การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก

การฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (อังกฤษ: Commercial sexual exploitation of children ตัวย่อ CSEC) เป็นธุรกรรมทางการค้าที่อาศัยการฉวยประโยชน์ทางเพศ (sexual exploitation) จากเด็ก เช่นการค้าประเวณี และสื่อลามกอนาจาร[1] อาจจะมีการบีบบังคับและการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก เท่ากับเป็นแรงงานบังคับและเป็นรูปแบบความเป็นทาสยุคปัจจุบัน[1][2] รวมทั้งการให้บริการทางเพศของเด็กเพื่อผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จะเป็นเงินทองหรืออะไรอย่างอื่นก็ดี[3]

ปฏิญญาของงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ที่ประชุมในเมืองสต็อกโฮล์มปี 2539 นิยาม CSEC ว่า

"การทารุณทางเพศโดยผู้ใหญ่ที่ประกอบด้วยผลตอบแทนเป็นเงินสดหรือการตอบแทนเช่นกันที่ให้แก่เด็กหรือแก่บุคคลที่ 3 มีการปฏิบัติต่อเด็กเหมือนวัตถุทางเพศ หรือวัตถุเพื่อการค้า"[1]

CSEC ยังหมายถึงเซ็กซ์ทัวร์ และธุรกรรมทางเพศแบบอื่น ๆ ที่เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย หรือการศึกษา รวมทั้งรูปแบบที่สมาชิกในบ้านไม่ห้ามหรือแจ้งตำรวจเกี่ยวกับทารุณกรรมต่อเด็ก เนื่องจากได้ผลประโยชน์จากผู้กระทำผิด และอาจรวมการแต่งงานแบบคลุมถุงชนสำหรับเด็กที่ยังไม่ถึงอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ ที่เด็กไม่ได้ยินยอมและถูกทารุณทางเพศ[ต้องการอ้างอิง]

ศูนย์เพื่อเด็กหายและถูกฉวยผลประโยชน์แห่งชาติ (National Center for Missing and Exploited Children) ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเอกชน (แต่เบื้องต้นจัดตั้งโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา) กล่าวว่า เด็กหญิง 1 ใน 5 และเด็กชาย 1 ใน 10 จะถูกฉวยประโยชน์หรือทารุณกรรมทางเพศก่อนจะโตเป็นผู้หใญ่[4] ส่วนกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) กล่าวว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กเป็น "การล่วงละเมิดสิทธิที่รุนแรงที่สุดที่เด็กคนหนึ่งอาจจะต้องอดทนอดกลั้น"[3]

ทิศทาง แก้

สื่อลามก แก้

สื่อลามกอนาจารเด็กแพร่หลายไปทั่วทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภาค และในเขตพื้นที่ วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต การจำหน่าย ผู้ผลิต เทคนิคหลีกเลี่ยงกฎหมาย และสถานะ อยู่ในตาราง 1 เป็นอุตสาหกรรมมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทรวมทั้งรูปถ่าย หนังสือ สื่อเสียง วิดีโอ และอื่น ๆ รูปภาพจะแสดงเด็กร่วมกิจกรรมทางเพศกับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ หรือกับวัตถุต่าง ๆ เด็กอาจจะถูกฉวยผลประโยชน์ ถูกข่มขืน ถูกการอนาจาร หรือแม้แต่ถูกฆ่า[5] การทำสื่อลามกอนาจารมักจะเป็นก้าวแรกเข้าไปสู่อุตสาหกรรมการค้าเพศ ผู้ได้ประโยชน์จะบังคับให้เด็กทำสื่ออนาจารเพื่อปรับให้เชื่อว่าสิ่งที่ทำเป็นเรื่องที่ยอมรับได้[6] แล้วอาจจะใช้สื่ออนาจารนั้นเพื่อขู่บังคับเด็กหรือกรรโชกเอาทรัพย์จากลูกค้า[6]

