การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 377,930 ตารางกิโลเมตร นับได้ว่าเป็นอันดับที่ 61 ของโลก ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) และยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่ผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสามของโลกในปี พ.ศ. 2553 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและถือว่าเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำ ที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี ญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี ประชากรอายุยืนที่สุดในโลก

ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น แก้

โครงสร้างอำนาจรัฐ (สถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย) ของประเทศญี่ปุ่น [1] แก้

  • ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกับประเทศไทย ใช้รูปแบบรัฐเดี่ยว (Unitary state) ยึดหลักการแยกอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการออกจากกัน
  • อำนาจบริหาร กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ คือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งจัดขึ้นโดยนายกรัฐมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร เสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณและร่างพระราชบัญญัติอื่นๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศต่อสภาไดเอท รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลกระทรวงต่างๆทั้ง 12 กระทรวง
  • อำนาจตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกาและศาลล่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นศาลภาค มีทั้งหมด 8 แห่ง ศาลจังหวัด 50 แห่ง ศาลแขวง 575 แห่ง และศาลครอบครัว การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และการพิจารณาคดีตามกฎหมายอื่นๆเป็นหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของอธิบดีกรมอัยการ
  • อำนาจนิติบัญญัติ สภาที่ทำหน้าที่บัญญัติกฎหมายของประเทศคือ สภาไดเอ็ท ( The National Diet ) ซึ่งเป็นสภาสูงสุดในการบริหารประเทศ และทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนชาวญี่ปุ่นทั้งหมด
  • อำนาจหลักของสภาไดเอ็ท คือการออกเสียงลงคะแนนร่างพระราชบัญญัติต่าง ๆ มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หรือลงคะแนนไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี บุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศคือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งจัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศ ต่อสภาไดเอ็ท รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชา และควบคุมดูแลกระทรวงต่าง ๆ ทั้ง 12 กระทรวง ส่วนราชการฝ่ายตุลาการประกอบด้วย ศาลฎีกา และศาลล่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นศาลภาค มีทั้งหมด 8 แห่ง , ศาลจังหวัด มีทั้งหมด 50 แห่ง , ศาลแขวง มีทั้งหมด 575 แห่งและศาลครอบครัว การดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน และการพิจารณาคดีตามกฎหมายอื่น ๆ เป็นหน้าที่ของข้าราชการอัยการ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของอธิบดีกรมอัยการ

รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น และหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น แก้

หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น แก้

 
กระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่น

กระทรวงการคลัง (Ministry Finance Japan) มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น สังกัดคณะรัฐมนตรี เป็นศูนย์รวมอำนาจด้านการเงิน มีอำนาจทั้งการจัดทำงบประมาณ งบการเงินและการบัญชีกองทุนปรับงบดุล และได้รับการอนุมัติงบประมาณของแต่ละกระทรวงและการรับรองหน่วยงานเจ้าหน้าที่ในความดูแลของใบเสร็จรับเงินและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบเกี่ยวกับการกำกับดูแลการดำเนินการงบประมาณของพนักงานหน่วยงานภาครัฐและการเก็บรวบรวมงบประมาณสำหรับการทำบัญชี การเก็บภาษีการจัดการด้านทรัพย์สินของรัฐบาล มีการใช้ระบบนอกงบประมาณที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 2-3 เท่า ปีงบประมารเริ่มต้น 1 เมษายนของทุกปี รับผิดชอบทั้งการบริหารเงินอย่างถูกต้องในการจัดการสกุลเงินและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภารกิจคือการให้ความมั่นใจในเสถียรภาพของจัดตั้งแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เกิดการจัดเก็บภาษีของความยุติธรรมและเหมาะสมการบริหารจัดการที่เหมาะสมของภาษีศุลกากร, การจัดการที่เหมาะสมของการบริหารเงินของชาติและการบำรุงรักษาความเชื่อมั่นในสกุลเงิน งบประมาณและการบัญชีการเงินของประเทศ สกุลเงิน ภาษีพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น, การลงทุนทางการเงินจากอัตราแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของรัฐ

หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น แก้

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan)

 
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ - Bank of Japan)

มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นสถาบันที่ทันสมัยที่สุด ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นหลังจากมีการฟื้นฟูในสมัย “เมจิ (Meiji) ” ก่อนที่จะมีการบูรณะระบบศักดินาของญี่ปุ่น หัวเมืองทั้งหมดมีการออกเงินของตัวเองมาใช้ “ฮันซัสสุ” ในลำดับของหน่วยที่เข้ากันไม่ได้ แต่พระราชบัญญัติเงินตราใหม่ของเมจิ 4 (1871) ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ และยังเป็นที่ยอมรับให้เป็นสกุลเงินทศนิยมใหม่ อดีตหัวเมืองกลายเป็นจังหวัด และโรงกษาปณ์ของพวกเขากลายเป็นธนาคารเอกชนแบบเช่าเหมา (ธนาคารชาร์เตอร์) ซึ่งในช่วงแรกยังคงสิทธิ์ในการพิมพ์เงิน เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งรัฐบาลกลางและคนเหล่านี้เรียกว่า ธนาคารออกเงินแห่งชาติ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีเมจิที่ 15 (1828) และได้รับการผูกขาดในการควบคุมปริมาณเงิน

จัดตั้งขึ้นเพื่อขจัดภาวะเงินฝืดให้หมดสิ้นไป และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นควบคุมนโยบายการเงิน ประโยชน์ของเสถียรภาพด้านราคาที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับหน้าที่ในการตัดสินใจดูแลนโยบายการเงินถูกนำมาเป็นทั้งราคาของสินค้าและบริการที่เราจะได้ราคาที่มีเสถียรภาพ มีผลต่อการก่อตัวของความสนใจในตลาดการเงินที่เป็นสกุลเงินและการควบคุมทางการเงินและมีความเชื่อมั่นจากการใช้เงินเป็นรากฐานของเศรษฐกิจของประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดตามกฎบัตรภารกิจของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นคือ

  • การออกและการจัดการธนบัตร
  • การดำเนินงานของนโยบายการเงิน
  • การบริการจัดการทางการเงินและการสร้างเสถียรภาพของระบบการเงิน
  • การคลัง และการดำเนินงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
  • กิจกรรมนานาชาติ
  • การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและกิจกรรมด้านการวิจัย

โครงสร้างระบบภาษีประเทศญี่ปุ่น แก้

 
ตารางการแบ่งประเภทภาษีประเทศญี่ปุ่น

การจัดเก็บภาษีในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีประเทศหรือเงินภาษีที่ชำระให้กับประเทศ ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง เช่น ภาษีจากรายได้ ภาษีบริโภค เป็นต้น และภาษีท้องถิ่นหรือเงินภาษีที่ชำระให้กับจังหวัดหรือเทศบาล ซึ่งจะจัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ภาษีบุคคล ภาษีสิ่งก่อสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ชำระให้กับประเทศและภาษีท้องที่สามารถแบ่งออกได้เป็นภาษีโดยตรงและภาษีโดยอ้อม ภาษีโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีนิติบุคคล ภาษีพักอาศัย ภาษีรถยนต์ เป็นต้น ภาษีโดยอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสุรา เป็นต้น


ภาษีประเทศ[2] แก้

คือ ภาษีที่จะต้องชำระให้กับประเทศเรียกว่า ภาษีประเทศ ซึ่งจะประกอบด้วย ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้ คือ ภาษีเงินได้คือภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากเงินได้ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนมกราคม จนถึงวันที่ 31ธันวาคม ของปีนั้นๆ และจะต้องยื่น แบบแสดงเงินได้ภายในวันที่ 16กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 15 มีนาคม ในปีนั้นๆ ถ้าเป็นชาวต่างชาติขอบเขตและอัตราการชำระภาษีจะมีความแตกต่างกันระหว่างผู้พักอาศัยในญี่ปุ่นและผู้ที่ไม่ได้พักอาศัยในญี่ปุ่น

ผู้พักอาศัยในญี่ปุ่นและผู้ที่ไม่ได้พักอาศัยในญี่ปุ่น

ผู้พักอาศัยในญี่ปุ่น คือ ผู้ที่มีที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น หรือบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากกว่า1ปี ตามกฎหมายแล้วจะต้องชำระภาษีอัตราเดียวกับพลเมืองชาวญี่ปุ่น ตามรายได้ที่ได้รับ ผู้ไม่ได้พักอาศัยในญี่ปุ่น คือ บุคคลที่นอกเหนือจากบุคคลที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นหรือเรียกว่าไม่ได้อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ในกรณีของผู้ไม่ได้อาศัยในญี่ปุ่นตามกฎหมายแล้วต้องชำระภาษี 20%ของรายได้ที่ได้รับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ของประเทศญี่ปุ่น [3]

รายได้ตั้งแต่ 1,000-1,949,000 เยน อัตราภาษี 5% จำนวนเงินลดหย่อน 0 เยน
รายได้ตั้งแต่ 1,950,000-3,299,000 เยน อัตราภาษี 10% จำนวนเงินลดหย่อน 97,500 เยน
รายได้ตั้งแต่ 3,300,000-6,949,000 เยน อัตราภาษี 20% จำนวนเงินลดหย่อน 427,500 เยน
รายได้ตั้งแต่ 6,950,000-8,999,000 เยน อัตราภาษี 23% จำนวนเงินลดหย่อน 636,000 เยน
รายได้ตั้งแต่ 9,000,000-17,999,000 เยน อัตราภาษี 33% จำนวนเงินลดหย่อน 1,536,000 เยน
รายได้ มากกว่า 18,000,000 เยน อัตราภาษี 40% จำนวนเงินลดหย่อน 2,796,000 เยน

หมายเหตุ: เงินลดหย่อน ได้แก่ เงินค่าประกันชีวิต เงินค่าประกันสุขภาพ เงินค่าบำนาญ เป็นต้น

วิธีการชำระภาษี (แบบแสดงภาษีเงินได้และภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

บุคคลที่ต้องชำระภาษี คือ ผู้ที่ทำการค้าขาย ซึ่งจะต้องคำนวณรายละเอียดต่างๆ เช่น ยอดรายรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แล้วนำไปยื่นแสดงต่อสรรพากรโดยตรง เอกสารนี้เรียกว่า แบบแสดงภาษีเงินได้ในกรณีของบุคคลซึ่งเป็นพนักงานบริษัทที่ได้รับเงินเดือนและโบนัสจากบริษัท ไม่ต้องยื่นแบบแสดงเงินได้ บริษัทจะทำการหักภาษีจากรายเงินเดือนชำระให้กับสรรพากรทุกเดือนโดยอัตโนมัติ ถือว่าได้ชำระเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

แบบแสดงภาษีเงินได้

แบบแสดงภาษีเงินได้ คือ บุคคลที่ประกอบธุรกิจ เกษตรกรรม หรือ กิจการส่วนตัว จะต้องคำนวณภาษีเงินได้จากยอดรวมของรายได้ใน 1 ปีที่ได้รับระหว่างวันที่ 1มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ในปีก่อน และต้องยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ให้กับสรรพากร แต่สำหรับผู้รับเงินเดือนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องยื่นแต่สำหรับผู้รับเงินเดือนในกรณีดังต่อไปนี้ร้องยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ให้กับสรรพากร

