การควบคุมแบบอัลโลสเตอริก

ในทางชีวเคมี การควบคุมแบบอัลโลสเตอริก (อังกฤษ: allosteric regulation หรือ allosteric control) เป็นการควบคุมเอนไซม์ผ่านการติดโมเลกุลเอฟเฟกเตอร์ (effector) บนตำแหน่งอื่นที่นอกเหนือจากตำแหน่งกัมมันต์ (active site)[1] ตำแหน่งที่ซึ่งเอฟเฟกเตอร์เข้าติดนั้นมีชื่อเรียกว่า ตำแหน่งอัลโลสเตอริก (allosteric site) หรือ ตำแหน่งควบคุม (regulatory site) ตำแหน่งอัลโลสเตอริกจะยินยอมให้เอฟเฟกเตอร์สามารเข้ายึดติดกับโปรตีนได้ ซึ่งมักส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโปรตีน (conformational change) ซึ่งรสมถึงพลวัตของโปรตีน (protein dynamics) ด้วย เอฟเฟกเตอร์ที่ช่วยส่งเสริม (enhance) การทำงานของโปรตีนนั้นเรียกว่า ตัวกระตุ้นอัลโลสเตอริก (allosteric activators) ในขณะที่เอฟเฟกเตอร์ที่ลดทอนการทำงานของโปรตีนลงเรียกว่า ตัวยับยั้งอัลโลสเตอริก (allosteric inhibitors)

แผนภาพแสดงการควบคุมแบบอัลโลสเตอริก

การควบคุมแบบอัลโลสเตอริกนั้นเป็นตัวอย่างในธรรมชาติของวงจรการควบคุม (control loops) เช่น การฟีดแบ็คในชีววิทยา (feedback) จากผลิตภัณฑ์ท้าย ๆ (downstream products) หรือการ ฟีดฟอร์เวิร์ด (feedforward) จากสารตั้งต้นแรก ๆ (upstream substrates) อัลโลสตอรีระยะไกล (Long-range allostery) นั้นจำเป็นยิ่งยวดในการส่งสัญญาณเซลล์[2]

คำว่าอัลโลสเตอรี (allostery: รูปนามของอัลโลสเตอริก allosteric) นั้นมากจากภาษากรีก allos (ἄλλος), "อื่น" รวมกับ stereos (στερεὀς), "ของแข็ง (วัตถุ)"

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Srinivasan B, Forouhar F, Shukla A, Sampangi C, Kulkarni S, Abashidze M, Seetharaman J, Lew S, Mao L, Acton TB, Xiao R, Everett JK, Montelione GT, Tong L, Balaram H (March 2014). "Allosteric regulation and substrate activation in cytosolic nucleotidase II from Legionella pneumophila". The FEBS Journal. 281 (6): 1613–1628. doi:10.1111/febs.12727. PMC 3982195. PMID 24456211.
  2. Bu Z, Callaway DJ (2011). "Proteins move! Protein dynamics and long-range allostery in cell signaling". Protein Structure and Diseases. Advances in Protein Chemistry and Structural Biology. Vol. 83. pp. 163–221. doi:10.1016/B978-0-12-381262-9.00005-7. ISBN 9780123812629. PMID 21570668.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้