ตาราง 1 การผลิตสื่อลามกอนาจารเด็ก[7]
นานาชาติ ชาติ ภูมิภาค พื้นที่
วิธีการผลิต เทคโนโลยีทันสมัยที่สุดที่ใช้ในโสตทัศนอุปกรณ์ การพัฒนาสื่อ และการผลิตสื่อ เท่าเทียมกับระดับนานาชาติ โรงถ่ายและแล็บส่วนตัว มีคุณภาพด้อยกว่า คุณภาพด้อยที่สุด ใช้เทคโนลียีที่ขายในตลาดผู้บริโภค (เช่น กล้องดิจิทัล โฟโตสแตต) ซื้อผ่านหรือแลกเปลี่ยนโดยตรงทางจดหมาย
การจำหน่าย ไปรษณีย์ (ทั้งของรัฐและเอกชน) คนส่งของ การขายตรง ร้านหนังสือลามก ไปรษณีย์ (ทั้งของรัฐและเอกชน) การขายตรง ไปรษณีย์ (ทั้งของรัฐและเอกชน) การขายหรือแลกเปลี่ยนโดยตรง ร้านหนังสือลามก การขายหรือแลกเปลี่ยนโดยตรง, ไปรษณีย์ (ทั้งของรัฐและเอกชน)
ผู้ผลิต กลุ่มมิจฉาชีพ นายทุน นักถ่ายภาพอิสระ มาเฟีย (เจ้าพ่อ) และนักถ่ายภาพอิสระ โดยหลักเป็นนักถ่ายภาพอิสระ โดยบางส่วนมีผู้ว่าจ้างเป็นแมงดาหรือเป็นคนใคร่เด็กในพื้นที่ คนใคร่เด็กในชุมชน มิจฉาชีพ และแมงดา
เทคนิคหลีกเลี่ยงกฎหมาย แหล่งผลิตและพัฒนาที่เคลื่อนหนีได้ ชื่อปลอม การส่งสินค้าในรูปปลอมแปลง ใช้คนกลางในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ ใบอนุญาตจากผู้ปกครอง แหล่งผลิตและพัฒนาที่เคลื่อนหนีได้ ชื่อปลอมและแหล่งผลิตที่ไม่อยู่กับที่ เปลี่ยนเด็กรวดเร็ว ใบอนุญาตจากผู้ปกครอง เหยื่อถูกบังคับหรือแบล็กเมล์ให้เงียบ การเปลี่ยนที่บ่อย ๆ หรือการมีชื่อเสียงที่ดีมักจะไม่ให้เกิดความสงสัย
สถานะ ยังมีอยู่ เน้นเด็กในประเทศกำลังพัฒนา มักจะมีการจับกุมเป็นบางครั้งบางคราว การตอบสนองจากเจ้าหน้าที่โดยการรับแจ้งทำให้ไม่สามารถกำจัดการผลิตและการจำหน่ายได้อย่างเด็ดขาดถาวร ฟื้นคืนสภาพได้ดี แม้จะมีกฎหมายที่เข้มงวดและการระงับขายสินค้าเป็นบางครั้งบางคราว ขายในประเทศเพื่อนบ้านหรือส่งออกไปยังเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ยากมากที่จะจับได้ล่วงหน้า แมงดาและผู้ผลิตใช้โสเภณีเด็กและเด็กที่ถูกทำร้ายทางเพศ อาจจะพบในสื่อนอกประเทศ ใช้ใบอนุญาตจากผู้ปกครองและการบังคับผู้มีส่วนร่วมให้เก็บความลับ สื่อนัยลามกกำลังเพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ สื่อลามกที่ทำในพื้นที่เป็นแกนสำคัญของกลุ่มคนใคร่เด็ก มักจะพบโดยบังเอิญเมื่อค้นโดยเจ้าหน้าที่เพราะเหตุอื่น ๆ

ทัวร์และการค้าเด็ก แก้

ชนบางกลุ่มเดินทางมีจุดประสงค์เพื่อเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก[8] ทั้งเซ็กซ์ทัวร์และการค้าเซ็กซ์นำเงินเข้าสู่ประเทศ[5] การสนับสนุนจากรัฐเช่นดังที่มีการอ้างว่า “รองนายกรัฐมนตรีไทยได้ขอผู้ว่าราชการจังหวัดให้ ‘คิดถึงงานที่จะเกิดขึ้น’” สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมบางประเทศจึงมีค่าปรับและการลงโทษที่ต่ำสำหรับผู้ทำผิดในเรื่องค้าขายทางเพศ มีสำนักงานท่องเที่ยวที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำในเรื่องการหาความบันเทิงแบบตื่นเต้นแปลก ๆ ที่สนับสนุนให้ชายเดินทางเพื่อเซ็กซ์[9] ทัวร์เซ็กซ์จึงนำรายได้มาสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจยังไม่พัฒนาและต้องอาศัยการฉวยประโยชน์จากหญิงและเด็ก[5]

การค้าเด็ก (trafficking) และ CSEC บางครั้งจะล้ำกัน แต่ว่า การลอบพาเด็กเข้าประเทศบางครั้งก็เพื่อใช้ในกิจ CSEC แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด คือ อาจจะมีการลักพาเด็กเข้าประเทศเพื่องานประเภทอื่น ถ้าเด็กถูกทารุณกรรมทางเพศในงาน นี่อาจจะไม่ใช่ CSEC ในบางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา นิยามของการค้าบุคคลแบบรุนแรงรวมกิจกรรมทางเพศเพื่อการค้าของบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศเพื่อการค้า ก็จะจัดว่าเป็นเหยื่อการค้าเด็กเหมือนกันถึงแม้ว่าอาจจะไม่มีการพาเด็กไปในที่ไหน ๆ[10] CSEC เป็นการทารุณเด็กทางเพศโดยเฉพาะแบบหนึ่ง เพราะว่า การข่มขืนเด็กหรือการใช้ความรุนแรงในบ้านไม่จัดเป็น CSEC

การค้าประเวณี แก้

การค้าประเวณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สื่อลามกอนาจารเด็ก และการค้าเด็ก (trafficking) บ่อยครั้งจัดว่าเป็นอาชญากรรมกระทำความรุนแรงต่อเด็ก และจัดว่าเป็นรูปแบบการฉวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เหมือนกับแรงงานเกณฑ์ หรือความเป็นทาส เด็กบ่อยครั้งจะเกิดความเสียหายที่แก้ไขไม่ได้ทั้งทางกายและทางใจ มีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยเยาว์และต่อกามโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอชไอวี และบ่อยครั้งไม่ได้รับความคุ้มกันจากกฎหมายพอเพียง หรือแม้แต่ถูกปฏิบัติเยี่ยงอาชญากร[ต้องการอ้างอิง]

