การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์

การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัยในเขตหุบเขากลัง อาทิ โครงข่ายรถไฟและท่าอากาศยานอันทันสมัย เป็นต้น อัตราการใช้งานระบบขนส่งมวลชนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 16[1]

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์ มีท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ คือ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และมีสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์

ประวัติ

แก้

ท่าอากาศยานแห่งแรกในกัวลาลัมเปอร์ คือ ท่าอากาศยานซิมปัง เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1952 จนถึง ค.ศ. 1965 ซึ่งเป็นปีที่ท่าอากาศยานซูบังเปิดใช้งาน รถโดยสารประจำทางสายแรก เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1975[2] ส่วนรถแท็กซี่ ปรากฏครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ใช้รถยี่ห้อมอริสอ็อกซ์ฟอร์ด

ระบบขนส่งมวลชน

แก้

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

แก้

ปัจจุบัน ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกัวลาลัมเปอร์ มีจำนวน 6 สายต่อ 4 ผู้ดำเนินการ รวมทั้ง รถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์ และเคเรตาปิทะนาห์มลายู (เคทีเอ็ม) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะเคทีเอ็ม ซึ่งมียอดผู้โดยสารรวม 30,934,651 คนในปี ค.ศ. 2005[3] ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แบ่งออกเป็นสามประเภท: รถไฟฟ้ารางเบา, รถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ส่วนรถไฟฟ้าระหว่างเมืองนั้น ไม่นับเป็นรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้ารางเบา

แก้

รถไฟฟ้ารางเบาในกัวลาลัมเปอร์ มี 2 สาย ได้แก่ สายเกอลานาจายา (สายสีชมพู) และสายอัมปัง (สายสีเหลือง)

 
รถไฟฟ้าสายเกอลานาจายา

สายเกอลานาจายา เป็นสายที่สำคัญที่สุด เชื่อมระหว่างย่านเกอลานาจายา กับย่านกมบัก ในพื้นที่ทางตอนใต้และตอนกลางของกัวลาลัมเปอร์ ปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ย 170,000 คนต่อวัน และจะเพิ่มเป็น 350,000 คนในวันชาติ สายนี้มีระยะทาง 29 กิโลเมตร เป็นรถไฟฟ้าไร้คนขับยาวอันดับที่สามของโลก รองจาก   สกายเทรนแวนคูเวอร์ (49.5 กิโลเมตร) และ   รถไฟใต้ดินลีล (32 กิโลเมตร) สายเกอลานาจายามีสถานียกระดับ 16 สถานี สถานีใต้ดิน 5 สถานี

 
รถไฟฟ้าสายอัมปัง

สายอัมปัง เป็นอีกสายหนึ่งที่ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์ มีสายย่อยสองสาย ได้แก่ สายอัมปัง และสายศรีเปอตาลิง มีผู้โดยสาร 120,000-150,000 คนต่อวัน[4] ระยะทางรวม 27 กิโลเมตร เนื่องมีสองสายย่อย จึงมีสถานีปลายทางฝั่งใต้สองแห่ง มีจำนวนสถานีทั้งหมด 29 สถานี

 
รถไฟเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส วิ่งผ่านสถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ใช้รางร่วมกับรถไฟเคแอลไอเอ แทรนสิต

รถไฟฟ้าชานเมือง

แก้

กัวลาลัมเปอร์มีระบบรถไฟชานเมืองที่หนาแน่นมาก ผู้ดำเนินการที่สำคัญได้แก่ เคเรตาปิทะนาห์มลายู (เคทีเอ็ม) และ เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ มีรถไฟชานเมือง 4 สาย ได้แก่ สายพอร์ตกลัง, สายเซอเริมบัน, สายย่อยรวัง-กัวลากูบูบาห์รู และสายเคแอลไอเอ แทรนสิต ซึ่งสายเคแอลไอเอ แทรนสิตจะดำเนินการโดยเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ ในขณะที่อีกสามสายที่เหลือจะดำเนินการโดยเคทีเอ็ม ภายใต้โครงข่ายที่ชื่อ รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เส้นทางทั้ง 4 สาย จะผ่านสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ โดยสายเคแอลไอเอ แทรนสิต จะใช้รางร่วมกับสายเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน

