การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์
การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์ (อังกฤษ: Sinking of Prince of Wales and Repulse) เป็นการสู้รบทางเรือในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของสงครามในแปซิฟิก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในทะเลจีนใต้ใกล้กับชายฝั่งตะวันออกของอาณานิคมมาลายาของอังกฤษ (มาเลเซียในปัจจุบัน) และสเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (สิงคโปร์และเมืองชายฝั่งในปัจจุบัน) 70 ไมล์ (61 ไมล์ทะเล 110 กิโลเมตร) ทางตะวันออกของกวนตัน รัฐปะหัง เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ที่เป็นเรือประจัญบานและเรือหลวงรีพัลส์ที่เป็นเรือลาดตระเวณประจัญบานของราชนาวีถูกจมโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดภาคพื้นดินและเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์บิโดของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ในญี่ปุ่น การสู้รบครั้งนี้ถูกเรียกว่า ยุทธนาวีที่มาลายา (マレー沖海戦, Marē-oki kaisen)
การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ปรินส์ออฟเวลส์ (ซ้าย, ด้านหน้า) และ รีพัลส์ (ซ้าย, ด้านหลัง) หลังจากถูกโจมตีโดยตอร์ปิโดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยมีเรือพิฆาตหลวงเอ็กซ์เพรส ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่เบื้องหน้า | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Sir Tom Phillips † John Leach † William Tennant |
Niichi Nakanishi Shichizo Miyauchi Hachiro Shoji | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
Force Z |
Genzan Air Group Kanoya Air Group Mihoro Air Group | ||||||
กำลัง | |||||||
เรือประจัญบาน 1 ลำ เรือลาดตระเวนประจัญบาน 1 ลำ เรือพิฆาต 4 ลำ |
อากาศยาน 88 ลำ (เครื่องบินตอร์ปิโด 34 ลำ, เครื่องบินทิ้งระเบิดสูง 51 ลำ, เครื่องบินชี้เป้า 3 ลำ) | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เรือประจัญบาน 1 ลำถูกจม เรือลาดตระเวนประจัญบาน 1 ลำถูกจม เสียชีวิต 840 นาย |
อากาศยาน 4 ลำถูกทำลาย อากาศยาน 28 ลำมีความเสียหาย[1] เครื่องบินทะเล 2 ลำสูญหาย เสียชีวิต 18 นาย[2] |
เป้าหมายของกองกำลังแซด ซึ่งประกอบไปด้วยเรือรบประจัญบานหนึ่งลำ เรือลาดตระเวณประจัญบานหนึ่ง และเรือพิฆาต 4 ลำ เพื่อขัดขวางกองเรือรุกรานของญี่ปุ่นในทะเลจีนใต้ทางเหนือของมาลายา กองกำลังปฏิบัติการเฉพาะกิจได้แล่นเรือโดยปราศจากการสนับสนุนทางอากาศ แม้ว่าอังกฤษได้ประจันหน้าอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเรือผิวน้ำหนักของญี่ปุ่น กองกำลังได้ล้มเหลวในการค้นหาและทำลายกลุ่มเรือหลัก เมื่อพวกเขากลับมาถึงสิงคโปร์ พวกเขาถูกโจมตีในน้ำเปิดและจมลงโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์บิโดพิสัยไกล ผู้บัญชาการแห่งกองกำลังแซด พลเรือเอก เซอร์ ทอม ฟิลิป ได้เลือกให้คงวิทยุเงียบและไม่ส่งสัญญาณแจ้งเตือน(โดยรีพัลส์) จนกระทั่งหนึ่งชั่วโมงภายหลังการโจมตีครั้งแรกของญี่ปุ่น
ด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เพียงสองวันก่อนหน้า อีกด้านหนึ่งของเส้นแบ่งเขตวันสากล การสู้รบมาลายันได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการโจมตีทางอากาศต่อทรัพย์สินทางกองทัพเรือที่หนักที่สุด ถ้าพวกเขาไม่ได้รับการคุ้มกันทางอากาศ สิ่งนี้ได้เพิ่มความสำคัญให้กับเรือบรรทุกเครื่องบินสามลำของกองทัพเรือสหรัฐของฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลแปซิฟิก: ยูเอสเอส เอนเทอร์ไพรซ์ เล็กซิงตัน และซาราโตกา การจมของเรือทั้งสองลำได้ทำให้กองเรือตะวันออกของอังกฤษในสิงคโปร์อ่อนแอลงอย่างหนัก และกองเรือญี่ปุ่นได้เข้าต่อสู้รบโดยเรือดำน้ำเท่านั้น จนกระทั่งยุทธนาวีที่เอ็นเดา วันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1942 สิงคโปร์เองได้ตกเป็นของญี่ปุ่นเพียงหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นำไปสู่การยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Order of battle
- Force Z Survivors Association เก็บถาวร 2018-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Personal Reports by Crew
- London Gazette Officers reports เก็บถาวร 5 มกราคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Link to a survey report compiled after Expedition 'Job 74', May 2007 เก็บถาวร 2017-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Description of lower hull indentation damage on wreck of HMS Prince of Wales
- Description of lower stern indentation damage on wreck of HMS Prince of Wales
- 2012 update analysis of the loss of HMS Prince of Wales, by Garzke, Dulin and Denlay