การค้าประเวณีเป็นอาชีพที่คนทำมีอายุน้อยที่สุดอาชีพหนึ่ง เกือบ 80% ของโสเภณีผู้ใหญ่เริ่มทำอาชีพระหว่างอายุ 11-14 ปี[11]

เหตุ แก้

อุปสงค์และอุปทานเพื่อเด็กในการค้าเซ็กซ์ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ปฏิบัติการเรื่องสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งกล่าวว่า การเพิ่มจำนวนของเด็กที่ถูกขายเพื่อการค้าประเวณีสะท้อนถึงการปฏิรูปทางอุตสาหกรรมที่ประเทศหนึ่ง ๆ จะประสบในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เช่น เด็กหญิงชาวไทยมักจะมาจากภาคเหนือ เพราะว่าการทำมาหาเลี้ยงชีพยากลำบาก ครอบครัวหลายครอบครัวจึงมองลูกสาวเหมือนกับสินค้า[12]

ในระดับวงกว้าง เหตุของการฉวยประโยชน์จากเด็กก็คือตลาดผู้บริโภคแบบโลกาภิวัตน์ และการนำเข้าสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่สนับสนุนให้เป็นผู้บริโภค[5] เงินที่ให้กับผู้ปกครองเพื่อเด็กบ่อยครั้งยากที่จะปฏิเสธ เพราะบางครั้งครอบครัวอยู่ในฐานะที่ยากจนมาก และบางครั้งพ่อแม่ก็ให้เด็กไปกับผู้ซื้อโดยไม่รู้ว่าเด็กจะต้องไปทำอะไร[12]

เหตุวงกว้างอีกอย่างหนึ่งก็คือ การดำเนินการก่อสร้างและฐานทัพทหารที่ขยายไปในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นจุดดึงดูดชายที่หวังจักฉวยผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กแลกกับเงินก้อนโต เป็นชายที่บ่อยครั้งมาจากประเทศพัฒนาแล้วที่ไม่ได้เห็นใจเด็ก[5]

ครอบครัวที่ขายลูกสาวเข้าซ่องมักจะทำอีกสำหรับลูกสาวคนต่อ ๆ ไป แต่ว่า ลูกสาวคนน้องอาจจะยินดีไปมากขึ้น เพราะว่าได้ยินจากพี่สาวถึงชีวิตที่หรูหราในเมือง และเพราะชอบเสื้อผ้าและเงินทองที่พี่สาวมี ดังนั้น เด็กอาจจะเข้าสู่อาชีพโดยที่ไม่รู้ว่าตนเองจะไปทำอะไร[12]

อันตรายและผล แก้

ไม่ว่าจะมีส่วนในการทำสื่อลามก การไปอยู่ในซ่องโสเภณี หรือถูกลักลอบไปขายในประเทศอื่น เด็กล้วนแต่เสี่ยงต่อการติดกามโรค ต่อความรุนแรงทางกาย และต่อปัญหาทางจิต งานวิจัยแสดงว่า "เด็ก 50-90% ในซ่องเขตเอเชียอาคเนย์ติดเอชไอวี"[3] ในหลาย ๆ กรณีที่เด็กถูกบังคับให้เข้าสู่อาชีพ เด็กจะถูกตบตีและข่มขืนจนกระทั่งไม่พยายามที่จะหนีอีกต่อไป[12] ปัญหาทางกายอื่น ๆ รวมทั้งภาวะการมีบุตรยาก มะเร็งปากมดลูก การถูกทำร้ายร่างกาย และบางครั้งฆาตกรรม[6] การตั้งครรภ์ก็เป็นเรื่องเสี่ยงอีกเรื่องหนึ่งด้วย และถ้าเด็กติดเอชไอวีหรือเอดส์ ก็อาจจะถูกไล่ออกจากซ่องโดยไม่มีที่ที่จะไป[12] เด็กหลายคนต้องแยกกายออกจากใจ เพื่อที่จะอดทนดำเนินอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นได้[12]: 221  และการทำเช่นนั้น ทำให้คิดว่าตนไม่มีค่าอะไรนอกจากเป็นคนขายตัวและบางคนจะเริ่มคิดฆ่าตัวตาย[5][12] ปัจจัยเสี่ยงทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งความผิดปกติในการนอนและการรับประทาน, ความสับสนทางเพศ, ฮิสทีเรีย และความเดือดดาลอยากจะฆ่าคน[6]

นอกจากอันตรายต่อสุขภาพกายและจิตแล้ว เด็กยังมีปัญหากลัวเจ้าหน้าที่อีกด้วย เด็กและหญิงจำนวนมากถูกลักลอบข้ามผ่านชายแดนเพื่อไปขาย และถ้าหนีจากซ่องหรือแมงดาไปได้ หญิงและเด็กก็จะตกอยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ เพราะว่าไม่มีเอกสารเดินทางที่ถูกต้อง ก็จะต้องถูกจำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเกิดทารุณกรรมและการฉวยผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก[12]