แก้

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ดำเนินการโดยเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ เช่นเดียวกันกับเคแอลไอเอ แทรนสิต รถไฟฟ้าใช้เวลาในการเดินทาง 28 นาที ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความถี่ทุก ๆ 15-20 นาที

รถไฟฟ้ารางเดี่ยว

แก้
 
เคแอลโมโนเรล

รถไฟฟ้ารางเดี่ยวในกัวลาลัมเปอร์ มีเส้นทางเดียว เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ กับย่านบูกิตบินตัง ระยะทางทั้งหมด 8.6 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด จำนวนผู้โดยสาร 36,000 คนต่อวัน ปัจจุบันดำเนินการโดยบริษัทรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์[5]

รถโดยสารประจำทาง

แก้
 
รถโดยสารประจำทางคันหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์มีระบบรถโดยสารที่ไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับเมืองอื่น ๆ[6] บริษัท แรพิดเคแอล เป็นบริษัทรถโดยสารประจำทางที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันมีจำนวน 177 เส้นทางต่อรถโดยสาร 849 คัน

รถโดยสารประจำทางมี 4 ประเภท ได้แก่ รถด่วน, รถรับ-ส่งภายในตัวเมือง, รถเร็ว และ รถธรรมดา ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้ตัวย่อ E, B, U และ T ตามลำดับ ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ จะใช้หมายเลขรถแทน เพื่อป้องกันการสับสน

ในกัวลาลัมเปอร์ มีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลัก 4 แห่ง ได้แก่ เคแอลเซ็นทรัล, เคแอลซีซี, มาลูริ และติติวังซา โดยทั้งหมดล้วนตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า นอกจากแรพิดเคแอลแล้ว บริษัทอื่น ๆ ได้แก่ เมโทรบัส ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นบริษัทรถโดยสารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของกรุง รองจากแรพิดเคแอล

 
ทางหลวงยกระดับอัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ ทางฝั่งตะวันออกของกรุง

การขนส่งระหว่างเมือง

แก้

รถไฟระหว่างเมือง

แก้

รถไฟระหว่างเมืองในประเทศมาเลเซีย ดำเนินการโดย เคเรตาปิทะนาห์มลายู เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายทรานส์-เอเชีย ซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศไทย และประเทศสิงคโปร์ รถไฟระหว่างเมืองเกือบทุกขบวนมีต้นทางที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ สายที่มีผู้โดยสารมากที่สุด คือสายกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ ยอดผู้โดยสารรวม 466,000 คนในปี ค.ศ. 2005[7]

โครงการรถไฟความเร็วสูง

แก้

รถไฟความเร็วสูงกัวลาลัมเปอร์–สิงคโปร์ เป็นหนึ่งในโครงการรถไฟความเร็วสูงที่สำคัญ โครงการนี้คิดค้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานแล้ว จะเชื่อมต่อระหว่างเกาะปีนัง-กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ ได้สะดวกสบายมากขึ้น

ถนน

แก้
 
ทางแยกระหว่างถนนจาลันอัมปังและตันราซักในกัวลาลัมเปอร์ มีสถานีรถไฟใต้ดินในบริเวณใกล้เคียงกัน

ถนนเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญที่สุดในกัวลาลัมเปอร์ จุดเด่นของถนนในกัวลาลัมเปอร์ คือ ถนนวงแหวนรอบกรุง ได้แก่ ถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นใน, ถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นกลางแห่งที่ 1 และถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นกลางแห่งที่ 2 ถนนส่วนใหญ่มี 3 เลน บางสายก็เป็นถนนเดินรถทางเดียว[8]

ทางพิเศษ

ทางพิเศษในกัวลาลัมเปอร์ทุกสาย ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ทางพิเศษที่สำคัญได้แก่ ทางหลวงยกระดับอัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ ยิ่งไปกว่านั้น กัวลาลัมเปอร์ยังเป็นเมืองแรกของโลกที่มีอุโมงค์สมาร์ท[9] ซึ่งช่วยในการขนส่งและการระบายน้ำ