  • กรณีที่มีรายได้ต่อปีเกินกว่า 20 ล้านเยน
  • กรณีที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 2 แห่งขึ้นไป

นอกจากนี้อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แบบแสดงภาษีเงินได้ในกรณีที่มีการต่อเวลาพำนักในประเทศญี่ปุ่นหรือเปลี่ยนสถานะการพำนัก ดังนั้นจึงควรเก็บไว้เป็นอย่างดี ในกรณีที่คุณมีผู้อยู่ในความอุปถัมภ์ในประเทศของตนเอง จะสามารถได้รับการหักลดหย่อนภาษีสำหรับผู้อยู่ในความอุปถัมภ์ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีรายได้จากการทำงานแต่ไม่ได้รับการหักลดหย่อนภาษีผู้อยู่ในความอุปถัมภ์ ควรยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเงินได้ส่วนเกิน

เอกสารจำเป็นสำหรับการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้

การชำระแบบพิเศษ บริษัทหรือสถานประกอบการของผู้รับเงินเดือนดึงเงินภาษีออกมาจากเงินเดือนด้วยวิธีการหักออกจากเงินเดือน (หัก ณ ที่จ่าย) รวบรวมเงินและดำเนินการชำระเงินภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
การชำระแบบปกติ ผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัว,เกษตรกรรม,กิจการส่วนตัว เป็นต้น แบ่งการชำระเป็น 4 ครั้งต่อปีโดยใช้เอกสารแจ้งการชำระภาษีที่ส่งมาจากสำนักงานเทศบาลในเดือนมิถุนายน ชำระเงินได้ที่ธนาคาร หรือ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้าน นอกจากนี้สามารถจ่ายโดยการหักจากบัญชี (จ่ายอัตโนมัติ) ของไปรษณีย์ หรือ ธนาคาร
 
ตัวอย่าง ภ.ง.ด.91A รายงานที่หนึ่ง
 
ตัวอย่าง ภ.ง.ด. 91 A รายงานที่สอง

การหักภาษี ณ ที่จ่าย และใบรับรองการหักภาษีเงินได้

การหักภาษี ณ ที่จ่าย หมายถึง เงินที่บริษัทหักจากเงินเดือนพนักงานได้รับและจ่ายให้แก่ประเทศ เอกสารรับรองการหักภาษีเงินได้ หมายถึง เอกสารที่ระบุยอดรวมของรายได้ หรือยอดรวมการหักภาษีเงินได้ที่ได้จ่ายภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม ผ่านบริษัทที่บุคคลนั้นทำงานอยู่ บริษัทจะมอบเอกสารนี้ให้โดยตรงในเดือนมกราคมของปีถัดไป เอกสารรับรองการหักภาษีเงินได้เป็นเอกสารสำคัญที่รับรองรายได้ของท่าน ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ให้ดี

ใบรับรองการหักภาษีของเงินได้

 
ใบรับรองการหักภาษีของเงินได้

การปรับสิ้นปี

การปรับสิ้นปี คือ ยอดภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากยอดรวมของรายได้ในระยะเวลา 1 ปี กับยอดภาษีเงินได้ที่หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือน ไม่เท่ากันถือเป็นเรื่องปกติ เวลาจ่ายเงินเดือนครั้งสุดท้ายของปีนั้นๆจะมีกระบวนการคำนวณภาษีส่วนที่ขาดและเกิน เรียกว่า การปรับสิ้นปี บริษัทที่ท่านทำงานอยู่เป็นผู้ดำเนินการ

กรณีที่สมัครเข้าประกันตนในระบบประกัน คลอดบุตรก่อนวันที่ 31 ธันวาคม หลังจากทำการปรับสิ้นปีแล้ว สามารถดำเนินการปรับยอดสิ้นปีได้อีกครั้ง การคืนภาษี

บุคคลที่มีรายได้ใน 1 ปีน้อยเท่ากับเงินที่ได้จากการทำงานพิเศษ, มีเด็กเกิดใหม่ จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่จะต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น หรือจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนมาก เป็นต้น แม้กระทั่งผู้ที่มีเงินเดือน เมื่อยื่นแบบแสดงให้กับสรรพากรสามารถขอรับภาษีส่วนหนึ่งคืนย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปีได้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

อัตราภาษีประเภทบริษัท

เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้น้อยกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 22%
เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้มากกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 30%
เงินลงทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน รายได้ไม่กำหนด อัตราภาษี 30%

อัตราภาษีในการทำธุรกิจ (Local Business Tax)

เงินทุนน้อยกว่า 100 ล้านเยน หรือรายได้น้อยกว่า 2,500,000 เยน
รายได้น้อยกว่า 4 ล้านเยน อัตราภาษี 5%
รายได้ระหว่างมากกว่า 4 ล้านเยน แต่น้อยกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 7.3%
รายได้มากกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 9.6% เงินทุนมากกว่า 100 ล้านเยน หรือรายได้มากกว่า 2,500,000 เยน (บทความนี้มาจาก eThaiTrade.com)
รายได้น้อยกว่า 4 ล้านเยน อัตราภาษี 5%
รายได้ระหว่างมากกว่า 4 ล้านเยน แต่น้อยกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 7.3%
รายได้มากกว่า 8 ล้านเยน อัตราภาษี 9.6%

ภาษีมรดก [4]

เริ่มจัดเก็บภาษีมรดกปี 2485 โดยเป็นการจัดเก็บภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) โดยมีโครงสร้างการจัดเก็บดังนี้

ผู้เสียภาษี ได้แก่ ผู้ที่ได้รับมรดกซึ่งอาศัยในญี่ปุ่นหรืออยู่ในต่างประเทศ แต่ได้รับมรดกซึ่งอยู่ในญี่ปุ่น

ฐานภาษี ได้แก่ ราคาตลาดของทรัพย์สินมรดก รวมทั้งทรัพย์สินที่ได้รับภายใน 3 ปี ก่อนเจ้ามรดกตาย โดยนำมาหักค่าใช้จ่าย ได้แก่ หนี้สิน ค้าใช้จ่ายในการจัดงานศพ และค่าลดหย่อนตามกำหนด

ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีมรดก มีดังนี้

1.ทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับศาสนา การกุศล วิทยาศาสตร์ หรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
2.เงินที่จ่ายเพื่อช่วยเหลือคนพิการ
3.เงินที่ได้รับจากการประกันชีวิต
4.เงินบำเหน็จบำนาญ

อัตราภาษี เป็นอัตราก้าวหน้าตามมูลค่ามรดกที่ได้รับอัตราตั้งแต่ 10% ถึง 70%

การยื่นแบบฯ และการชำระภาษี

ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมรดกยื่นแบบแสดงรายการภายใน 6 เดือน นับแต่วันได้รับมรดก ส่วนการชำระภาษีให้ชำระในวันที่ยื่นแบบ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ เงินสำหรับค่าบริการหรือสินค้าทั้งหมด เช่น ซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เกต อัตราของภาษีคือ 5% (เดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 )

มูลค่าติดแสดง (ราคา) ของญี่ปุ่น คือราคารวมภาษีโดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการแต่ธุรกรรมดังต่อไปนี้ไม่ได้รวมภาษีเอาไว้

- ค่าเช่าบ้าน
- ค่าบริการของรัฐ
- บริการประกันการดูแลยามชรา,โครงการสวัสดิการสังคม เป็นต้น
- ค่าเล่าเรียนที่แน่นอนของโรงเรียน,ค่าเข้าเรียน,ค่าสอบเข้าเรียน,ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น

ภาษีศุลกากร (Tariffs)

ภาษีศุลกากรเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่นำเข้า โดยใช้มูลค่าการนำเข้า (ได้แก่ ราคาของสินค้า +เบี้ยประกัน+ค่าขนส่ง) หรือจำนวนของสินค้าเป็นเกณฑ์การคำนวณ

การพิจารณาอัตราภาษี
1.อัตราภาษีศุลกากรอาจแตกต่างกันได้ตามประเทศที่นำเข้า โดยทั่วไป อัตราภาษีศุลกากรจะต่ำเมื่อนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา
2.อัตราภาษีศุลกากรอาจเป็นแบบอัตราก้าวหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เรียกว่า ระบบแบ่งสัดส่วนภาษี

กล่าวคือ อัตราภาษีขั้นที1 (Primary tariff rate) จะใช้สำหรับปริมาณการนำเข้าที่กำหนด แต่หากมีปริมาณการนำเข้ามากกว่านั้น อัตราภาษีขั้นที่สอง (Secondary Tariff rate) ซึ่งสูงกว่าแบบแรกจะถูกนำมาใช้ อนึ่ง หากต้องการใช้อัตราภาษีขั้นที่1จะต้องยื่นคำร้องเพื่อขอแบ่งสัดส่วนอัตราภาษี

3.อัตราภาษีศุลกากรอาจแตกต่างกันในกรณีของการบรรจุแยกชิ้นหรือการขนส่งแบบ bulk เช่นใบชา
4.อัตราภาษีศุลกากรอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ เช่น มีน้ำตาลสมอยู่หรือไม่
5.อัตราภาษีที่จัดเก็บอาจแตกต่างกันได้ในช่วงเวลาต่างๆของปี เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล กล้วยหอม ส้ม ฯลฯ

ภาษีสุรา (Liquor Tax)

สินค้าประเภทสุราที่มีกำหนดไว้ในกฎหมายภาษีสุรา จะถูกจัดเก็บภาษีตามปริมาณการนำเข้าโดยแยกตามประเภทของสุรานั้น

ภาษีผู้บริโภค (Consumption Tax)

ภาษีผู้บริโภคจะถูกจัดเก็บอีกร้อยละ 5 ของผลรวมของมูลค่าการนำเข้าและภาษีศุลกากร (หรือ ภาษีสุราในบางกรณี) อนึ่งไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าเพื่อการค้าหรือนำเข้าส่วนตัวถ้ามูลค่าของสินค้าไม่เกิน 10,000 เยนจะได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งภาษีศุลกากรและภาษีผู้บริโภค ส่วนสุราถ้าไม่เกิน10,000 เยน จะได้รับการยกเว้นเฉพาะภาษีศุลกากรและภาษีผู้บริโภค แต่ยังคงเรียกเก็บภาษีสุรา

ภาษีท้องถิ่น (Local Taxes) แก้

สามารถที่จะแยกพิจารณาได้ออกเป็น 2 ระดับ คือ ภาษีของจังหวัด (Prefecture) และ ภาษีของเทศบาล (Municipality)

การจัดเก็บภาษีท้องถิ่นในระดับจังหวัด (Prefectural Taxes)

1. ภาษีเพื่อการอยู่อาศัย (Prefectural Inhabitants Tax) เป็นภาษีที่มีการเริ่มจัดเก็บมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 เพื่อเป็นการทดแทนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่มีความสำคัญต่อองค์กรปกครองท้องถิ่น สัดส่วนของภาษีที่อยู่อาศัยมีอัตราสูงถึงประมาณร้อยละ 30 ของภาษีท้องถิ่นทั้งหมดทุกประเภท การจัดเก็บภาษีเพื่อการอยู่อาศัยจะแยกเป็น 2กลุ่ม กลุ่มแรก จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัด และกลุ่มที่สอง ภาษีเพื่อการอยู่อาศัยจะจัดเก็บจากนิติบุคคลที่สำนักงานตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัด จะพบว่าภาษีเพื่อการอยู่อาศัยที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดามีสัดส่วนร้อยละ 74 และจัดเก็บจากนิติบุคคลมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 26

