การก่อการกำเริบวอร์ซอ

การก่อการกำเริบวอร์ซอ(โปแลนด์: powstanie warszawskie; เยอรมัน: Warschauer Aufstand) เป็นปฏิบัติการครั้งสำคัญในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1944 โดยฝ่ายต่อต้านใต้ดินโปลิช ภายใต้การนำโดยกองทัพบ้านเกิด(โปแลนด์: Armia Krajowa) เพื่อปลดปล่อยกรุงวอร์ซอจากการยึดครองของเยอรมัน การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้ประจวบกับการล่าถอยของกองทัพเยอรมันจากโปแลนด์ก่อนที่การรุกของโซเวียตจะมาถึง ในขณะที่ได้เข้าใกล้ชานเมืองทางตะวันออกของเมือง กองทัพแดงได้หยุดปฏิบัติการรบเพียงชั่วคราว ทำให้เยอรมันสามารถรวบรวมกองกำลังใหม่และปราบปรามฝ่ายต่อต้านโปแลนด์และทำลายล้างเมืองเพื่อล้างแค้น การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้ต่อสู้รบเป็นเวลา 36 วันด้วยการสนับสนุนจากภายนอกเล็กน้อย มันเป็นความพยายามทางทหารที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินเพียงลำพังโดยขบวนการต่อต้านของยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

การก่อการกำเริบวอร์ซอ
ส่วนหนึ่งของ Operation Tempest, สงครามโลกครั้งที่สอง
Warsaw Uprising
ตำแหน่งกองทัพบ้านเกิดชาวโปลิช, อยู่ในเส้นสีแดง, ในวันที่ 4 (4 สิงหาคม 1944)
วันที่1 สิงหาคม – 2 ตุลาคม 1944
(2 เดือน กับอีก 1 วัน)
สถานที่วอร์ซอ, โปแลนด์52°13′48″N 21°00′39″E / 52.23000°N 21.01083°E / 52.23000; 21.01083พิกัดภูมิศาสตร์: 52°13′48″N 21°00′39″E / 52.23000°N 21.01083°E / 52.23000; 21.01083
ผล เยอรมนีชนะสงคราม
กรุงวอร์ซอถูกเผาทำลาย
คู่สงคราม

รัฐใต้ดินโปแลนด์
สหราชอาณาจักร กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร including Polish squadrons
(4 สิงหาคม – 21 กันยายน)[1]
แอฟริกาใต้ กองทัพอากาศแอฟริกาใต้[2]
สหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
(เฉพาะวันที่ 18 กันยายน)


โปแลนด์ กองทัพโปแลนด์ที่ 1
(จากวันที่ 14 กันยายน)[1]

สหภาพโซเวียต กองทัพอากาศโซเวียต
(จากวันที่ 13 กันยายน)
 เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

Tadeusz Bór-Komorowski (เชลย)
Tadeusz Pełczyński  (เชลย)
Antoni Chruściel (เชลย)
Karol Ziemski  (เชลย)
Edward Pfeiffer  (เชลย)
Leopold Okulicki
Jan Mazurkiewicz


โปแลนด์ ซึกมุนต์ แบร์ลินก์
สหภาพโซเวียต คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
นาซีเยอรมนี Nikolaus von Vormann
นาซีเยอรมนี Rainer Stahel
นาซีเยอรมนี Erich von dem Bach-Zelewski
นาซีเยอรมนี Heinz Reinefarth
นาซีเยอรมนี โบรนิสลาฟ คามินสกี
นาซีเยอรมนี ออสคาร์ เดียร์เลวังงาร์
นาซีเยอรมนี Petro Dyachenko
กำลัง

Range 20,000[3] to 49,000[4]

(initially)

Range 13,000[5] to 25,000[6]

(initially)
ความสูญเสีย

Polish resistance:
10,000 KIA[7]


5,200–6,000 MIA[7]

5,000 WIA[7]
15,000 POW[7]


Berling 1st Army: 5,660 casualties[7]
German forces:
7,000–9,000 KIA[7]
7,000 MIA[7]
9,000 WIA[7]
2,000 POW[7]
310 tanks and armoured vehicles, 340 trucks and cars, 22 artillery pieces, one aircraft[7]
150,000–200,000 civilians killed,[8] 700,000 expelled from the city.[7]

การก่อการกำเริบครั้งนี้ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเทมเพสท์ที่ก่อการทั่วทั้งประเทศ เปิดฉากพร้อมเดียวกับช่วงการรุกลูบลิน-เบรสต์ของโซเวียต เป้าหมายหลักของโปลคือขับไล่เยอรมันออกไปจากวอร์ซอ ในขณะที่ได้ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะเยอรมนีได้สำเร็จ ส่วนที่เพิ่มเติม, เป้าหมายทางการเมืองของรัฐใต้ดินโปแลนด์คือการปลดปล่อยเมืองหลวงของโปแลนด์และยืนยันอำนาจอธิปไตยของโปแลนด์ก่อนที่คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยโปแลนด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตจะเข้ามาควบคุม ด้วยสาเหตุอื่นๆถัดมา รวมถึงภัยคุกกคามของมวลชนชาวเยอรมันได้ไล่ต้อนชาวโปลที่ร่างกายแข็งแรงสำหรับ"การอพยพ" ที่ถูกเรียกโดยวิทยุมอสโกของราชการโปแลนด์สำหรับการก่อการกำเริบและความต้องการทางอารมณ์ของโปลแลนด์เพื่อความยุติธรรมและการล้างแค้นต่อศัตรูหลังห้าปีที่ถูกเยอรมันยึดครอง