กัวลาลัมเปอร์จะมีระบบทางพิเศษที่ซับซ้อนมาก ดังนี้

นี่คือรายชื่อทางพิเศษในเขตหุบเขากลัง

ชื่อทางพิเศษ พื้นที่ให้บริการ ทางพิเศษอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อ
ทางหลวงสหพันธรัฐ กลัง, เปอตาลิงจายา, ซูบังจายา, เกอลานาจายา, ชาห์อลัม ทางพิเศษปันไตใหม่, ทางพิเศษสปรินท์
อุโมงค์สมาร์ท จาลันสุลต่านอิสมาอิล, จาลันตุนราซัก ทางหลวงสหพันธรัฐ, ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน, ทางหลวงเชรัส
ทางพิเศษปันไตใหม่ ซูบังจายา ทางหลวงสหพันธรัฐ, ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน
ทางพิเศษสปรินท์ ดามันสรา, ตามันดูตา ทางพิเศษหุบเขากลังใหม่, ทางหลวงสหพันธรัฐ
ทางพิเศษหุบเขากลังใหม่ ซูบังจายา, กลัง, ดามันสรา ทางพิเศษเหนือ-ใต้, ทางพิเศษเหนือ-ใต้ (เซ็นทรัลลิงก์), ทางพิเศษสปรินท์
ทางพิเศษเหนือ-ใต้ (เซ็นทรัลลิงก์) ปูตราจายา, ไซเบอร์จายา, ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์, ซาอูจานาปูตรา, ชาห์อลัม, นีลาอี ทางพิเศษหุบเขากลังใหม่, ทางพิเศษเหนือ-ใต้
ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน กัวลาลัมเปอร์, เซอเริมบัน, กาจัง, บังกี, นีลาอี ทางพิเศษเหนือ-ใต้ (เซ็นทรัลลิงก์), ทางพิเศษเหนือ-ใต้, อุโมงค์สมาร์ท, ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-ปูตราจายา
ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-ปูตราจายา ปูตราจายา, ไซเบอร์จายา ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน, ทางพิเศษชาห์อลัม
ทางพิเศษชาห์อลัม ชาห์อลัม, ยูเอสเจ, กลัง, โกตะกุมุนิง, บูกิตจาลิล, ศรีเปอตาลิง ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-ปูตราจายา, ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน
ทางพิเศษสุไหงเบซี สุไหงเบซี, บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ทางพิเศษกาจัง, ทางพิเศษเหนือ-ใต้
ทางพิเศษกาจัง กาจัง, เชรัส, สุไหงหลง ทางพิเศษหุบเขากลังใต้, ทางพิเศษเชรัส-กาจัง, ทางพิเศษสุไหงเบซี
ทางพิเศษดูตา-อูลู กลัง ตามันดูตา, อูลูกลัง, กมบัก ทางพิเศษหุบเขากลังใหม่, ทางหลวงกัวลาลัมเปอร์-รวัง, ถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นกลางแห่งที่ 2, ทางพิเศษการัก
ทางหลวงเชรัส เชรัส, สุไหงเบซี ทางพิเศษเชรัส-กาจัง, ถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นกลางแห่งที่ 1, ถนนวงแหวนกัวลาลัมเปอร์ชั้นกลางแห่งที่ 2, ทางพิเศษซาลัก
ทางพิเศษเชรัส-กาจัง เชรัส, กาจัง ทางหลวงเชรัส, ทางหลวงกาจัง-เซอเริมบัน, ทางพิเศษกาจัง, อุโมงค์สมาร์ท
ทางพิเศษกาจัง กาจัง ทางหลวงเชรัส, ทางหลวงกาจัง-เซอเริมบัน
ทางหลวงกาจัง-เซอเริมบัน กาจัง, เซอเมยีห์, เซอเริมบัน ทางพิเศษเชรัส-กาจัง, ทางหลวงเชรัส
ทางพิเศษซาลัก ตามันคัฟนอต, สุไหงเบซี ทางหลวงเชรัส, ทางพิเศษเชรัส-กาจัง, ทางพิเศษกัวลาลัมเปอร์-เซอเริมบัน, อุโมงค์สมาร์ท

