่าเถื่อนใน ค.ศ. 410 โดย Joseph-Noël Sylvestre, ค.ศ. 1890 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ชาววิซิกอท |
จักรวรรดิโรมันตะวันตก ชาวฮัน[a] | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อาลาริคที่ 1 อาตาอุลฟ์ | จักรพรรดิฮอโนริอุส | ||||||
กำลัง | |||||||
น่าจะมีทหาร 40,000 นาย[6] ไม่ทราบจำนวนพลเมืองที่ติดตาม | ไม่ทราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ |
การเสียกรุงโรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 800 ปี ครั้งแรกที่เสียเมืองเกิดขึ้นเมื่อปี 387 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อเสียแก่กอลในยุทธการอัลเลีย นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่าการเสียเมืองครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโรมัน นักบุญเจอโรม ผู้เป็นพลเมืองโรมขณะอยู่ในเบธเลเฮม บรรยายว่า: "เมืองที่เคยปกครองโลกทั้งโลกโดนยึดเองเสียแล้ว"[7]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ชาวฮันมีส่วนในการป้องกันจักรวรรดิโรมตะวันตกในช่วงการรุกรานอิตาลีครั้งแรกของวิซิกอท; หลังเอาชนะและสังหาร magister militum กาอินัส ทางโรมันจึงเรียกตัวอุลดิน กษัตริย์ฮัน ไปที่ิอิตาลี และช่วยเอาชนะและสังหารราดาไกซุส กษัตริย์กอทที่รุกรานอิตาลี ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 406[1] ชาวฮันก็มีส่วนในการป้องกันโรมในการปะทะก่อนหน้าการล้อมครั้งที่สอง (ค.ศ. 409) ในการรุกรานอิตาลีครั้งที่สองของวิซิกอท ฝ่ายฮัน 300 คนเอาชนะพวกกอท โดยมีรายงานว่าสังหารไป 1,100 คน ฝ่ายของตนสูญเสียไป 17 คน ก่อนที่กองทัพกอทที่เหลือจะเข้ามาและขับพวกฮันไปที่ราเวนนา[2] ชาวฮันก็มีส่วนจำนวนมาก โดยจักรพรรดิฮอโนริอุสพยายามเกณฑ์ชาวฮัน 10,000 คน[3][4] ข่าวความตั้งใจของฮอโนริอุสทำให้อาลาริคเดินทางไปต่อรองใหม่ ท้ายที่สุด ก็ไม่มีการเกณฑ์ชาวฮัน 10,000 คน[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Maenchen-Helfen, Otto J. (2022). Knight, Max (บ.ก.). The World of the Huns Studies in Their History and Culture. University of California Press. p. 60. ISBN 9780520302617. สืบค้นเมื่อ 19 November 2022.
- ↑ Burns, Thomas S. (1994). Barbarians Within the Gates of Rome A Study of Roman Military Policy and the Barbarians, Ca.375–425 A.D. Indiana University Press. p. 236. ISBN 9780253312884. สืบค้นเมื่อ 18 November 2022.
- ↑ The Cambridge Ancient History Volume 13, (Cambridge University Press, 1998), p. 126
- ↑ Arnold Hugh Martin Jones, The Later Roman Empire, 284–602, (The Johns Hopkins University Press, 1964), p. 186.
- ↑ Arnold Hugh Martin Jones, The Later Roman Empire, 284–602, (The Johns Hopkins University Press, 1964), p. 199.
- ↑ Peter Heather, The Fall of the Roman Empire: A New History of Rome and the Barbarians (Oxford University Press, 2006), p. 224.
- ↑ St Jerome, Letter CXXVII. To Principia, s:Nicene and Post-Nicene Fathers: Series II/Volume VI/The Letters of St. Jerome/Letter 127 paragraph 12.
อ่านเพิ่ม
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)
- The Histories of Olympiodorus of Thebes
- New History of Zosimus
- Michael Kulikowski, Rome's Gothic Wars: From the Third Century to Alaric, Cambridge University Press, 2007.
- Kovács, Tamás. “410: Honorius, His Rooster, and the Eunuch (Procop. Vand. 1.2.25–26).” Graeco-Latina Brunensia 25, no. 2 (2020): 131–48. https://doi.org/10.5817/GLB2020-2-10.