การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก

การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก เป็นความขัดแย้งกันด้วยอาวุธระหว่างรัฐพม่ากับชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจานับแต่ปี พ.ศ. 2490 ความมุ่งหมายทีแรกของพวกเขาในสมัยขบวนการมุญาฮีดีน (2467–2504) คือ การแยกภูมิภาคชายแดนมายู (Mayu) ในรัฐยะไข่ซึ่งมีประชากรโรฮีนจาอาศัยอยู่ออกจากพม่าตะวันตก แล้วผนวกเข้ากับปากีสถานตะวันออกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งตั้งใหม่ (ปัจจุบันคือประเทศบังกลาเทศ)[43] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 การก่อการกำเริบของชาวโรฮีนจาปรากฏอีกในช่วงสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในปี พ.ศ. 2514 และเมื่อไม่นานมานี้ระหว่างเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ ความปรารถนาของกลุ่มติดอาวุธโรฮีนจาตามที่สื่อต่าง ๆ รายงานคือ การจัดตั้งส่วนเหนือของรัฐยะไข่เป็นรัฐเอกราชหรือรัฐปกครองตนเอง[44][45]

การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก
ส่วนหนึ่งของ ปัญหาภายในประเทศพม่า

แผนที่รัฐยะไข่ที่มีบู้ตี้ดองกับมองดอเป็นสีแดง
วันที่ความรุนแรงในชุมชน: ค.ศ. 1942 – ปัจจุบัน
การก่อความไม่สงบ: ค.ศ. 1947 – ปัจจุบัน
สถานที่
สถานะ

ดำเนินอยู่

คู่สงคราม
 พม่า
บริติชพม่า (1947–1948)
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
(1948–1962)

รัฐบาลทหาร (1962–2011)

 สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011) ARSA (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อดีต:

อะตาอุลลอฮ์ อะบู อัมมัร ญุนูนี[6][7]

อดีต:
  • มีร กัสเซ็ม (เชลย)
  • (1947–1952)
  • อับดุล ลาติฟ
  • (1947–1961)
  • อันนุล เญาลี
  • (1947–1961)
  • โมลวี ญะอ์ฟัร กาวัล
  • (1947–1974)
  • มุฮัมมัด ญะอ์ฟัร ฮะบีบ (1972–1982)
  • มุฮัมมัด ยูนุส (1974–2001)
  • มุฮัมมัด ซะกะรียา (1982–2001)[8]
  • นูรุล อิสลาม (1974–2001)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

กองทัพพม่า

กองทัพแห่งชาติโรฮิงยา (1998–2001)[2][11]
กำลัง
  • ทหาร 15,000–20,000 นาย[12]
  • ตำรวจประมาณ 1,000 นาย[13]
จำนวนในอดีต:
  • 1,100 (1947–1950)[14]

ผู้ก่อความไม่สงบประมาณ 200 คน[a]

จำนวนในอดีต:
ความสูญเสีย
ตั้งแต่ ค.ศ. 2016:
ถูกฆ่า 109 นาย[b]
ตั้งแต่ ค.ศ. 2016:
ถูกฆ่า 475 นาย[c]
  • ตั้งแต่ ค.ศ. 2016:
  • พลเรือนถูกฆ่ามากกว่า 24,000 คน[30][31][32]
  • พลัดถิ่นภายในประเทศ 128,000 คน[33][34]
  • หนีไปต่างประเทศมากกว่า 950,000 คน[d]

ชาวโรฮีนจามุสลิมอาศัยอยู่ในประเทศพม่าประมาณ 800,000 คน และประมาณ 80% ของจำนวนดังกล่าวอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของประเทศ ส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลพม่าปฏิเสธความเป็นพลเมือง[46][47] สหประชาชาติถือว่าโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก[47]