2. ภาษีการค้า (Enterprise Tax) มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 26.6 ของรายได้จากภาษีของจังหวัด ภาษีประเภทนี้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากทั้งนิติบุคคลที่ได้มีการตั้งสำนักงานอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ และบุคคลธรรมดาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือประกอบอาชีพตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีการค้ากับนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการทำป่าไม้และการทำเหมืองแร่ รวมทั้งให้มีการงดเว้นภาษีการค้าแก่บุคคลธรรมดาที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและการประมง ถ้ากิจการของบุคคลธรรมดาอาศัยเพียงแรงงานภายในครัวเรือนของตนเองเท่านั้น

สำหรับอัตราการจัดเก็บภาษีการค้านั้น สามารถที่จะแยกพิจารณาออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และภาษีที่จัดเก็บจากนิติบุคคล โดยในรายละเอียดแล้วสามารถ แยกพิจารณาได้ ดังนี้คือ

การกำหนดการเก็บภาษีธุรกิจบุคคลธรรมดา

การคำนวณเงินที่บุคคลนั้นจำเป็นจะต้องเสียภาษีธุรกิจให้แก่ท้องถิ่นนั้น มากจากการ หักลบ รายจ่ายที่จำเป็นออกจากรายรับซึ่งแบ่งแยกตามประเภทของการประกอบธุรกิจของบุคคลเหล่านั้น

บุคคลที่ประกอบธุรกิจประเภทที่ 1 ได้แก่ บุคคลที่ประกอบธุรกิจขายส่ง การเงิน สิ่งพิมพ์ ห้องถ่ายภาพโรงแรม และร้านอาหาร ฯลฯ ต้องเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5
บุคคลที่ประกอบธุรกิจประเภทที่ 2 ได้แก่ บุคคลที่ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และประมง ฯลฯ ต้องเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 4
บุคคลที่ประกอบธุรกิจประเภทที่ 3 ได้แก่ บุคคลที่ประกอบธุรกิจความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ต้องเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5 และบุคคลที่ประกอบอาชีพประเภทหมอนวด หมอตำแย จะต้องเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 3

อย่างไรก็ตาม หากจังหวัดมีความต้องการหรือปัญหาทางด้านการคลัง จังหวัดอาจสามารถเพิ่มอัตราภาษีได้อีกไม่เกิน 1.1 เท่าของอัตราภาษีปกติ

3. ภาษีการบริโภคของท้องถิ่น (Local Consumption Tax) เป็นภาษีที่ใช้ทดแทนภาษีการบริโภคที่ได้รับการถ่ายโอน (Consumption Transfer Tax) จะมีการจัดเก็บจากการเคลื่อนย้ายทุน และสินทรัพย์ต่าง ๆ ระหว่างพื้นที่ ของบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังอาจรวมไปถึงการนำเข้าทุนหรือสินทรัพย์บางประเภทจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิตอีกด้วย โดยภาษีการบริโภคของท้องถิ่นนี้ จะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าทุนและสินทรัพย์

4. ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Real Property Acquisition Tax) เป็นการกำหนดเก็บภาษีกับผู้ถือครองที่ดิน (Land) หรือบ้าน (Houses) ซึ่งสิทธิครอบครองนี้ไม่รวมถึงการได้มาทางมรดก (Inheritance) หรือ การรวม หรือแยกกันของบริษัท (The Merger or Division of Corporations) โดยอัตราภาษีอยู่ที่ ร้อยละ 4 นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2003 จนกระทั่งวันที่ 31 มีนาคม 2006 หลังจากนั้น อัตราภาษีจะลดลงเหลือร้อยละ 3 โดยการคำนวณภาษี จะขึ้นอยู่กับราคาการประเมินของที่ดินหรือบ้านที่ครอบครองในขณะนั้น สำหรับการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์นั้น สามารถทำได้ในกรณีของการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือบ้านเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นที่อยู่อาศัย (Residential Purpose) โดยที่กฎหมายกำหนดว่า สำหรับบ้านใหม่ที่มีเนื้อที่ระหว่าง 50-240 ตารางเมตร จะได้รับการลดหย่อนภาษี โดยมีการปรับลดราคาประเมินของบ้านลง 12,000,000 เยน อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีประเภทนี้จะได้รับการยกเว้นเมื่อ ราคาประเมินของที่ดินหรือบ้านมีมูลค่าต่ำกว่าอัตราที่กำหนด ซึ่งได้แก่อัตราต่ำกว่า 100,000 เยนในกรณีของราคาที่ดิน ต่ำกว่า 230,000 เยนในกรณีของราคาบ้านใหม่ และต่ำกว่า 120,000 เยนในกรณีของบ้านที่มิใช่บ้านใหม่

จากข้อมูลงบประมาณในปี ค.ศ. 2000 ได้แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของภาษีอสังหาริมทรัพย์ต่อสัดส่วนภาษีทั้งหมดของจังหวัดนั้น จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3.625

5. ภาษีบุหรี่ (Tobacco Tax) ภาษีจากบุหรี่จะมีการจัดเก็บทั้งในระดับจังหวัด และเทศบาล คือ ในส่วนของจังหวัด ภาษีบุหรี่จะถูกจัดเก็บจากผู้ผลิตและค่าส่งบุหรี่ในอัตรา 969 เยนต่อปริมาณบุหรี่ 1,000 มวน

6. ภาษีการใช้สนามสนามกอล์ฟ (Golf Course Utilization Tax) ผู้เล่นกอล์ฟแต่ละคน จะต้องชำระภาษีในการเข้าใช้สนามกอล์ฟในอัตราขั้นต่ำกว่า 800 เยนต่อคนต่อวัน และองค์กรปกครองท้องถิ่นจะเรียกเก็บได้ไม่เกิน 1,200 เยนต่อคนต่อวัน ในการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟจะเป็นผู้จัดเก็บจากผู้เล่น และจัดส่งให้กับจังหวัด หลังจากที่จังหวัดได้รับแล้ว ทางจังหวัดยังต้องแบ่งภาษีประเภทนี้ให้แก่เทศบาลพื้นที่ ซึ่งสนามกอล์ฟนั้น ๆ ตั้งอยู่ในอัตรา 7 ใน 10 ส่วนด้วย

7. ภาษีรถยนต์ (Automobile Tax) จะจัดเก็บจากเจ้าของรถยนต์ทุกคน ทั้งที่เป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการธุรกิจ หรือบุคคลธรรมดา ล้วนต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีให้แก่จังหวัด โดยที่อัตราในการเสียภาษีนั้น จะแตกต่างกันออกไปตามขนาดความจุของเครื่องยนต์ ประเภทของรถยนต์ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการใช้รถยนต์ ซึ่งจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่า โดยขั้นต่ำแล้ว บุคคลธรรมดาที่ใช้รถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งมีความจุของกระบอกสูบเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1 ลิตร ยังคงต้องจ่ายภาษีรถยนต์ประจำปีเป็นเงินจำนวนเกือบ 30,000 เยน และอัตราภาษีที่ทางองค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัดจัดเก็บสำหรับรถประเภทและขนาดต่างๆ นั้น สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

อัตราภาษีสำหรับรถยนต์นั่ง

ตารางแสดงอัตราภาษีสำหรับรถยนต์นั่ง

 
อัตราภาษีสำหรับรถยนต์นั่ง

ที่มา: The Ministry of Finance, An Outline of Japanese Taxes 2004 (www.mof.go.jp/english/tax/taxes2004e_h.pdf) p.226. [May 13th, 2005].

นอกเหนือไปจากอัตราการเรียกเก็บภาษีรถยนต์นั่ง ที่แสดงให้เห็นดังตารางข้างต้นมานี้ อัตราการจัดเก็บภาษีรถประเภทอื่น ๆ ก็จะมีอัตราการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ อัตราภาษีสำหรับรถบรรทุก

ในการจัดเก็บภาษีสำหรับรถบรรทุกปกติ ที่มีขนาดการบรรทุกได้โดยเฉลี่ยประมาณ 4 – 5 เมตริกตันนั้น อัตราภาษีประจำปีที่ทางจังหวัดจัดเก็บ จะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยอัตราในการจัดเก็บคือ

1. ในกรณีที่รถบรรทุกใช้ไปในการประกอบการค้าหรือพาณิชยกรรม จะต้องเสียภาษีประจำปีเป็นจำนวน 18,500 เยน
2. ในกรณีที่รถบรรทุกมิได้ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือพาณิชยกรรม อัตราการเรียกเก็บภาษีจะสูงขึ้น โดยเจ้าของรถบรรทุกจะต้องเสียภาษีประจำปีเป็นเงินจำนวน 25,500 เยน อัตราภาษีสำหรับรถโดยสาร

ในการจัดเก็บภาษีรถโดยสารซึ่งมีขนาดความจุผู้โดยสารได้โดยเฉลี่ย 40 – 50 คนนั้น จะมีอัตราการการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่นเดียวกันกับการจัดเก็บภาษีสำหรับรถบรรทุก กล่าวคือ

1. ในกรณีที่รถโดยสารนั้นใช้ไปในการประกอบธุรกิจเพื่อการขนส่งมวลชน เจ้าของจะต้องชำระภาษีในอัตรา 17,500 เยน
2. ในกรณีที่รถโดยสารนั้นใช้ไปในการพาณิชยกรรม แต่มิได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการขนส่ง

มวลชน เจ้าของรถโดยสารนั้น จะต้องชำระภาษีในอัตรา 38,000 เยน

3. ในกรณีที่รถโดยสารนั้น มิได้ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณิชยกรรมและการค้า ผู้ที่เป็นเจ้าของรถโดยสารจะต้องชำระภาษีในอัตราที่สูงสุด คือ 49,000 เยน

อัตราภาษีสำหรับรถยนต์สามล้อขนาดเล็ก

นอกเหนือไปจากรถประเภทต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนี้ รถยนต์สามล้อขนาดเล็ก จะเป็นประเภทของรถยนต์ที่ชำระภาษีในอัตราที่ถูกที่สุด คือ รถสามล้อขนาดเล็กที่ใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือการพาณิชย์ จะเสียภาษีในอัตราต่ำเพียง 4,500 เยนต่อปี สำหรับรถยนต์ สามล้อที่มิได้ใช้ไปเพื่อการค้าหรือพาณิชย์ จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นคือ 6,000 เยนต่อปี