กระบวนการค้าเด็ก แก้

มีคนหลายพวกที่เกี่ยวข้องกับการฉวยประโยชน์จากเด็กทางเพศ เช่นต้องใช้คนหลายคนในการดำเนินงานของซ่อง มีการแบ่งชนที่เกี่ยวข้องกับการขายเด็กออกเป็น 4 จำพวก คือ ผู้ทำผิด ผู้ขาย ผู้อำนวย และเด็ก ผู้ทำผิดคือคนที่เข้าร่วมเซ็กซ์ทัวร์ หรือมีส่วนในการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์ บ่อยครั้งเป็นชายที่หาเรื่องแก้ตัวที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก[6] ผู้ขายคือคนที่ซื้อและเป็นแมงดาของเด็ก ผู้พยายามหาผลกำไรให้มากที่สุด ซึ่งถ้าปราศจากชนกลุ่มนี้จะไม่มีการค้าเด็ก ผู้อำนวยก็คือคนที่อำนวยอนุญาตให้การค้าเด็กเป็นไปได้ ผู้ปกครองที่ขายลูกสาวจัดอยู่ในประเภทนี้ เด็กเป็นคนสำคัญที่สุดในกระบวนการนี้ แต่คำว่า "เด็ก" มีกำหนดที่ไม่แน่นอน เพราะมีนิยามต่าง ๆ กันทั่วโลก การแยกแยะว่ากรณีไหนเป็นทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก กรณีไหนเป็นการค้าประเวณีเด็ก เป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมต่าง ๆ ก็ต่างกันในการพิจารณ์ว่า เมื่อไรเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่

ความแพร่หลาย แก้

แม้ว่าจะไม่สามารถรู้ขอบเขตปัญหาที่แท้จริงได้ เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ข้อมูลแรงงานเด็กทั่วโลกปี 2546 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประมาณว่า มีเด็กเกือบถึง 1.8 ล้านคนที่ถูกฉวยผลประโยชน์โดยการค้าประเวณีและสื่อลามกทั่วโลก[13]

การสำรวจประเมินผลแบบรวดเร็ว (Rapid Assessment survey) ที่พัฒนาโดยโปรแกรมกำจัดแรงงานเด็กนานาชาติ (International Programme for the Elimination of Child Labour) ของ ILO ร่วมกับ UNICEF เป็นการสำรวจอาศัยการสัมภาษณ์และเทคนิคเชิงคุณภาพอื่น ๆ ที่สามารถแสดงเหตุการณ์เฉพาะอย่าง ๆ ในเขตภูมิภาคหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลเรื่องแรงงานเด็กแบบแย่ที่สุด เช่น CSEC ที่ยากที่จะเก็บด้วยวิธีการสำรวจเชิงปริมาณที่ทำโดยปกติ[ต้องการอ้างอิง]

ความรู้ทั่วไปที่ให้กับเด็กสามารถลดโอกาสที่เด็กจะถูกฉวยผลประโยชน์ในการค้าประเวณีหรือการทำสื่อลามก มีการรณรงค์ระดับชาติในประเทศไทยที่ให้ "การศึกษาพื้นฐาน 9 ปี, กิจกรรมเพิ่มความตระหนักรู้เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการค้าประเวณีเด็ก และระบบดูแลควบคุมที่ป้องกันเด็กไม่ให้ถูกบีบบังคับให้ค้าประเวณี"[14]

กองทุนเพื่อเด็ก (UNICEF) และ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ประเมินว่า มีเด็ก 2 ล้านคนที่ถูกฉวยประโยชน์โดยการค้าประเวณีหรือการทำสื่อลามกทุก ๆ ปี[2]

แอฟริกา แก้

ประเทศแทนซาเนีย แก้

เด็กหญิงโสเภณี 84% ที่สัมภาษณ์ในประเทศแทนซาเนียแจ้งว่า ได้ถูกตบตี ข่มขืน หรือทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ และอย่างน้อย 60% ไม่มีที่อยู่ประจำ เด็กบางส่วนจากจำพวกนี้ เริ่มจากการทำงานเป็นคนงานในบ้าน[13]

ทวีปอเมริกา แก้

ประเทศบราซิล แก้

ในประเทศบราซิล UNICEF ประเมินว่ามีเด็ก 250,000 ทำงานค้าประเวณี[15]

ประเทศเอลซัลวาดอร์ แก้

ในประเทศเอลซัลวาดอร์ 1 ใน 3 ของเด็กที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศวัย 14-17 ปี เป็นชาย อายุมัธยฐานที่เข้าสู่อาชีพค้าประเวณีในเด็กทั้งหมดที่สัมภาษณ์อยู่ที่ 13 ปี และทำงานโดยเฉลี่ย 5 วันต่ออาทิตย์ แต่มีเกือบ 10% ที่แจ้งว่าทำงานทั้งอาทิตย์[13]