มุญาฮิดีนในยะไข่ (พ.ศ. 2490–2504) แก้

การสู้รบของมุญาฮิดีนในยะไข่ แก้

การต่อสู้เริ่มจากการจัดตั้งพรรคการเมืองญามีอะตุล อูลามาเอ-อิสลาม นำโดยออมราเมียะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุลนาร์ โมฮัมหมัด มูซาฮิดข่าน และโมลนาร์ อิบราฮิม ความพยายามของกลุ่มมุญาฮิดีนเพื่อที่จะรวมเขตชายแดนมายู ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในรัฐยะไข่เข้ากับปากีสถานตะวันออก ก่อนการประกาศเอกราชของพม่า มีผู้นำชาวมุสลิมในยะไข่ไปพบมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งปากีสถานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 เพื่อขอความช่วยเหลือในการผนวกมายูเข้ากับปากีสถาน สองเดือนต่อมา มีการจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมยะไข่เหนือในอักยับ (ปัจจุบันคือซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่) เพื่อแสดงความต้องการที่จะรวมเข้ากับปากีสถาน แต่จินนาห์ปฏิเสธข้อเสนอนี้ในที่สุด

ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลกลางพม่าปฏิเสธที่จะแยกรัฐมุสลิมในเขตมายูซึ่งมีเมืองบูตีดองและเมืองหม่องด่อ ในที่สุด กลุ่มมุสลิมมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือได้ประกาศญิฮาดต่อพม่า กองทัพมุญาฮิดีนได้เริ่มสู้รบในเมืองบูตีดองและหม่องด่อที่อยู่ตามแนวชายแดนระหว่างพม่ากับปากีสถานตะวันออก อับดุล กาเซมเป็นผู้นำกองทัพมุญาฮิดีน ภายในเวลาไม่กี่ปี กลุ่มกบฏมีความก้าวหน้าไปมาก ยึดครองหมู่บ้านในยะไข่ได้หลายหมู่บ้าน ชาวยะไข่ในเมืองทั้งสองถูกบังคับให้ออกจากบ้าน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 การควบคุมของรัฐบาลในเมืองอักยับได้ลดลง ในขณะที่กลุ่มมุญาฮิดีนเข้ามายึดครองยะไข่เหนือ รัฐบาลพม่าได้จับกุมกลุ่มมุญาฮิดีนที่พยายามจะอพยพชาวเบงกอลเข้ามาในรัฐยะไข่อย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากประชากรล้นเกินในปากีสถานตะวันออก

การต่อต้านมุญาฮิดีนโดยกองทัพพม่า แก้

มีการประกาศกฎอัยการศึกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เมื่อการกบฏลุกลามขึ้น และกลุ่มกบฏเข้าล้อมเมืองในเขตมายู กองทัพพม่าที่ 5 และกองทัพชีนที่ 2 ถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ กองทัพพม่าได้เริ่มยุทธการเพื่อต่อต้านมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือ ระหว่าง พ.ศ. 2493–2497 ยุทธการแรกเริ่มใช้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 ยุทธการที่สองเรียกว่ายุทธการมายูเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2495ในช่วงครึ่งหลังของ พ.ศ. 2497 กลุ่มมุญาฮิดีนได้ฟื้นตัวขึ้นและเข้าโจมตีเมืองบูตีดอง เมืองหม่องด่อ และเมืองยะเตดอง

 
ผู้นำมุญาฮิดีนที่ถูกอองจีจับกุมได้เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504

พระภิกษุชาวยะไข่ได้ออกมาประท้วงในย่างกุ้งเพื่อต่อต้านกลุ่มมุญาฮิดีน ผลของการกดดันทำให้รัฐบาลพม่าออก "ปฏิบัติการมรสุม" ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2497 กลุ่มมูญาอิดีนจำนวนมากถูกจับกุมและหัวหน้ากลุ่มถูกฆ่า ทำให้กิจกรรมของกลุ่มลดลงไปกลายเป็นกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่ก่อการร้ายในภาคเหนือของรัฐยะไข่ ใน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 150 คนนำโดยชอร์ มาลุกและซูระห์ ทาน ถูกจับกุม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 กลุ่มมุญาฮิดีน 214 คน ในกลุ่มของราชิดถูกจับกุม ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 กลุ่มมุญาฮิดีน 290 คนทางใต้ของหม่องด่อยอมจำนนต่อกองทัพพม่านำโดยอองจี ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเจรจาระหว่างพม่ากับปากีสถานเกี่ยวกับกบฏตามแนวชายแดน ทำให้ความหวังของกบฏลดลง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 กลุ่มกบฏมุญาฮิดีนกลุ่มสุดท้ายในบูตีดองถูกกองทัพพม่านำโดยอองจีจับกุมได้