รถแท็กซี่

แก้
 
รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์ มักจะมีสีแดง-ขาว, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว หรือเหลือง

รถแท็กซี่มิเตอร์สามารถพบเห็บได้ทั่วไปในกัวลาลัมเปอร์ อย่างไรก็ตาม มีโอกาสยากมากที่จะสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์มีหลายสี ได้แก่ ขาว-แดง, แดง, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว, เหลือง วิธีสังเกตรถแท็กซี่ที่ง่ายที่สุด คือ ด้านหน้ารถจะมีตัว H ติดอยู่ แต่ถ้าเป็นรถแท็กซี่ท่าอากาศยาน จะมีตัว LIMO ติดอยู่

สถานีขนส่งผู้โดยสารหลักที่สำคัญ

แก้

มีสถานีขนส่งผู้โดยสารหลายแห่งที่สำคัญในกัวลาลัมเปอร์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์

เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
 
สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดความหนาแน่นที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เส้นทางรถไฟที่ผ่านสถานีนี้ได้แก่ สายเกอลานาจายา, เคแอลโมโนเรล, รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม, รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม, เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส และเคแอลไอเอ แทรนสิต นอกจากนี้ยังเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สายการบินที่สามารถเช็คอินที่นี่ได้ ได้แก่ มาเลเซียแอร์ไลน์, คาเธ่ย์แปซิฟิค, เอมิเรตส์แอร์ไลน์ และรอยัลบรูไนแอร์ไลน์

สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ยังเป็นศูนย์รวมรถโดยสารประจำทางของแรพิดเคแอลอีกด้วย

ปุตุรายา

ศูนย์รวมรถโดยสารประจำทางที่ใหญ่ที่สุดอยู่ย่านปุตุรายา โดยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในเส้นทางต่าง ๆ ทั่วประเทศ[10] การเดินมายังย่านปุตุรายา สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าสายอัมปังได้

โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ

แก้

ท่าอากาศยาน

แก้
 
สายการบินกาตาร์แอร์เวย์, มาเลเซียแอร์ไลน์ และเซินเจิ้นแอร์ไลน์ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์มีท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และท่าอากาศยาน Sultan Abdul Aziz Shah (ชื่อเดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติซูบัง) (ให้บริการเฉพาะเที่ยวบินเหมาลำเท่านั้น[11])

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ[12] เชื่อมต่อกับนครโดยรถไฟฟ้าเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส และรถโดยสารประจำทาง

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีสถิติผู้สัญจร 35 ล้านคน ขนส่งสินค้า 1.2 ล้านตันต่อปี เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นเป็นอันดับที่ 13 ของโลกในด้านผู้โดยสาร และอันดับที่ 30 ในด้านสินค้า[13] เป็นท่าอากาศยานเพียงไม่กี่แห่งในตะวันออกไกลที่มีเที่ยวบินไปยังทวีปอเมริกาใต้ โดยสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ มีจุดหมายปลายทางในอเมริกาใต้คือกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ดำเนินการโดยกลุ่มท่าอากาศยานมาเลเซีย เป็นฐานการบินหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก, แอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ

ท่าเรือ

แก้
 
ท่าเรือนอร์ทพอร์ต

ท่าเรือที่สำคัญที่สุดในประเทศมาเลเซีย คือ ท่าเรือพอร์ตกลัง ตั้งอยู่ในเขตกลัง รัฐเซอลาโงร์ เดิมมีชื่อว่า ท่าเรือสเวตเทนแฮม เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1893 ช่วงอาณานิคมอังกฤษ ต่อมาได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1901 และได้พัฒนาท่าเรือให้ดีขึ้นในแต่ละปี องค์การท่าเรือพอร์ตกลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 แบ่งท่าเรือ 3 เขต ได้แก่ บอร์ทพอยต์, เซาท์พอยต์ และเวสต์พอยต์ สถิติเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ท่าเรือเขตเวสต์พอยต์ได้ตู้คอนเทนเนอร์ 4-4.3 ล้านกล่อง ส่วนเขตอื่น ๆ เก็บได้ 7.12 ล้านกล่อง รวมน้ำหนัก 133.5 ล้านตัน[14] พอร์ตกลังฟรีโซน มีพื้นที่เก็บสินค้า 1,000 เอเคอร์ ทำให้ท่าเรือที่มีที่เก็บสินค้าเยอะเป็นอันดับที่ 13 ของโลก (สถิติปี ค.ศ. 2005)[15] อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเรื่อยมา[16]