สหรัฐอเมริกา แก้

ในปี 2544 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียคณะงานสังคมสงเคราะห์ พิมพ์งานศึกษาเรื่อง CSEC ที่ทำในเมือง 17 เมืองทั่วประเทศ แม้ว่าผู้ทำงานจะไม่ได้สัมภาษณ์วัยรุ่นที่เป็นประเด็นการศึกษาโดยตรง แต่นักวิจัยประเมินจากตัวเลขจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ว่า มีเยาวชนอาจถึง 300,000 คนที่เสี่ยงต่อการถูกฉวยผลประโยชน์ทางเพศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง[16] แต่ว่า จำนวนจริง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีน่าจะน้อยกว่านั้นมาก เพราะว่า ภายใน 10 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความเพียงแค่ 827 คดีเท่านั้น[17] ส่วนงานวิจัยปี 2551 ขององค์กร SNRG-NYC ที่ให้ทุนโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้วิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการวิเคราะห์เครือข่ายสังคม ประเมินความแพร่หลายของปัญหาว่าน้อยกว่า 300,000 คนและมากกว่า 827 คนซึ่งเป็นตัวเลขสองตัวที่อ้างอิงกันมากที่สุด[18]

เด็กที่เสี่ยงที่สุดคือเด็กจรจัดและที่หนีจากบ้าน องค์กรของรัฐที่ช่วยเหลือเด็กจรจัดและเด็กหนีจากบ้าน National Runaway Safeline กล่าวในปี 2552 ว่า เยาวชนที่หนีออกจากบ้านในสหรัฐ 1 ใน 3 จะถูกหลอกให้เข้าสู่อาชีพค้าประเวณีภายใน 48 ชม. ที่ออกจากบ้าน[19] มีงานศึกษาที่คัดค้านมุมมองทั่วไปว่า แมงดา-ผู้ฉวยประโยชน์และบุคคลที่ขายเด็กเพื่อเซ็กซ์อื่น ๆ เป็นตัวขับเคลื่อนการค้าประเวณีของวัยรุ่นในสหรัฐ คืองานปี 2551 ในนครนิวยอร์กที่สัมภาษณ์หญิงโสเภณีที่ยังเป็นผู้เยาว์พบว่า 10% เท่านั้นที่แจ้งว่าตนมีแมงดา ส่วนงานปี 2555 ในเมืองแอตแลนติกซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ โดยกลุ่มเดียวกัน[20][21] พบว่า วันรุ่นที่มีแมงดาอยู่ที่อัตรา 14% เพียงเท่านั้น และเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนอาศัยกันและกัน และมีความเป็นเพื่อนกัน มากกว่าที่รายงานโดยเจ้าหน้าที่บริการทางสังคม องค์การไม่แสวงหาผลกำไร และสื่อมวลชนโดยมาก[22]

ส่วนสำนักงานบริการเด็กและครอบครัวของรัฐนิวยอร์กประเมินในปี 2550 ว่า นครนิวยอร์กมีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศกว่า 2,000 คน และเด็กเช่นนั้นทั่วรัฐ 85% เคยติดต่อกับระบบสวัสดิการของเด็ก โดยมากผ่านกระบวนการยุติธรรมเรื่องถูกทารุณกรรมหรือถูกละเลย ในนครนิวยอร์ก เด็กเหล่านี้ 75% เคยอยู่ใต้การดูแลของครอบครัวที่รับเลี้ยงดูเด็ก (foster care)[23] แต่ว่า มีเจ้าหน้าที่ดูแลความยุติธรรมที่ให้กับเด็ก ตั้งความสงสัยกับค่าประเมินนี้ว่า "พวกเราเชื่อว่า ตัวเลขนี้ต่ำกว่าความจริง"[24] ซึ่งยืนยันโดยองค์กร SNRG-NYC ที่แจ้งว่าจำนวนเด็กเช่นนั้นในนครนิวยอร์กปี 2551 อยู่ที่ 3,946 คน มีผู้ช่วยเหลือเด็กหญิงจากการค้าเซ็กซ์คนหนึ่งกล่าวว่า อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มค้าประเวณีอยู่ที่ 12 ขวบในรัฐนิวยอร์ก โดยผู้ทำการเชื่อว่า "ชายหลายคนที่ซื้อเซ็กซ์จากเด็กไม่คิดว่าตนเป็นพวกคนใคร่เด็ก พวกเขาไม่ใช่ไปเที่ยวเสาะหาวัยรุ่นอายุวัย 12 เพียงแต่ว่า พวกเขาไม่สนใจ (ว่าเป็นเด็กอายุเพียงแค่ 12)"[ต้องการอ้างอิง] แต่ว่า งานของ SNRG-NYC ก็คัดค้านอายุเฉลี่ยนี้เหมือนกัน คือ งานพบว่า จากโสเภณีไม่ถึงอายุ 249 คน (48% เด็กหญิง และ 45% เด็กชาย) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตีพิมพ์ผลงาน อายุเฉลี่ยในการเริ่มค้าประเวณีอยู่ที่ 15.29 ปี

มีผู้เชี่ยวชาญที่แสดงในปี 2553 ว่า ปัจจุบันมีเหยื่อเด็กอย่างน้อย 100,000 คน ในเรื่องการค้าเด็กในสหรัฐ แต่ว่า มีถึง 325,000 คนที่มีโอกาสเสี่ยง[25]

เขตเอเชียและแปซิฟิก แก้

งานสำรวจต่าง ๆ ในอดีตพบว่า 30-35% ของโสเภณีในเขตลุ่มแม่น้ำโขงอยู่ในวัย 12-17 ปี[26]