8. ภาษีการครอบครองรถยนต์ (Automobile Acquisition Tax) วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องจัดเก็บภาษีประเภทนี้ ก็เพื่อที่จะนำเอาเงินภาษีไปใช้สำหรับการบำรุงถนนหนทางในเขตท้องถิ่นของตนเอง การจัดเก็บภาษีประเภทนี้ หลังจากที่องค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัดได้เก็บภาษีประเภทนี้มาแล้ว จังหวัดต้องจัดแบ่งภาษีนี้ร้อยละ 70 ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับเทศบาลด้วย และจะได้รับการยกเว้นสำหรับกรณีของรถจักรยานยนต์ รวมทั้งการครอบครองรถยนต์ของหน่วยงานราชการส่วนกลางและองค์กรปกครองท้องถิ่นต่าง ๆ นอกจากนั้น การได้รับรถยนต์สืบทอดทางมรดก หรือเป็นผลมาจากการร่วมกิจการของบริษัทเอกชน ก็จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีประเภทนี้เช่นเดียวกัน

ในส่วนของอัตราในการจัดเก็บภาษีประเภทนี้นั้น จะคำนวณจากฐานราคาในการซื้อขายรถยนต์ โดยอัตราภาษีที่จัดเก็บจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 3 สำหรับรถยนต์ที่จะนำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ และในอัตราร้อยละ 5 สำหรับรถยนต์ที่มิได้ใช้เพื่อการพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม หากรถยนต์นั้น มีมูลค่าการซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่า 500,000 เยน ภาษีประเภทนี้ จะได้รับการยกเว้น

9. ภาษีเหมืองแร่ (Mine-lot Tax) อัตราในการจัดเก็บภาษีก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่เป็น เหมืองสินแร่ ผู้ถือสัมปทานจะต้องเสียภาษีรายปีในอัตรา 200 เยนต่อพื้นที่เหมือง 10,000 ตารางเมตร หากเหมืองสินแร่นั้นมีพื้นที่ติดริมฝั่งแม่น้ำ ผู้รับสัมปทานยังต้องจ่ายภาษีรายปีเพิ่มขึ้น 600 เยนต่อทุกพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ที่ติดริมฝั่งแม่น้ำ ส่วนเหมืองประเภทอื่นๆ ผู้รับสัมปทานจะต้องชำระภาษีรายปีในอัตรา 200 เยนต่อพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร หากว่าเหมืองนั้นยังคงอยู่ในขั้นตอนของการสำรวจ แต่หากว่าเหมืองนั้นได้เป็ดดำเนินการทำประโยชน์แล้ว อัตราภาษีรายปีจะปรับเป็น 400 เยนต่อพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการขุดเจาะเพื่อสำรวจน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติต่าง ๆ อัตราภาษีรายปีที่จะต้องชำระให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นจะลดลง โดยผู้ประกอบการจะได้รับการลดหย่อนภาษีลง 1 ใน 3 ของอัตราภาษีตามปกติ

10. ภาษีการล่าสัตว์ (Hunting Tax) ภาษีการล่าสัตว์นี้ เป็นภาษีที่จัดเก็บขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรการอันหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และนกต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่จะต้องชำระภาษีประเภทนี้ ก็คือ กลุ่มนายพรานที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง สำหรับอัตราในการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ของจังหวัด จะขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละเขตจังหวัด กับทั้งประเภทของใบอนุญาตที่นายพรานเหล่านั้นถือ อย่างไรก็ตามอัตราภาษีการล่าสัตว์นี้ จะอยู่ที่ระดับ 5,500 - 16,500 เยน 33

11. ภาษีการส่งน้ำมันเบา (Light-oil Delivery Tax) วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่องค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีประเภทนี้ ก็เนื่องมาจากองค์กรปกครองท้องถิ่นต่องการจะเพิ่มเงินกองทุนเพื่อใช้ในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายถนน โดยปกติแล้วภาษีประเภทนี้ จะจัดเก็บโดยองค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด แต่หากในพื้นที่จังหวัดใด มี เทศบาลนครพิเศษ (Designated City) จังหวัดจะต้องมีการจัดสรรเงินภาษีประเภทนี้ให้แก่เทศบาลด้วย โดยสัดส่วนที่เทศบาลนครพิเศษแต่ละแห่งจะได้รับการจัดสรรภาษีประเภทนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นที่ของถนนในเขตเทศบาลนั้น ๆ

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีประเภทนี้ ก็คือ บุคคลที่ได้รับการส่งน้ำมันเบามาจากโรงกลั่น ผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการขายส่งที่มีสัญญากับโรงกลั่น อย่างไรก็ดี เนื่องจากว่าเงินภาษีการขนส่งน้ำมันเบานี้ มุ่งเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเครือข่ายถนนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น ผู้ใช้น้ำมันเบาบางประเภทจะได้รับการยกเว้นภาษีประเภทนี้ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน ภาษีประเภทนี้ จะถูกจัดเก็บในอัตรา 15,000 เยนต่อกิโลลิตร และหลังจากวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2008 เป็นต้นไป อัตราภาษีประเภทนี้จะถูกปรับเป็น 32,100 เยนต่อกิโลลิตร

12. ภาษีอื่น ๆ (Other Taxes) เป็นภาษีพิเศษที่มิได้มีการระบุไว้ในกฎหมาย และได้มีการจัดเก็บโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบันนั้น มีทั้ง ภาษีพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear-fuel Tax) ภาษีประเภทนี้ มักมีการจัดเก็บในเขตพื้นที่ซึ่งมีโรงงานนิวเคลียร์ตั้งอยู่ เช่นในจังหวัด Hokkaido, Miyagi, Fukushima, Niigata, Ishikawa, Fukui เป็นต้น นอกจากภาษีนิวเคลียร์แล้ว ในบางจังหวัดที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น ก็อาจมีการเก็บภาษีจากที่พักอาศัย (Accommodation Tax) เพิ่มเติม เช่น ในมหานครโตเกียว เป็นต้น นอกจากนี้ องค์กรปกครองท้องถิ่นบางแห่ง อาจมีโรงงาน อุตสาหกรรมตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก หรืออาจมีนโยบายสำคัญในการ อนุรักษ์สภาพแวดล้อม องค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น อาจมีการเก็บภาษีพิเศษสำหรับขยะจากโรงงานอุตสาหกรรม

แผนภาพแสดงสัดส่วนของภาษีประเภทต่างๆ ของท้องถิ่นระดับจังหวัด

 
สัดส่วนของภาษีประเภทต่างๆ ของท้องถิ่นระดับจังหวัด

ที่มา: The Ministry of Internal Affairs and Communications “Local Tax System,” (www.soumu.go.jp/english/c-seisei/pdf/localtaxsystem02.pdf) [May 12th, 2005]

การเก็บภาษีท้องถิ่นในระดับเทศบาล (Municipal Taxes)

รายได้จากภาษีในระดับเทศบาลประกอบด้วยภาษีประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. ภาษีเพื่อการอยู่อาศัย (Municipal Inhabitants Tax) มีลักษณะการเสียภาษีแบบเดียวกันกับการเสียภาษีเพื่อการอยู่อาศัยในระดับจังหวัด ซึ่งนอกเหนือจากการคำนวณอัตราการเก็บภาษีจากรายได้ของบุคคลและนิติบุคคลแล้ว กฎหมายยังกำหนดถึงกรอบลักษณะของบุคคล และ นิติบุคคลต่าง ๆ ที่สามารถใช้ในการลดหย่อนและงดเว้นภาษีได้ในอัตราที่แตกต่างกันไปในส่วนของการจัดเก็บภาษีเงินได้ เพื่อการอยู่อาศัยสำหรับบุคคลธรรมดาแบบทั่วไป (General Individual Tax Base) นั้นเทศบาลกำหนดอัตราพื้นฐานในการเสียภาษีที่ 3,000 เยนต่อคน (per capita) นอกจากนั้นกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องที่ว่าด้วยการเก็บภาษีเพื่อการอยู่อาศัยของบุคคลธรรมดาในเทศบาลตามรายได้ที่ต้องเสียภาษีดังนี้

ตารางแสดงอัตราภาษีเพื่อการอยู่อาศัยของบุคคลธรรมดาในเทศบาล

 
อัตราภาษีเพื่อการอยู่อาศัยของบุคคลธรรมดาในเทศบาล

ที่มา: Akira Yokoyama, Taxation in Japan (www.hi-ho.ne.jp/yokoyama-a/taxationinjapan.htm) [May 10th , 2005].

อย่างไรก็ตามการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อการอยู่อาศัยนั้น จำเป็นที่จะต้องคำนวณเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีสุทธิจากการการลดหย่อนและงดเว้นภาษีในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายภาษีรายได้ (Income Tax Law) ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูญเสียทางวินาศภัย และได้รับการรักษาพยาบาลอยู่ ผู้ที่ทำประกันภัยประเภทต่างๆ ผู้พิการและทุพพลภาพซึ่งต้องมีบุคคลอื่น รับอุปการะ คนชราและผู้สูงอายุ (ยกเลิกข้อยกเว้นประเภทนี้ปีค.ศ. 2006) นักเรียนนักศึกษาที่กำลังทำงานขณะเรียนหนังสือ หรือคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำกว่าอัตราที่กำหนด ต่างได้รับการลดหย่อนและงดเว้นภาษีในอัตราที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีเงินได้เพื่อการอยู่อาศัยในเทศบาล ยังมีข้อกำหนดในการจัดเก็บภาษีจากรายได้ที่มาจากการลงทุนในสินทรัพย์ (Capital Gains) ซึ่งมาจากการเปลี่ยน ถ่าย หรือโอน กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินอย่างเช่นที่ดิน หรืออาคาร การซื้อ-ขาย หรือเปลี่ยน โอนหลักทรัพย์ในห้างหุ่นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ห้างหุ่นส่วนสามัญ (Unlimited Partnership) หรือบริษัทจำกัด (Limited Company) หรือรายได้ที่มาจากเงินปันผล (Income from Stock Dividends) สำหรับการจัดเก็บภาษีรายได้ เพื่อที่อยู่อาศัยของนิติบุคคล กฎหมายได้มีข้อกำหนด ขั้นพื้นฐานในการเสียภาษีอยู่ที่ร้อยละ 12.3 ของรายได้ทั้งหมด แต่ทั้งนี้การคำนวณการจัดเก็บภาษี ไม่สามารถเก็บภาษีได้เกินร้อยละ 14.7 ของรายได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตามมีการกำหนดรายละเอียดการจัดเก็บภาษีประเภทนี้เพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงรายละเอียดการภาษีเพื่อการอยู่อาศัยของนิติบุคคล

 
ตารางแสดงรายละเอียดการภาษีเพื่อการอยู่อาศัยของนิติบุคคล

ที่มา: Akira Yokoyama, Taxation in Japan (www.hi-ho.ne.jp/yokoyama-a/taxationinjapan.htm) [May 10th , 2005].

นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้บุคคลและนิติบุคคลที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นนั้นๆ ส่งแบบแผนการประเมินการเสียภาษีของตนเอง (A Return for the Annual Income) ให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นด้วยตนเอง (Self-assessment System) และสำหรับการยื่นแบบแผนการเสียภาษีของบุคคลธรรมดานี้สามารถยื่นรายละเอียดของรายได้ต่อปี ได้ไม่เกินวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี และในกรณีเดียวกันนั้น สำหรับการยื่นการประเมินการเสียภาษีของนิติบุคคล นิติบุคคลจำเป็นที่จะต้องแสดงบัญชีรายรับ และรายจ่าย (Declaration and Payment) ภายใน 2 เดือนภายหลังการปิดงบประมาณของบริษัท

2. ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Property Tax) เป็นการเก็บภาษีที่ผูกพันกับบุคคลที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิอสังหาริมทรัพย์ และขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคมของปีงบประมาณนั้น โดยกฎหมายได้ระบุข้อกำหนดที่ผู้ครอบครองจะต้องจ่ายภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเทศบาลนั้นเมื่อปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี อีกทั้งการจัดเก็บภาษียังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างปีงบประมาณนั้นอีกด้วย นอกจากนั้นการกำหนดภาษีอสังหาริมทรัพย์ยังครอบคลุมถึงการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเสื่อมราคา (Depreciable Assets) และอสังหาริมทรัพย์บางประเภทไม่ได้รวมอยู่ในข้อบัญญัติของภาษีอสังหาริมทรัพย์ เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ (Automobile) และพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle) ซึ่งจะถูกคำนวณและจัดเก็บภาษี ในกรอบของกฎหมายการจัดเก็บภาษีรถยนต์ (Automobile Tax) และภาษีพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle Tax) ตามลำดับ ข้อบังคับของภาษีชนิดนี้จำเป็นจะต้องลงทะเบียนต่อหน่วยงานภาษีรังวัดที่ดิน (The Tax Cadastre) ซึ่งอัตราภาษีจะอยู่ที่การประเมินราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ และการประเมินราคารังวัดที่ดินนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 3 ปี ตามราคาตลาด โดยที่เทศบาลจะคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี และเพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเทศบาลเป็นไปตามนโยบายการปลูกสร้างบ้านเรือน (Housing Policy) กฎหมายได้กำหนดถึงการลดหย่อนภาษีตามลักษณะของบ้านและที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย (Land for Housing) โดยการลดหย่อนภาษีในอัตรา 1 ต่อ 6 ของที่ดินที่มีขนาดไม่เกิด 200 ตารางเมตร และลดหย่อนภาษี 1 ใน 3 สำหรับที่ดินที่มีเนื้อที่เกิน 200 ตารางเมตร สำหรับสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านใหม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 ใน 2 ของจำนวนที่จะต้องจ่ายภาษี โดยกฎหมายกำหนดให้เพียงแค่ 3 ปีแรกเท่านั้น และกฎหมายยังระบุถึงรายละเอียดในการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างอีก 2 ประเภท คือบ้านประเภทเพื่อการอยู่อาศัยแน่นอน โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าจะต้องสร้างในช่วง และมีพื้นที่ใช้สอยระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร และอาคารที่อยู่อาศัยแบบกันอัคคีภัยซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป และประกอบด้วยเนื้อที่ใช้สอย ต่อชั้นระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร จะได้รับการลดหย่อนภาษี 1 ใน 2 ของจำนวนที่จะต้องเสียภาษี ใน 5 ปีแรกเท่านั้นโดยการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 นั้น กฎหมายกำหนดให้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 1963 ถึง 31 มีนาคม 2006 เท่านั้น ประการสุดท้ายยังมีการกำหนดการยกเลิกภาษี ให้กับอสังหาริมทรัพย์ในกรณีต่าง ๆ หลายกรณีด้วยการ อาทิเช่น การงดเว้นการจัดเก็บภาษีให้กับ ที่ดินมีมูลค่าต่ำกว่า 300,000 เยน ที่อยู่อาศัยมีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 เยนและสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมราคา (Depreciable Assets) ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500,000 เยน นอกจากนั้น อสังหาริมทรัพย์ ที่ครอบครองโดยองค์กรเพื่อสังคมซึ่งใช้สังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ไปในวัตถุประสงค์ที่เจาะจง เช่น ใช้เป็นที่ฝังศพ และถนนสาธารณะ ก็จะได้รับการงดเว้นการจัดเก็บภาษี

3. ภาษีพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle Tax) เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ต่อ ผู้ครอบครองพาหนะขนาดเล็ก โดยที่ผู้ครอบครองเหล่านั้น ต้องจ่ายภาษีในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ทั้งนี้กฎหมายระบุถึงชนิดและลักษณะของพาหนะดังกล่าวไว้หลายประเภทด้วยกัน อาทิเช่น จักรยานยนต์ จักรยานยนต์ขนาดเล็ก และพาหนะขนาดเล็กที่มีล้อตั้งแต่ 2 ถึง 4 ล้อซึ่งใช้เพื่อการขนส่ง โดกฎหมายได้ระบุถึงอัตราการเก็บภาษีที่แตกต่างกันดังนี้

จักรยานยนต์ขนาดเล็ก

ตารางแสดงอัตราภาษีรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก

 
ตารางแสดงอัตราภาษีรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก

ที่มา: The Ministry of Finance, An Outline of Japanese Taxes 2004 (www.mof.go.jp/english/tax/taxes2004e_h.pdf). [May, 13th 2005].

พาหนะขนาดเล็กหรือพาหนะพิเศษ

ตารางแสดงอัตราภาษีพาหนะขนาดเล็กหรือพาหนะพิเศษ

 
ตารางแสดงอัตราภาษีพาหนะขนาดเล็กหรือพาหนะพิเศษ

ที่มา: The Ministry of Finance, An Outline of Japanese Taxes 2004 (www.mof.go.jp/english/tax/taxes2004e_h.pdf). [May, 13th 2005].

รถจักรยานยนต์ กำหนดอัตราภาษีที่ 4,000 เยน

4. ภาษีบุหรี่ (Tobacco Tax) กำหนดอัตราภาษีโดยมีรายละเอียดของการเสียภาษีลักษณะเดียวกับภาษีในระดับจังหวัด คือกฎหมายได้ระบุถึงการเก็บภาษีบุหรี่กับผู้ผลิตหรือผู้ขายบุหรี่ โดยการวัดปริมาณของบุหรี่ที่บุคคลนั้น ผลิตหรือขาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดอัตราภาษีไว้ที่ 2,977 เยนต่อการผลิตหรือการขาย 1,000 มวน 5. ภาษีผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ (Mineral Product Tax) เป็นภาษีที่มีข้อบังคับต่อบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดอัตราเพดานภาษีอยู่ระหว่าง ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 2 ของมูลค้าจากผลผลิต และกฎหมายยังกำหนดถึงกรณีที่ผลผลิตต่อเดือนของเหมืองนั้นมูลค่าผลผลิตไม่ถึง 2,000,000 เยน กฎหมายได้ระบุถึงการปรับลดภาษีผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ในอัตราร้อยละ 0.7 แต่ไม่เกิดร้อยละ 0.9 ซึ่งการประเมินการลดหย่อยภาษีนั้น ขึ้นอยู่กับ เทศบัญญัติของแต่ละท้องถิ่น

6. ภาษีการครอบครองที่ดินพิเศษ (Special Landholding Tax) มีกฎหมายกำหนดข้อบังคับใช้อยู่2 ประการคือ การบังคับใช้กับการถือครองที่ดิน (Measure of Special Tax on the Holding of Land) ซึ่งคิดภาษีในอัตราร้อยละ 1.4 ของมูลค่าทรัพย์สิน และการบังคับใช้กับสินทรัพย์ที่ที่ดินครอบครอง (Measure of Special Tax on Land Acquisition) ซึ่งคิดภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของมูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่ภายในหนึ่งปี และมีข้องดเว้นทางภาษีกับที่ดินที่มีขนาดเล็กกว่าที่เทศบาลกำหนดระหว่าง 2,000 ถึง 10,000 ตารางเมตร ซึ่งการงดเว้นและอัตราการงดเว้นนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเทศบาลแต่ละเทศบาล 7. ภาษีการอาบน้ำ (Bathing Tax) เป็นการกำหนดถึงการเสียภาษีของบุคคลที่ใช้บริการโรงอาบน้ำพุร้อนในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการจะถูกเก็บภาษีที่อัตรา 150 เยนต่อคนต่อวัน ซึ่งภาษีที่ได้มานั้น ทางเทศบาลจะนำไปเป็นงบประมาณเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว

8. ภาษีการวางผังนคร (Urban Planning Tax) กำหนดขึ้นเพื่อเก็บภาษีกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออาคารซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตเมืองในท้องถิ่น ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายการวางผังเมือง (Urban Planning Law) โดยทางเทศบาลนั้น ๆ สามารถเก็บภาษีในอัตราภาษีขั้นสูงสุดเพียงที่ร้อยละ 0.3 เท่านั้น ซึ่งจะประเมินของเทศบาลจะกระทำควบคู่กับการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ ( 9. ภาษีสำนักงานธุรกิจ (Business Office Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บสำนักงานธุรกิจที่อยู่ในอาคาร ซึ่งข้อกำหนดถึงการเก็บภาษีมีวิธีการคำนวณอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีโดยตรงต่อบุคคล หรือบริษัท ที่มีสำนักงานในอาคารต่างๆในอัตรา 600 เยนต่อตารางเมตร และการเก็บภาษีโดยคำนวณจากการจ่ายค่าตอบแทน (Compensation) หรือรางวัล (Remuneration) ให้กับลูกจ้างของบุคคลหรือบริษัทนั้น โดยกฎหมายระบุให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่จ่ายไป นอกจากนั้นข้อบัญญัติการเก็บภาษีธุรกิจยังจำกัดพื้นที่ในการเก็บภาษี ซึ่งการเก็บภาษีมีผลบังคับใช้กับสถานที่ และลักษณะของอาคารที่กำหนดไว้เท่านั้น ได้แก่

- โตเกียว (23 เขตการปกครองพิเศษ) และเทศบาลนครพิเศษ 13 แห่ง ได้แก่ ซับโปโร เซ็นได ชิบา เซตามะ คาวาซากิ โยโกฮามา นาโกยา โอซากา โกเบ ฮิโรชิมา คิตาคิวชู เกียวโต และฟูกูยามา
- เมือง มูซาชิโน มิตากะ คาวากูชิ โมริกูชิ ไฮกาชิ-โอซาก้า ซาไก อะมากาซากิ นิชิโนมิยา อะชิยา
- และเมืองอื่น ๆ ที่มีประชากรไม่ต่ำกว่า 300,000 คน การเก็บภาษีสำนักงานธุรกิจ จำเป็นจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

นอกเหนือจากการกำหนดเขตและลักษณะของพื้นที่ในการเก็บภาษีแล้วนั้น กฎหมายยังกำหนดถึงการงดเว้นภาษี ให้กับบุคคลหรือบริษัท ที่ใช้เนื้อที่ในการตั้งสำนักงานในอาคารโดย มีพื้นที่การใช้งานของสำนักงานไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และงดเว้นภาษีให้กับบุคคลหรือบริษัทที่มีสำนักงานอยู่ในอาคาร แต่มีลูกจ้างไม่เกิน 100 คน