ในช่วงแรก, โปลได้จัดตั้งการควบคุมบนพื้นที่ส่วนใหญ่ในส่วงกลางของวอร์ซอ แต่โซเวียตได้เพิกเฉยต่อความพยายามของโปลในการติดต่อทางวิทยุกับพวกเขาและไม่รุกคืบเกินขอบเขตของเมือง การต่อสู้รบกันบนถนนอย่างดุเดือดระหว่างเยอรมันและโปแลนด์ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อวันที่ 14 กันยายน ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวิสตูลาตรงข้ามกับตำแหน่งฝ่ายต่อต้านโปลที่ยึดครองโดยทหารโปแลนด์ที่ต่อสู้ภายใต้การบังคับบัญชาของโซเวียต 1,200 นายได้ก้าวข้ามแม่น้ำ แต่พวกเขาไม่ได้รับการเสริมกำลังโดยกองทัพแดง ด้วยเหตุนี้และขาดการสนับสนุนทางอากาศจากฐานทัพโซเวียตที่ใช้เวลาบินภายใน 5 นาที นำไปสู่การกล่าวหาว่าโจเซฟ สตาลิน​ได้สั่งให้กองกำลังของเขาหยุดอย่างมีชั้นเชิงเพื่อให้ปฏิบัติการล้มเหลวและทำให้ฝ่ายโปแลนด์ถูกบดขยี้ Arthur Koestler ได้เรียกท่าทีของโซเวียตว่า "หนึ่งในความอัปยศครั้งใหญ่ของสงครามครั้งนี้ซึ่งจะจัดอันดับให้นักประวัติศาสตร์ในอนาคตในระดับศีลธรรมเดียวกับลิดยิตแซ"

วินสตัน เชอร์ชิลได้ขอร้องกับโจเซฟ สตาลินและแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ได้ช่วยเหลือแก่โปแลนด์ พันธมิตรของบริเตนแต่ไร้ประโยชน์แต่อย่างใด จากนั้น, ด้วยปราศจากการเคลียร์ทางอากาศของโซเวียต เชอร์ชิลได้ส่งสัมภาระที่ความสูงระดับต่ำกว่า 200 ฟุตโดยกองทัพอากาศหลวง กองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และกองทัพอากาศโปแลนด์ ภายใต้การบัญชาการของอังกฤษ ในปฏิบัติการได้เป็นที่รู้จักกันคือ การขนส่งทางอากาศวอร์ซอ ต่อมา,หลังได้รับการเคลียร์ทางอากาศของโซเวียต กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่งสัมภาระจำนวนมากในความสูงระดับหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ Frantic

แม้ว่าจะไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอน แต่ก็ได้มีการคาดการณ์ว่ามีสมาชิกของกลุ่มต่อต้านโปลประมาณ 16,000 คนถูกฆ่าตายและบาดเจ็บประมาณ 6,000 คน ในส่วนที่เพิ่มเติม, จำนวนพลเมืองระหว่าง 150,000 และ 200,000 คนล้วนเสียชีวิต ส่วนใหญ่เกิดจากการประหารชีวิตหมู่ ชาวยิวที่ถูกหลบซ่อนโดยชาวโปลได้ถูกเปิดเผยโดยการค้นทั่วบ้านต่อบ้านของเยอรมันและการขับไล่มวลชนในละแวกที่ใกล้เคียงทั้งหมด เยอรมันสูญเสียทหารไปทั้งหมดกว่า 17,000 นายที่ถูกฆ่าตายและสูญหาย ในช่วงระหว่างการสู้รบในเมือง อาคารของกรุงวอร์ซอได้ถูกทำลายประมาณ 25% หลังการยอมจำนวนของกองกำลังโปแลนด์ ทหารเยอรมันได้ทำลายเพิ่มอีกเป็น 35% ของเมืองโดยบล็อกต่อบล็อกอย่างเป็นระบบ เมื่อรวมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในการบุกครองโปแลนด์ ปี ค.ศ. 1939 และการก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต ปี ค.ศ. 1943 เมือง 85% ได้ถูกทำลายโดยเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ช่วงเวลาของเหตุการณ์ในแนวรบด้านตะวันออกได้บีบบังคับเยอรมันต้องละทิ้งเมือง

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 Davies, Norman (2004). Rising '44. The Battle for Warsaw. London: Pan Books. ISBN 0-330-48863-5.
  2. Neil Orpen (1984). Airlift to Warsaw. The Rising of 1944. University of Oklahoma. ISBN 83-247-0235-0.
  3. Borodziej, Włodzimierz (2006). The Warsaw Uprising of 1944. Translated by Barbara Harshav. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-20730-4 p. 74.
  4. Borowiec, Andrew (2001). Destroy Warsaw! Hitler's punishment, Stalin's revenge. Westport, Connecticut: Praeger. ISBN 0-275-97005-1. p. 6.
  5. Borodziej, p. 75.
  6. Comparison of Forces, Warsaw Rising Museum
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 "FAQ". Warsaw Uprising. สืบค้นเมื่อ 3 February 2009.
  8. Borowiec, p. 179.

หนังสือเพื่มเติมแก้ไข

See also http://www.polishresistance-ak.org/FurtherR.htm for more English language books on the topic.

แหล่อข้อมูลอื่นแก้ไข