ประเทศบังกลาเทศ แก้

ในประเทศบังกลาเทศ เด็กโสเภณีใช้ยา Dexamethasone ซึ่งเป็นสเตอรอยด์ที่ขายได้โดยหมอไม่ต้องสั่งจ่าย และปกติใช้โดยเกษตรกรเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของปศุสัตว์ เพื่อที่จะให้เด็กตัวโตและดูแก่กว่าอายุ องค์กรการกุศลกล่าวว่า ในซ่องที่ถูกกฎหมาย หญิงโสเภณีจะใช้ยานี้ถึง 90% ซึ่งอาจมีผลให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และให้ติดยา[27][28][29]

ประเทศเนปาล แก้

มีเด็กเนปาลโดยมากเพศหญิงถูกลักลอบพาตัวไปเพื่อฉวยประโยชน์การค้าทางเพศแต่ละปีภายในประเทศ หรือไปยังซ่องในประเทศอินเดียหรือประเทศอื่น ๆ ประมาณ 12,000 คนต่อปี[13]

ประเทศฟิลิปปินส์ แก้

UNICEF ประมาณว่า มีโสเภณีเด็ก 60,000 คน และซ่องเมืองแอนเจลิสซิตี้ที่อื้อฉาว มีเด็กให้บริการทางเพศ[30]

ประเทศศรีลังกา แก้

ในประเทศศรีลังกา เด็กบ่อยครั้งตกเป็นเหยื่อของการฉวยผลประโยชน์ผ่านเพื่อนหรือญาติ ความแพร่หลายของเด็กชายในการค้าประเวณี สัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวต่างประเทศในระดับสูง[13]

ประเทศไทย แก้

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส) ในประเทศไทยรายงานว่า มีเด็ก 40% ในบรรดาโสเภณีที่มีอยู่ในประเทศ[31]

ประเทศเวียดนาม แก้

ในประเทศเวียดนาม ความยากจน ความไร้การศึกษา และครอบครัวที่ไม่อบอุ่น เป็นเหตุหลักของ CSEC ในบรรดาเด็กี่ให้สัมภาษณ์ 16% อ่านหนังสือไม่ได้ 38% มีการศึกษาระดับประถมเท่านั้น 66% กล่าวว่า ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมที่โรงเรียนเกินความสามารถการส่งของครอบครัว[13]

องค์การนอกภาครัฐ แก้

ECPAT แก้

ECPAT ย่อความหมายจากคำคือ End Child Prostitution, Child Pornography and Trafficking of Children for Sexual Purposes (หยุดการค้าประเวณีเด็ก สื่อลามกเด็ก และการค้าเด็กเพื่อเซ็กซ์) เป็นองค์การนอกภาครัฐที่อุทิศตนในการหยุด CSEC ที่ปรากฏโดย 4 รูปแบบคือ สื่อลามกเด็ก (คือสื่อทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก) การฉวยประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณี การลักลอบพาเด็กเพื่อการค้าทางเพศ และการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กในการเดินทางและเซ็กซ์ทัวร์ โดยงานชิ้นแรกเป็นบทบาทในงานประชุมโลกใหญ่ต้านการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก (Declaration of the First World Congress against Commercial Sexual Exploitation of Children) ดังที่รัฐบาลประเทศสวีเดนได้เป็นเจ้าภาพ และสภาก็ได้ออกระเบียบการปฏิบัติการซึ่งอยู่ในกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก (Convention on the Rights of the Child ตัวย่อ CRC)[32]

นอกจากนั้นแล้ว ECPAT ยังได้ช่วยให้ทุนกับองค์การนอกภาครัฐอื่น ๆ เพื่อตั้งโปรแกรมป้องกันในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโล[33] และตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับสถานะของการฉวยผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก[34]

ECPAT เปิดโอกาสหลายอย่างให้ร่วมมือกับองค์กร คือสนับสนุนให้คนทั่วโลกบริจาคหรือรณรงค์หาเงิน เพื่อเพิ่มทุนในการช่วยชีวิตเด็กและในการทำงานวิจัยเพิ่ม เว็บเพจขององค์กร มีที่ที่จะแจ้งการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก ส่วนสำหรับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก องค์กรสนับสนุนให้จองบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินทางกับบริษัทที่ยอมรับ “จรรยาบรรณเพื่อป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์ทางเพศในการเดินทางและการท่องเที่ยว (Code of Conduct for the protection of children from sexual exploitation in travel and tourism)[35] ธุรกิจและองค์กรบางอย่างอาจร่วมเป็นสมาชิกของ ECPAT ได้ ซึ่งจะช่วยการดำเนินงานขององค์กรต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็ก ที่สำคัญที่สุดก็คือ องค์กรสนับสนุนให้ทุกคนตาดูหูฟังในประเด็นปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้[35]

World Vision แก้

 
ทีมทำงานของ Chicago World Vision

World Vision เป็นองค์กรนอกภาครัฐอีกองค์กรหนึ่งที่มีผลงานหลายด้าน เช่นช่วยเผยแพร่เหตุว่าทำไมจึงต้องมีการป้องกันเด็ก และให้การศึกษาเด็กที่เป็นเป้าหมายในการค้าเด็ก โดยบอกเด็กถึงอุบายต่าง ๆ ที่ใช้ล่อให้ตกเป็นทาสและกลวิธีในการค้าเด็ก World Vision สร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถร่วมมือ รวมทั้งช่วยอุปถัมภ์เด็ก แจ้งให้ผู้แทนราษฎรรู้ถึงปัญหา ทำงานอาสาสมัครในการจัดงานต่าง ๆ ของ World Vision และอื่น ๆ[36]