10. ภาษีอื่น ๆ (Other Tax) เป็นการเก็บภาษีเพิ่มเติมในแต่ละเขตการปกครอง โดยกำหนดในลักษณะพิเศษตามความจำเป็นของท้องถิ่น ซึ่งในหมวดหมู่ที่ไม่อยู่ในกฎหมายภาษีท้องถิ่น (Local Tax Law) ตัวอย่าง เช่น ภาษีการใช้น้ำและดิน ภาษีการอำนวยความสะดวกสาธารณะ ภาษีพัฒนาที่ดิน และภาษีการประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การร่างหรือบัญญัติข้อบังคับในการจัดเก็บภาษีอื่นที่นอกเหนือจากกฎหมายภาษีท้องถิ่นนั้น องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือเทศบาลมีความจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลางก่อน

แผนภาพแสดงสัดส่วนของภาษีประเภทต่าง ๆ ของท้องถิ่นระดับเทศบาล

 
แผนภาพแสดงสัดส่วนของภาษีประเภทต่าง ๆ ของท้องถิ่นระดับเทศบาล

ที่มา: The Ministry of Internal Affairs and Communications, “Local Tax System,” (www.soumu.go.jp/english/c-seisei/pdf) [May 12th , 2005]


ตารางแสดงรูปแบบการจัดเก็บภาษีระดับจังหวัด (Prefecture Taxes)

 
ตารางแสดงรูปแบบการจัดเก็บภาษีระดับจังหวัด (Prefecture Taxes)

ที่มา: The Ministry of Finance, An Outline of Japanese Taxes 2004

www.mof.go.jp/english/tax/taxes2004e_h.pdf) [May 20th, 2005]


ตารางแสดงรูปแบบการจัดเก็บภาษีในระดับเทศบาล (Municipal Taxes)

 
ตารางแสดงรูปแบบการจัดเก็บภาษีในระดับเทศบาล (Municipal Taxes)

ที่มา: The Ministry of Finance, An Outline of Japanese Taxes 2004

www.mof.go.jp/english/tax/taxes2004e_h.pdf) [May 20 th , 2005]

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีได้หลายประเภท แต่รายได้ท้องถิ่นจากภาษีของท้องถิ่นนั้น มีสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมดของท้องถิ่นเท่านั้น เพราะฉะนั้นก็เท่ากับว่ารายได้ของท้องถิ่นยังมีที่มาจากแหล่งอื่นๆอีกด้วยซึ่งแหล่งรายได้อื่น ๆเหล่านั้น ได้แก่

  • ภาษีอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่น (Local Allocation Tax)

ภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการลดช่องว่างระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะทางด้านการคลังดี กับองค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีทรัพยากรทางด้านการคลังที่จำกัดและ ภาษีประเภทนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อเป็นการอุดหนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่น ให้บรรลุตามภารกิจที่กฎหมายได้กำหนดไว้

ดังนั้น ในการจัดสรรภาษีประเภทนี้ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น รัฐบาลกลางจึงไม่เข้ามาควบคุมและกำกับการใช้จ่ายเงินภาษีนี้ของท้องถิ่น องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถที่จะตัดสินใจและดำเนินการเพื่อใช้จ่ายเงินภาษีนี้ ได้โดยอิสระ เพราะฉะนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษีประเภทนี้ขององค์กรปกครองท้องถิ่น ก็คือ รูปแบบหนึ่งของการให้เงินอุดหนุนทั่วไปแก่องค์กรปกครองท้องถิ่นนั่นเอง ภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น จะเป็นการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลกลางจัดเก็บจากแหล่งต่าง ๆ คือ ภาษีรายได้ส่วนบุคคล ภาษีสุรา และภาษีรายได้ธุรกิจ รัฐบาลกลางจะจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 32 ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) รัฐบาลจะจัดสรรให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 29.5 และภาษีบุหรี่ (Tobacco Tax) รัฐบาลจะจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในอัตราร้อยละ 2548 ภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นประเภททั่วไป ซึ่งเป็นภาษีที่รัฐบาลอุดหนุนให้แก่ท้องถิ่นต่าง ๆ ตามปกติ ภาษีประเภทนี้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94 ของภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งหมด และประเภทที่สอง คือ ภาษีอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองประเภทพิเศษ ภาษีประเภทนี้ จะเป็นภาษีที่อุดหนุนแก่ท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ เช่น ในกรณีที่ท้องถิ่นใดต้องประสบ ปัญหาภัย ธรรมชาติ ซึ่งลำพังแต่เพียงภาษีอุดหนุนตามปกติอาจไม่พอเพียง โดยภาษีในลักษณะที่ 2 นี้ จะมี สัดส่วนประมาณร้อยละ 6 เท่านั้น

  • ภาษีที่รัฐโอนให้แก่ท้องถิ่น (Local Transfer Tax)

ภาษีที่จัดเก็บในระดับชาติ และมีการจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น นอกเหนือเงินภาษีอุดหนุนแล้ว ภาษีอีกประเภทหนึ่งที่มีการจัดเก็บโดยรัฐบาลกลางและมีการจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ก็คือ ภาษีที่รัฐโอนให้แก่ท้องถิ่น (Local Transfer Tax) ภาษีประเภทนี้ เป็นภาษีที่แตกต่างไปจากภาษีที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น กล่าวคือ ภาษีประเภทแม้ว่ารัฐบาลกลางเป็นผู้จัดเก็บ แต่เมื่อมีการจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นแล้ว จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการใช้จ่ายเงินภาษีนั้น โดยภาษีที่รัฐโอนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นจะประกอบไปด้วย

- รายได้จากการจัดเก็บภาษีถนนท้องถิ่น (Local Road Tax) ทั้งหมด
- รายได้ครึ่งหนึ่ง ของภาษีน้ำมัน (Petroleum Gas Tax)
- รายได้ 2 ใน 13 ของภาษีเชื้อเพลิงการบิน (Aviation Fuel Tax)
- รายได้ 1 ใน 3 ของภาษีระวางพาหนะที่มีเครื่องยนต์ (Motor Vehicle Tonnage Transfer Tax)
- รายได้ทั้งหมดของภาษีระวางพิเศษ53 (Special Tonnage Dues)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ภาษีที่รัฐโอนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นนี้ จะแตกต่างจากภาษีที่รัฐจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น เพราะภาษีประเภทนี้ จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ ดังนั้น ภาษีที่จัดเก็บจากน้ำมัน เช่น ภาษีถนนท้องถิ่น หรือภาษีเชื้อเพลิงการบิน รัฐบาลกลางอาจกำหนดให้รายได้จากภาษีเหล่านั้น ต้องใช่ไปเพื่อการบำรุงถนน หรือท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่น หรือในกรณีของภาษีระวางพิเศษ ก็อาจจะถูกกำหนดให้ใช้ไปเพื่อการสร้างและพัฒนาท่าเรือในพื้นที่ เช่นนี้เป็นต้น

  • เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง (Central Government Subsidies)

นอกจากองค์กรปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจะได้รับความช่วยเหลือทางด้านการคลังจากรัฐบาลกลางในรูปของการจัดสรรภาษีแล้ว รัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในรูปของเงินอุดหนุน (Central Government Subsidies) โดยตรงอีกด้วย โดยเงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ประเภทแรก ได้แก่ เงินอุดหนุนตามกฎหมาย สำหรับเงินอุดหนุนประเภทนี้ เป็นการให้เงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นสำหรับการใช้จ่ายในกิจกรรมบางประเภท ที่ราชการ ส่วนกลางมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ โดยเงินจำนวนนี้ส่วนใหญ่ มักจะเป็นการให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมด้านการศึกษา โครงสร้างบริการสาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งงานด้านการบรรเทาสาธารณะภัยต่าง ๆ เป็นต้น ในประเภทที่สอง เป็นการให้เงินอุดหนุนแก่องค์กร ปกครองท้องถิ่นเพื่อใช้ในการดำเนินที่เป็นภารกิจของรัฐบาลกลาง แต่มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการแทนราชการส่วนกลาง เช่น การดำเนินการเพื่อจัดการเลือกตั้งในระดับชาติ การจัดเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆในพื้นที่ เป็นต้น ส่วนเงินอุดหนุนประเภทสุดท้าย ได้แก่ การให้เงินอุดหนุนแก่องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเป็นการจูงใจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ที่เป็นการสนองนโยบายเฉพาะบางเรื่องของรัฐบาลกลาง ดังนั้น เงินอุดหนุนจำนวนนี้ จึงเป็นไปตามนโยบายของราชการส่วนกลางเป็นสำคัญโดยรวมแล้ว เงินอุดหนุนประเภทนี้ จึงนับได้ว่ามีความสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยให้การดำเนินภารกิจต่าง ๆ ของท้องถิ่น มีระดับมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้น ยังเป็นเงินช่วยเหลือที่สำคัญ ที่สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถดำเนินการในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะในสภาวะที่องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องประสบปัญหากับภัยพิบัติตามธรรมชาติ เงินอุดหนุนประเภทนี้ จะเป็นส่วนที่รัฐบาลจัดสรรไปให้เพื่อใช้ในการฟื้นฟูสภาพทางกายภาพของท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันต้องยอมรับว่า เงินอุดหนุนเหล่านี้ ย่อมเป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลกลางในการกำกับและควบคุมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

อนึ่ง นอกเหนือจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลกลางที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น ในปัจจุบันรัฐบาลกลางยังคงให้เงินอุดหนุนอีกประเภทหนึ่งให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น นั่นคือ เงินอุดหนุนประเภทพิเศษแก่ท้องถิ่น (Special Local Grants) โดยเงินอุดหนุนประเภทนี้ เป็นเงินอุดหนุนที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเป็นการชดเชยปริมาณภาษีของท้องถิ่นที่ลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999

  • รายได้ของท้องถิ่นที่มาจากเงินกู้ยืม (Borrowing)

เงินกู้ยืมถือเป็นรายได้อีกแหล่งหนึ่งขององค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งเงินกู้ยืมนี้ มีแหล่งที่มาจากหลายแหล่ง โดยแหล่งทุนหลักที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ก็คือ รายได้ของรัฐบาลที่จัดสรรจากเงินฝากของการไปรษณีย์ (Postal Saving) นอกจากนั้นแล้ว แหล่งเงินกู้ยืมที่สำคัญของท้องถิ่นยังได้แก่ ธนาคารพาณิชย์และองค์กรทางการเงินในประเทศ องค์กรร่วมมือทางการคลังระหว่างวิสาหกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น (The Japan Finance Cooperation for Public Enterprises) และยังรวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่นด้วยกันเองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นนั้นจะได้รับกากำกับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยกฎหมายว่าด้วยการคลังของท้องถิ่น (The Local Finance Law) และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร (The Ministry of Internal Affairs and Communications) ซึ่งส่วนมากแล้ว เงินจากการกู้ยืมนี้ จะถูกกำกับดูแลเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นใช้ไปเพื่อการลงทุน เพื่อจัดทำบริการพื้นฐานขนาดใหญ่ให้แก่ประชาชน อย่างเช่น ระบบการประปา ระบบการขนส่งมวลชน การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม เท่านั้น

นอกจากการกู้เงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นจากแหล่งต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว เงินกู้ยืมขององค์กรปกครองท้องถิ่น ยังอาจรวมไปถึงการออกพันธบัตรของท้องถิ่น (Local Public Bonds) ด้วย อย่างไรก็ดี การออกพันธบัตรของท้องถิ่นนั้น ไม่สามารถกระทำได้โดยเสรี เพราะในการออก พันธบัตรแต่ละครั้ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด และได้รับการอนุมัติโดยกระทรวงการบริหารงานสาธารณะฯ