นอกจากจะเป็นท่าเรือสินค้าแล้ว ยังเป็นที่จอดเรือสำราญ ซูเปอร์สตาร์เวอร์โก และ ควีนแมรี่ทู อีกด้วย[17]

การเดินทางไปยังพอร์ตกลัง สามารถทำได้โดยการนั่งรถไฟของ เคเรตาปิทะนาห์มลายู หรือใช้ทางหลวงสหพันธรัฐ กับทางพิเศษชาห์อลัม

โครงการในอนาคต

แก้

พลาซารักยัต

แก้

พลาซารักยัต เป็นตึกระฟ้าอเนกประสงค์ เริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อใช้งานเป็นศูนย์รถโดยสารแทนปุตุรายา อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างได้หยุดชะงักเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง

ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า

แก้

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2006 รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้มีแผนก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าในกัวลาลัมเปอร์ ได้แก่ ส่วนต่อขยายของสายเกอลานาจายาและสายอัมปัง นอกจากนี้ยังมีแผนจะสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่อีกด้วย[18]

ถนนอัจฉริยะ

แก้

ในปี ค.ศ. 2008 ทางพิเศษหลายสายในกัวลาลัมเปอร์ ได้ติดตั้งระบบตรวจสอบบนพื้นถนน ซึ่งได้รับเทคโนโลยีมาจากแถบยุโรป, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, แคนาดา และสิงคโปร์ ระบบนี้สามารถจับความเร็วสูงสุดได้ถึง 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[19] โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 บนทางพิเศษดามันซารา-ปูชง[20] ต่อมาได้ติดตั้งบนทางพิเศษชาห์อลัม[21] และติดตั้งครบสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2010

ทางรถไฟสายวงกลม

แก้

โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เพื่อเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองในหุบเขากลัง มีระยะทาง 70 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างย่านเซนตัล, เกอปง, สุไหงบูโลห์, เกอลานาจายา, ชาห์อลัม, เชรัส และบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน โดยไม่มีการตัดเข้าใจกลางเมืองแต่อย่างใด[22]

ศูนย์รวมการขนส่งบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน

แก้

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน จะได้รับการยกระดับเป็นศูนย์รวมการขนส่งในอนาคต การก่อสร้างเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2007 และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2010[23] ปัจจุบันสถานีนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟฟ้าสายอัมปัง, สายเซอเริมบัน และสายเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Prasarana to buy trains worth RM1.2bil". The Star. 2006-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-10-22.
  2. Kuala Lumpur Mini-Bus Service
  3. "KTMB Statistics on ridership" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  4. Amapng Line Ridership
  5. Prasarana new operator of KL Monorail
  6. "Prasarana to buy trains worth RM1.2bil". The Star. 2006-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2006-10-22.
  7. "KTMB Intercity Statistics" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  8. One Way Streets in Golden Triangle
  9. "World First Dual Purpose Road Tunnel opens". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-22. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  10. "KL 202 Structural Plan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  11. "Subang Airport for Turboprops only". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  12. "Malaysia Airports 2006 Air Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  13. "Airport Traffic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  14. Port Klang expects to handle แม่แบบ:TEU this year
  15. "Port Klang Free Zone". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  16. Two more new investors for PKFZ
  17. "QM2 Sails into Port Klang" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-10. สืบค้นเมื่อ 2015-05-08.
  18. Mergawati Zulfakar (30 August 2006). "Rail travel expansion". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.
  19. "Works Department of Malaysia to introduce Multi Lane Free Flow in Kuala Lumpur". Ministry of Works Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-18. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  20. "'No stop' toll trials to begin in November". The Star. 2008-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-07-22.
  21. "Booth-free trial run at Batu Tiga". New Straits Times.
  22. "Commuter line for suburbs". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17.
  23. "RM570mil terminal project to proceed". The Star. 2008-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.