การทำงานของรัฐ แก้

มีเจ้าหน้าที่ของรัฐมากมายที่ไม่สนใจปัญหาการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็ก และก็มีอีกมากมายที่สนับสนุนมัน ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกามีการฉวยประโยชน์มากที่สุด “ในสงครามเวียดนาม กองทัพสหรัฐได้สร้างศูนย์บันเทิงและพักผ่อนซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล” มีรายงานที่แสดงว่า ศูนย์เหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับโสเภณีและซ่อง “มีการกล่าวหาว่าบุคลากรของกองทัพ มีอัตราสูงกว่าชนพวกอื่น ๆ ในรายชื่อคนใคร่เด็กที่ถูกยึดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในที่ต่าง ๆ[6]

เนื่องจากปัญหาที่พบเช่นในกองทัพสหรัฐ สหประชาชาติได้เริ่มดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเอง พิธีสารที่เลือกได้เกี่ยวกับการขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกอนาจารเด็ก (Optional Protocol on the Sale of Children, Child Prostitution, and Child Pornography) กำหนดหน้าที่ให้รัฐบาลต่าง ๆ รับผิดชอบป้องกันเด็กจากการฉวยผลประโยชน์ทางเพศ และบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ทำการป้องกันโดยเน้นความสำคัญในบริบทของโลกาภิวัตน์[32] มีคู่มือเกี่ยวกับพิธีสารนี้ ที่ร่วมทำกับ UNICEF ซึ่งแสดงว่า “กระบวนการรายงานและตรวจสอบของพิธีสาร ควรจะโปรโหมตทัศนคติระดับโลกเกี่ยวกับการป้องกันเด็ก[32]” คณะกรรมการที่ดำเนินการออกพิธีสาร ได้พยายามที่จะหาข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการฉวยผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กด้วย ในรายงานโลกเกี่ยวกับการค้าบุคคล (Global Report on Trafficking in Persons) ปี 2555 แสดงว่า พิธีสารมีผลให้ประเทศที่ไม่มีกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง และมีการตัดสินลงโทษเพราะละเมิดกฎหมายการค้าเด็กเพิ่มขึ้น[37]

ในปี 2532 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก โดยมาตราที่ 34 กล่าวว่า “รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะดำเนินการป้องกันเด็กจากการฉวยประโยชน์และทารุณกรรมทางเพศทุกรูปแบบ เพื่อจุดประสงค์เช่นนี้ รัฐผู้ร่วมอนุสัญญาจะใช้มาตรการระดับชาติ ทวิภาคี และพหุภาคีทุกอย่างเพื่อป้องกัน ก) การชักชวนหรือการบีบบังคับให้เด็กร่วมกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมาย ข) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการค้าประเวณีหรือข้อปฏิบัติทางเพศอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย ค) การฉวยผลประโยชน์จากเด็กในการแสดงอนาจารและสื่ออนาจาร[33]

การป้องกันผ่านการศึกษา แก้

 
ละครเรื่องความรุนแรงทางเพศต่อเด็กในประเทศบราซิล

วิธีช่วยป้องกันการฉวยประโยชน์จากเด็กอย่างหนึ่งก็คือการให้การศึกษา World Vision เป็นองค์กรแนวหน้าที่ให้การศึกษาแก่เด็กหญิงเกี่ยวกับอันตรายจากการค้าเด็ก และเกี่ยวกับสิ่งที่ตนจะเข้าไปพัวพันด้วยเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้[36] มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่ให้การศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สมาคมการวางแผนครอบครัวของประเทศเนปาลได้ตั้งประชุมการฝึกให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการสถานการณ์การค้าบุคคล และการระบุหญิงและเด็กที่ตกอยู่ใต้สถานการณ์ถูกฉวยประโยชน์ทางเพศ[38] การให้การศึกษาแก่สาธารณชนก็เป็นเรื่องจำเป็นด้วย เพราะว่า การฉวยประโยชน์ทางเพศจากเด็กมีเหตุมาจากความต้องการทางตลาด ดังนั้น "จึงจำเป็นมากที่จะเพิ่มการตระหนักรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสียหายที่มันเป็นเหตุ"[39] มีการเสนอว่าการประท้วงต่อผู้ที่ดำเนินการทำเซ็กซ์ทัวร์อาจช่วยเพิ่มเป็นตัวขัดขวาง[39] มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่ให้การศึกษากับบุคคลที่มีโอกาสเป็นเหยื่อ เกี่ยวกับเล่ห์กลที่นายหน้าผู้ชักชวนมักจะใช้[39] อนุสัญญาที่เพิ่งว่ามา บังคับให้ประเทศผู้ร่วมสัญญาทำมาตรการป้องกันต่อต้านการฉวยประโยชน์จากเด็กทางเพศ มาตรการรวมทั้งการให้การศึกษาแก่สาธารณชน โดยเฉพาะครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับอันตรายของเซ็กซ์ทัวร์และการค้ามนุษย์