  • รายได้จากแหล่งอื่นๆ (Miscellaneous Revenue)

แหล่งรายได้สุดท้ายขององค์กรปกครองท้องถิ่นก็คือแหล่งรายได้เบ็ดเตล็ด ซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง อาทิ เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียม รายได้จากเงินค่าปรับ เงินโอน การบริจาค เป็นต้น นอกจากนั้น เงินจำนวนนี้ ยังอาจมาจากการจัดการแข่งกีฬาบางประเภท เช่น การแข่งม้า การแข่งเรือ และยังรวมถึงรายได้จากสลากกินแบ่งด้วย

กระบวนการและขั้นตอนจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศญี่ปุ่น แก้

ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี

 
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณประจำปี

คณะรัฐมนตรีจะมีการจัดประชุมเดือนกรกฎาคมเพื่อหาข้อมติสำหรับการงบประมาณที่จะได้รับการอนุมัติ ซึ่งกระทรวงและหน่วยงานต่างๆจะส่งคำของบประมาณของปีถัดไป ไปยังกระทรวงการคลังในปลายเดือนสิงหาคม หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการร้องขอเหล่านี้สำนักงบประมาณดำเนินการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นในการของงบประมาณในช่วงปลายเดือนธันวาคมจะมีการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจการวางแผนเศรษฐกิจของหน่วยงานและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้กระทรวงการคลังเตรียมร่างงบประมาณและส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ควบคู่ไปกับกระบวนการนี้ กระทรวงการคลังแจ้งให้แต่ละกระทรวงและหน่วยงานทางการของการอนุมัติงบประมาณ ณ สิ้นเดือนธันวาคมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลังร่างงบประมาณที่รัฐบาลประมาณการงบประมาณและรัฐบาลจะส่งงบประมาณไปยังสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนมกราคมและส่งไปยังสภาที่ปรึกษาที่จุดเริ่มต้นของเดือนมีนาคม และพรรคการเมืองไดเอทยังมีอิทธิพลเหนือกระบวนการก่อตัวของงบประมาณและกระทรวงการคลังกระบวนการการอนุมัติงบประมาณ แต่ละกระทรวงและหน่วยงานพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองไดเอทกระทรวงการคลังจึงพิจารณาและร้องขอให้พรรคการเมืองไดเอทปรับแนวทางการใช้งบประมาณของรัฐบาลที่มีให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงการคลังแผนภูมิต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างงบประมาณ

หน่วยงานมีหน้าที่เสนอร่างงบประมาณ แก้

หน่วยงานที่มีหน้าที่เสนอร่างงบประมาณคือ คณะรัฐมนตรี เป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ ซึ่งจัดตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้กฎหมายในการบริหาร การเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ และร่างพระราชบัญญัติอื่น ๆ และการรายงานทั้งเรื่องภายในและภายนอกประเทศ ต่อสภาไดเอ็ท

หน่วยงานเป็นผู้อนุมัติงบประมาณ แก้

เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอร่างงบประมาณเสร็จแล้วจะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเป็นอันดับแรกและจะถูกส่งไปที่กรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรอาจจะร้องขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเดินทางมาชี้แจงและตั้งคำถามเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินในประเด็นทั่วไป หลายครั้งที่ขั้นตอนการดำเนินงบประมาณถือเป็นโอกาสในการวิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล ซึงจะมี สภาไดเอ็ท เป็นผู้ตัดสินใจและอนุมัติเรื่องงบประมาณและกิจการที่เกี่ยวข้องกับการคลังของประเทศ

ระบบคุ้มครองทางสังคม แก้

ระบบประกันสังคม [5] แก้

ระบบประกันสังคมเป็นระบบที่ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลร่วมกันจ่ายเงินประกันสังคมระบบประกันสังคมจะแบ่งประเภทหลัก ๆ ได้เป็น ประกันสำหรับผู้ที่ทำงานบริษัทซึ่งได้แก่ประกันสุขภาพกับประกันเงินบำนาญ, และ ประกันสำหรับผู้ที่ทำงานอิสระหรือเกษตรกรรมซึ่งได้แก่ ประกันสุขภาพของประชาชน และ ประกันเงินบำนาญสำหรับประชาชน, นอกจากนี้ยังมีการประกันการจ้างงานสำหรับเวลาตกงาน และ ประกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน เป็นต้น

การประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ เป็นระบบที่ให้การช่วยเหลือต่อลูกจ้างและครอบครัวของลูกจ้างเมื่อเจ็บป่วย ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ที่ไม่ใช่เนื่องมาจากการทำงาน รวมทั้งในเวลาคลอดบุตร เมื่อทำประกันสุขภาพจะได้รับบัตรประกันสุขภาพมา หากแสดงบัตรประกันสุขภาพนี้เมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ จะเสียค่าพยาบาลแค่ 30% (ทั้งผู้ประกันและครอบครัว) อีกทั้งในกรณีที่ให้กำเนิดบุตรหรือเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนสูง ก็จะมีการจ่ายคืนกลับมาได้ นายจ้างจะต้องดำเนินเรื่องทำประกันสังคมให้ลูกจ้าง บริษัทเอกชนทุกแห่งจะต้องทำประกันสุขภาพให้พนักงานทุกคน ยกเว้นพนักงานชั่วคราวหรือพนักงานที่ทำงานรายวัน ทั้งนี้บริษัทที่มีพนักงานต่ำกว่า 5 คน หากนายจ้างและพนักงานเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเห็นชอบ แล้วยื่นเรื่องขอทำประกันสุขภาพ ก็อาจทำได้เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วค่าเบี้ยประกันนั้นจะมากน้อยขึ้นกับรายได้ของผู้ทำประกัน ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างจะจ่ายคนละครึ่ง สำนักงานประกันสังคมเป็นผู้จัดการธุรกิจการจ่ายค่าประกัน ยกเว้นส่วนที่รับผิดชอบโดยสมาคมประกันสุขภาพ ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่

การประกันสุขภาพแห่งชาติ ( National Health Insurance ) แก้

 
บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ

เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เช่น การไปพบแพทย์เพื่อรักษาไข้หวัด จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 เยน แต่ถ้าต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 - 400,000 เยน และค่ารักษาฟันผุหนึ่งซี่ก็ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล มากกว่า 10,000 เยน ซึ่งเป็นภาระทางการเงินที่หนักมากสำหรับคนไข้ จึงทำให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยใช้หลักการของสวัสดิการหรือการประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้แก่ประชาชนทุกคนในประเทศ โดยรัฐบาลกำหนดให้ประชาชนทุกคนทำประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือประกันสำหรับพนักงานบริษัท และประกันที่ทำกับรัฐบาลท้องถิ่น และผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานที่รักษาได้โดยอิสระ ดังนั้นทุกคนจึงต้องเข้าระบบการประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้กฎหมายของญี่ปุ่น โดยจะต้องจ่ายเงินค่าประกันสุขภาพเองในทุก ๆ เดือน

การประกันสุขภาพของประชาชน แก้

เป็นระบบประกันสุขภาพของรัฐที่มีให้สำหรับผู้ที่ทำงานอิสระ เกษตรกร ผู้ที่เกษียณแล้ว หรือผู้ที่ไม่ได้ทำประกันสังคมที่อื่น ๆนอกจากผู้ที่ได้ทำประกันกับที่ทำงาน หรือผู้ที่ได้ทำประกันสังคมอื่น ๆ แล้ว ประชาชนทุกคนจะต้องทำประกันสังคมนี้หรือมิฉะนั้นก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยเต็มจำนวนดังนั้นถ้ายกเลิกประกันสุขภาพของที่ทำงานแล้ว ก็ควรมาทำประกันสุขภาพของประชาชนนี้ไว้

การสมัครประกันสุขภาพของประชาชน การประกันสุขภาพของประชาชนนี้มีไว้เพื่อช่วยเหลือยามเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โดยผู้ที่ทำประกันจะเสียค่าประกันด้วยจำนวนเงินที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงินเดือนต้องไปยื่นเรื่องทำประกันที่อำเภอแผนกประกัน การทำประกันจะต้องทำทั้งครอบครัว โดยจะออกใบประกันสุขภาพ 1 ใบ ต่อผู้เข้ารับประกันหนึ่งคน (เงื่อนไขในการทำประกันสุขภาพของประชาชน)

- จะต้องจดทะเบียนเป็นชาวต่างด้าวแล้ว
- ที่พักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลา 1 ปีขึ้นไป

หากอยู่ไม่ถึง 1 ปี แต่ได้รับอนุมัติให้อยู่ได้เกิน 1 ปี ก็สามารถทำได้

ค่าประกันสุขภาพ ค่าประกันจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำการในเขตท้องที่ของท่าน และจะกำหนดโดยจำนวนสมาชิกในครอบครัวและรายได้ในปีก่อนหน้านี้ กรณีที่อยู่คนเดียวและไม่มีรายได้ในปีก่อนจะเสียค่าประกันประมาณ 20,000 เยน ต่อปี สามารถแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ หรือโอนผ่านทางบัญชีได้

ผลประโยชน์ หากทำประกันสุขภาพของประชาชน จะเสียค่ารักษาพยาบาลแค่ 30% ของทั้งหมด และจะได้รับเงินคืนในกรณีที่คลอดบุตรหรือเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนสูง

สวัสดิการ [6] แก้

1. ระบบเงินบำนาญ

1.1 ระบบประกันเงินบำนาญสวัสดิการสำหรับลูกจ้าง มีจุดประสงค์หลัก คือ เป็นเงินบำนาญให้ลูกจ้างเก็บไว้ใช้เมื่อยามชรา นอกจากนี้ยังเป็นเงินที่ให้ลูกจ้างเมื่อไม่สามารถทำงานได้อันเนื่องมาจากเจ็บป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บรวมทั้งเป็นระบบที่ช่วยเหลือครอบครัวของลูกจ้างที่เสียชีวิตอีกด้วย ซึ่งบริษัทเอกชนทุกแห่งจะต้องจะต้องให้พนักงานทุกคนทำประกัน ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราวและลูกจ้างที่ทำงานรายวัน และการจ่ายค่าประกันจะพิจารณาจากเงินเดือนของลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องช่วยกันจ่ายคนละครึ่ง นอกจากการที่ลูกจ้างต้องจ่ายเงินประกันสังคมแล้ว ลูกจ้างต้องดำเนินเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันสังคมที่สำนักประกันสังคมในเขตพื้นที่สำนักงาน ถ้าหากผู้ที่ไม่ได้ทำประกันสังคมดังกล่าว ก็ต้องทำ ประกันในระบบเงินบำนาญของประชาชน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคล้าย ๆ กัน

1.2 ระบบเงินบำนาญของประชาชน

-เงินบำนาญของประชาชน คือระบบการให้บำนาญพื้นฐานแก่ประชาชนทุกคน เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในกรณีที่แก่ชราลง พิการ หรือเสียชีวิต ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นที่มีอายุระหว่าง 20 – 59 ปี ซึงรวมถึงคนต่างชาติด้วยจะต้องเข้าทำประกันทุกคน นอกจากนี้แล้วยังอาจจะทำประกันเงินบำนาญสวัสดิการของที่ทำงาน หรือเงินประกันบำนาญอื่น ๆ ร่วมด้วย
-การทำประกันเงินบำนาญของประชาชนให้ติดต่อได้ที่ที่ว่าการอำเภอในท้องถิ่น

ผู้ที่จะทำเงินประกันบำนาญสวัสดิการหรือเงินประกันบำนาญอื่น ๆ กับทางบริษัทแล้ว ก็ไม่ต้องไปขอเพิ่มหรือขอต่างหากอีก

-ค่าประกัน เมื่อขอทำประกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องเสียค่าประกันเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งสามารถชำระได้ที่ไปรษณีย์หรือธนาคารทุกแห่ง หรือจะขอให้หักโดยตรงจากบัญชีก็ได้ ซึ่งผู้ที่ทำเงินประกันบำนาญสวัสดิการหรือเงินประกันบำนาญอื่น ๆ กับทางบริษัทแล้ว ทางบริษัทก็จะหักโดยตรงจากเงินเดือนหรือเงินโบนัสเอง

1.3 การขอเงินคืนบางส่วนเมื่อออกนอกประเทศ ผู้ที่ทำประกันบำนาญแล้ว สามารถยื่นเรื่องขอเงินบางส่วนคืนหลังจากออกนอกประเทศญี่ปุ่นไปแล้วได้ การขอเงินบางส่วนคืนนั้นจะได้รับก็ต่อเมื่อยื่นเรื่องภายใน 2 ปีหลังจากออกนอกประเทศ ตามเงื่อนไข 4 ข้อคือ

1. ไม่ได้ถือสัญชาติญี่ปุ่น
2. จ่ายเงินประกันบำนาญของประชาชนหรือเงินประกันบำนาญสวัสดิการ

เป็นเวลานานเกิน 6 เดือน

3. ไม่ได้มีทะเบียนบ้านอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
4. ไม่เคยได้รับเงินบำนาญ ( รวมทั้งเงินช่วยเหลือคนพิการ )

2. การสงเคราะห์ค่าครองชีพ ( เวลามีปัญหาในการครองชีพ )

2.1 สวัสดิการช่วยเหลือในการครองชีพ เป็นระบบที่มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ผู้ที่หารายได้เลี้ยงครอบครัวได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ที่จะมาจุนเจือและไม่มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ภาครัฐจึงให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำที่สุดเพื่อที่จะให้ครอบครัวของคนเหล่านั้นครองชีพอยู่ได้ ตามกฎหมายว่าด้วยการขอรับสวัสดิการช่วยเหลือนั้น ก่อนที่จะมีสิทธิ์ขอสวัสดิการช่วยเหลือที่กล่าวมา สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องแสดงให้เห็นว่า แต่ละคนได้ใช้ความพยายามถึงที่สุดแล้วที่จะรักษาการครองชีพของครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาวะย่ำแย่ แต่ก็ไม่สามารถประคับประคองได้ รัฐจึงจะให้ความช่วยเหลือตามกฎหมายการสงเคราะห์ค่าครองชีพ [ ข้อที่ 4หลักเกณฑ์การช่วยเหลือ ] ผู้ที่สามารถจะยื่นขอสวัสดิการนี้ได้คือ พลเมืองชาวญี่ปุ่น ผู้ที่ถือวีซ่าอยู่อาศัยถาวร คนต่างชาติที่เป็นคู่สมรสของคนญี่ปุ่น และผู้ที่ได้รับอนุญาตพิเศษให้อยู่อาศัยถาวร

2.2 ประเภทของการช่วยเหลือ

สวัสดิการช่วยเหลือที่จะมีให้นั้น มีให้ในหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ขอดังนี้

1. ความช่วยเหลือด้านการครองชีพ : ช่วยเหลือด้านการเงินในการซื้อหาเครื่องอุปโภคบริโภคประจำวัน
2. ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย : ช่วยเหลือด้านการเงินในการจ่ายค่าเช่า ค่าที่ หรือค่าซ่อมแซมบ้านเรือนให้รักษาสภาพอยู่ได้
3. ความช่วยเหลือด้านการศึกษา : ช่วยเหลือด้านการเงินในการจัดหาข้าวกลางวันหรืออุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ ซึ่งความช่วยเหลือนี้จะให้เฉพาะการศึกษาภาคบังคับเท่านั้น
4. ความช่วยเหลือด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย คนชรา : ช่วยเหลือด้านการเงินในการใช้บริการการดูแลรักษาผู้ป่วย หรือ คนชรา
5. ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ : ช่วยเหลือด้านการเงินในค่าโรงพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัย และค่ายาต่าง ๆ
6. ความช่วยเหลือชั่วคราว : ช่วยเหลือด้านการเงินในกรณีที่ต้องการเป็นพิเศษ ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือภายในระยะเวลาและจำนวนเงินที่กำหนดไว้เท่านั้น
7. ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ : ยกเว้นค่าน้ำ (ค่าธรรมเนียมพื้นฐาน) , ค่าประกันภัยในการจราจร,ให้บัตรขึ้นรถเมล์หรือรถไฟใต้ดินได้โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร, ค่าประกันบำนาญประชาชน ,ค่ารับสัญญาณถ่ายทอดของสถานีเอ็นเอชเค ( NHK )

3. สวัสดิการแก่เด็ก

3.1 สถานเลี้ยงเด็ก ให้บริการแก่เด็กเล็กก่อนเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กที่ครอบครัวต้องทำงานหรือเจ็บป่วย ไม่สามารถที่จะดูแลเด็กในเวลากลางวันได้ สถานเลี้ยงเด็กนี้เป็นสวัสดิการที่มีให้ตามกฎหมายสวัสดิการเด็ก จะสังกัดอยู่กับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

สถานเลี้ยงเด็กนี้มีด้วยกัน 2 ประเภทคือ

1. สถานเลี้ยงเด็กที่ได้รับการรับรอง คือ สถานเลี้ยงเด็กที่ได้รับการรับรองจากทางรัฐบาล มีด้วยกัน 2 ประเภทคือ สถานเลี้ยงเด็กที่หมู่บ้าน, อำเภอ หรือ หน่วยบริหารงานท้องถิ่นเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น กับสถานที่เลี้ยงเด็กที่กองสวัสดิการ ซึ่งสังคมเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น และได้รับการรับรองตามกฎระเบียบของกฎหมายสวัสดิการเด็ก เกือบทุกท้องที่จะเปิดรับสมัครเด็กเล็กล่วงหน้า 1 ปี ในตอนต้นเดือนมกราคม แต่ถ้ายังมีที่ว่างอยู่ก็จะสมัครเข้าเมื่อไรก็ได้ ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมก็จะคำนวณจากรายได้ของผู้ปกครองในปีที่ผ่านมา

2.สถานเลี้ยงเด็กที่ไม่ได้รับการรับรอง สถานเลี้ยงเด็กเหล่านี้ภาคเอกชนเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นโดยไม่ได้การรับรองจากกฎหมายสวัสดิการเด็ก กฎเกณฑ์การรับสมัครก็จะขึ้นอยู่กับสถานเลี้ยงเด็กนั้น ๆกำหนดขึ้นมาเอง

3.2 สถานที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเด็ก จะให้คำปรึกษาและข้อแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาทั่วไปของเด็ก รวมไปถึงปัญหาการทารุณเด็กและปัญหาที่เกี่ยวกับเด็กที่พิการทางสมอง ทางฝ่ายสวัสดิการสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะให้คำปรึกษาทั้งในรูปของจดหมายหรือใบประกาศ และอาจจะไปให้คำปรึกษาโดยตรงแก่ผู้ปกครองตามบ้านหรือทางโทรศัพท์

3.3 สถานส่งเสริมช่วยเหลือครอบครัวที่มีแต่แม่และเด็ก เป็นสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่ขาดพ่อ มีแต่แม่และลูกที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยมีเหตุผลบางประการที่ทำให้ไม่สามารถอบรมเลี้ยงดูลูกอย่างเพียงพอได้ ทางนี้ก็จะรับเอาเด็กมาดูแลแทน

3.4 สถานผดุงครรภ์ เป็นสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีครรภ์ที่มีปัญหาทางการเงินในการคลอดบุตร ผู้ที่จะมาใช้บริการได้นั้น จะจำกัดไว้ว่า ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ในปีนั้น ๆ น้อยจนไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

3.5 เงินช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ครอบครัวที่มีเด็กเล็กที่ยังไม่ได้เข้าโรงเรียน จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐเป็นค่าเลี้ยงดู รัฐบาลจะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเด็กให้แก่ผู้ที่เลี้ยงดูแลเด็ก ในระหว่างช่วงเวลาจนถึงวันที่ 31 มีนาคมแรกหลังจากเด็กอายุครบ 12 ปี (ก่อนจบชั้นประถม) แต่กรณีที่รายได้ของปีก่อนหน้ามากกว่าที่กำหนดไว้จะไม่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงรายเดือน งวดเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ( สำหรับเบี้ยเลี้ยงรายเดือนงวดเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม จะพิจารณารายได้ใน 2 ปีก่อนว่ามากกว่าที่กำหนดไว้หรือไม่)

เงินที่จ่าย

ต่ำกว่า 3 ปี 10,000 เยน เท่ากันหมด (รายเดือน)
3 ปีขึ้นไป คนที่ 1 5,000 เยน (รายเดือน)
คนที่ 2 5,000 เยน (รายเดือน)
คนที่ 3 เป็นต้นไป 10,000 เยน (รายเดือน)

เวลาจ่ายเงิน

ค่าเบี้ยเลี้ยงเด็ก ตามปกติจะจ่ายส่วนของเดือนก่อนหน้าในเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมิถุนายน และเดือนตุลาคมของทุกปี

3.6 เงินช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้า ครอบครัวที่พ่อเสียชีวิต หย่าร้าง หรือพิการทางร่างกายหรือจิตใจมาก จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐให้แก่แม่หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กในบ้านที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางร่างกายหรือจิตใจอย่างปานกลาง เงินช่วยเหลือนี้ก็จะมีให้จนกระทั่งถึงอายุ 20 ปี) ทั้งนี้การให้จะมีข้อแม้ขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย

อ้างอิง แก้

  1. "รัฐบาล หน้า 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-27.
  2. http://www.clair.or.jp/tagengorev/th/l/02-1-5.html[ลิงก์เสีย] ภาษีประเทศ หน้า 1.
  3. http://www.ethaitrade.com/blog/435 เก็บถาวร 2017-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Personal Income Tax
  4. http://www.oknation.net/blog/print.php?id=392678[ลิงก์เสีย] ภาษีมรดก
  5. http://www.ia-ibaraki.or.jp/kokusai/paper/guide/lifeguide/thai/06-01.html เก็บถาวร 2015-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระบบประกันสังคม
  6. http://www.ia-ibaraki.or.jp/kokusai/paper/guide/lifeguide/thai/07-01.html เก็บถาวร 2015-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สวัสดิการ