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Clift, Stephen; Simon Carter (2000). Tourism and Sex. Cengage Learning EMEA. pp. 75–78. ISBN 1-85567-636-2.
  2. 2.0 2.1 "CSEC and Child Trafficking". Youth Advocate Program International (YAPI.org). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 Gerdes, L ouise I.; Willis, Brian M.; Levy, Barry S. (2006). Prostitution and sex trafficking: opposing viewpoints. Detroit: Greenhaven Press.
  4. U.S. Department of Justice (2007). Commercial sexual exploitation of children: what do we know and what do we do about it? (PDF). U.S. Dept. of Justice, Office of Justice Programs.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Roby 2005
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Campagna & Poffenberger 1988
  7. Campagna & Poffenberger 1988, pp. 116–38
  8. World Vision. "What is Child Sex Tourism?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  9. Campagna & Poffenberger 1988, pp. 140–57
  10. "Victims of Trafficking and Violence Protection Act of 2000". U.S. Department of State. 2000-10-28. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.
  11. Cedeno, Marihug (2012). "PIMPS, JOHNS, AND JUVENILE PROSTITUTES: IS NEW YORK DOING ENOUGH TO COMBAT THE COMMERCIAL SEXUAL EXPLOITATION OF CHILDREN?" (PDF). Cornell Law School. p. 157.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 Bales, Kevin (2004). Hochschild, Arlie; Ehrenreich, Barbara (บ.ก.). Because she looks like a child. Global Woman: Nannies, Maids, and Sex Workers in the New Economy. New York: Henry Holt and Company. pp. 207–229. ISBN 9780805075090. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "Facts on commercial sexual exploitation of children" (PDF). องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-06.
  14. Willis, BM and Levy, BS (2002). "Child prostitution: global health burden, research needs, and interventions". Lancet. 359 (9315): 1417–22. doi:10.1016/S0140-6736(02)08355-1. PMID 11978356.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. "Brazil's sex tourism boom". BBC News. 2010-07-30.
  16. "The Commercial Sexual Exploitation of Children In the U. S., Canada and Mexico (+ Executive Summary of the US National Study)" (PDF). University of Pennsylvania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  17. Kristen Hinman (2011-06-29). "Real Men Get Their Facts Straight - Page 1". Village Voice. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.
  18. Curtis, R; Terry, K; Dank, M; Dombrowski, K; Khan, B; Muslim, A; Labriola, M; Rempel, M (2008-09). "The Commercial Sexual Exploitation of Children in New York City: Volume One: The CSEC Population in New York City: Size, Characteristics, and Needs" (PDF). National Institute of Justice, United States Department of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. "Washington DC a Sexual Playground For Pimps and Johns: Exposing Child Prostitution Rings in DC". Examiner.com. 2009-03-17.
  20. doi:10.1007/s13178-011-0070-1
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  21. "Working Papers". Snrg-nyc.org. 2012-07-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.
  22. doi:10.1177/0002716214521993
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  23. Feldman, Cassi (2007-04-24). "Report Finds 2,000 of State's Children Are Sexually Exploited, Many in New York City". เดอะนิวยอร์กไทมส์. สืบค้นเมื่อ 2010-04-30.
  24. Clyde Haberman (2007-06-12). "The Sexually Exploited Ask for Change: Help, Not Jail". New York Times.
  25. PMID 20408359 (PMID 20408359)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  26. "UNICEF: Protecting Children from Commercial Sexual Exploitation". Pulitzer Center on Crisis Reporting. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  27. "Bangladesh's teenage brothels hold dark steroid secret". reuters.com. 2012-03-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-03-20.
  28. "A new danger for sex workers in Bangladesh". guardian.com. 2010-04-05. สืบค้นเมื่อ 2012-03-20.
  29. "Bangladesh's dark brothel steroid secret". bbcnews.com. 2010-05-30. สืบค้นเมื่อ 2012-03-20.
  30. "Britain to Take Action Against Sex Tourists". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22.
  31. "Trafficking in Minors for Commercial Sexual Exploitation - Thailand" (PDF). UN Interregional Crime and Justice Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-12. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  32. 32.0 32.1 32.2 Pais, Marta Santos (2010). "The Protection of Children from Sexual Exploitation Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography". International Journal Of Children's Rights. 18.4 (4): 551–66.
  33. 33.0 33.1 Munir, Abu Bakar; Yasin, Siti Hajar Bt. Mohd (1997). "Commercial Sexual Exploitation". Child Abuse Review. 6 (2): 147–53.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. "ECPAT releases new Regional Overviews on CSEC". ECPAT International. 2015-02-11.[ลิงก์เสีย]
  35. 35.0 35.1 "Get Involved". ECPAT International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-03-08.
  36. 36.0 36.1 "Sponsor a child and change a child's world for good". World Vision. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  37. "Global Report on Trafficking in Persons 2012" (PDF). United Nations Office on Drugs and Crime. สืบค้นเมื่อ 2016-02-09.
  38. Kaufman, Michelle R; Crawford, Mary (2011). "Sex Trafficking in Nepal: A Review of Intervention and Prevention Programs". Violence Against Women. Sage Journals. 17 (5).{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  39. 39.0 39.1 39.2 "Commercial Sexual Exploitation of Children: What Do We Know and What Do We Do about It?". U.S. Dept. of Justice, Office of Justice Programs. 2007. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้