ความตกต่ำของมุญาฮิดีน (พ.ศ. 2505–2513) แก้

หลังจากรัฐประหารของนายพลเน วินใน พ.ศ. 2505 กิจกรรมของกลุ่มมุญาฮิดีนลดลงและเกือบจะหายไป ซัฟฟาร์เป็นผู้นำมุญาฮิดีนที่เหลือ และมีการต่อต้านแยกกันเป็นแห่ง ๆ ตามแนวชายแดนพม่า-ปากีสถาน

ขบวนการอิงศาสนาอิสลามโรฮีนจา แก้

ขบวนการทางทหารที่ใช้ความรุนแรง (พ.ศ. 2514–2531) แก้

ระหว่างสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศในพ.ศ. 2514 โรฮีนจาที่อยู่ใกล้แนวชายแดนได้สะสมอาวุธจากสงคราม ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 หัวหน้ากลุ่มกบฏมูญาฮิดีนที่เหลืออยู่คือซัฟฟาร์ได้จัดตั้งพรรคปลดปล่อยโรฮีนจา (RLP) โดยซัฟฟาร์เป็นประธานพรรค ศูนย์กลางการต่อสู้อยู่ที่บูตีดอง เมื่อกองทัพพม่าเริ่มปราบปราม ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 ซัฟฟาร์ได้หนีไปบังกลาเทศและบทบาทของเขาได้หายไป หลังจากการล้มเหลวของ RLP มูฮัมหมัด จาฟาร์ ฮาบิบ อดีตเลขาธิการของ RLP ได้จัดตั้งแนวร่วมโรฮีนจารักชาติ (RPF) ใน พ.ศ. 2517 ต่อมา ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2521 รัฐบาลทหารของเนวินได้จัดยุทธการราชามังกรในยะไข่เพื่อตรวจสอบผู้อพยพที่ผิดกฎหมายที่อาศัยอยู่ในพม่า ทำให้มีชาวโรฮีนจาถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังกลาเทศ ทำให้มีการลุกฮือของชาวโรฮีนจาตามแนวชายแดน RPF ใช้โอกาสนี้เข้ามาปลุกระดม [2][48][49] ต่อมาในราว พ.ศ. 2523 กลุ่มหัวรุนแรงได้แยกออกจาก RPF และจัดตั้งองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา (RSO) นำโดยมูฮัมหมัด ยูนุส ซึ่งเคยเป็นผู้นำของ RPF มาก่อน ต่อมาได้เป็นองค์กรหลักของโรฮีนจาตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ RSO ประกาศตนเป็นองค์กรทางศาสนาจึงได้รับการสนับสนุนจากโลกมุสลิมรวมทั้ง JeI ในบังกลาเทศและปากีสถาน ฆุลบุดดิน เฮกมัตยัร ฮิซบ์เออิสลามี (HeI) ในอัฟกานิสถาน ฮิซบ์อุลมูญาฮิดีนในรัฐชัมมูและกัศมีร์ (HM) อังกาตัน เบเลีย อิสลาม ซามาเลเซีย (ABIM) และองค์กรยุวชนอิสลามแห่งมาเลเซีย องค์กรทางด้านศาสนาอีกองค์กรหนึ่งของโรฮีนจาคือแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 โดยนูรุล อิสลาม อดีตรองประธาน RPF

การขยายตัวทางการทหารและการเชื่อมโยงกับฏอลิบานและอัลกออิดะฮ์ (พ.ศ. 2531–2554) แก้

ค่ายทหารของ RSO ตั้งอยู่ที่เมืองคอกส์บาซาร์ทางใต้ของบังกลาเทศ มีการส่งอาวุธจากฏอลิบานมาให้ตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ บางส่วนได้ส่งทหารไปฝึกในอัฟกานิสถาน[50] การขยายตัวของ RSO ในช่วง พ.ศ. 2533 ทำให้รัฐบาลพม่าเข้ามากวาดล้างตามแนวชายแดนพม่า-บังกลาเทศ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 ทหารพม่าได้ข้ามพรมแดนไปโจมตีกองทหารในบังกลาเทศซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับบังกลาเทศ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ชาวโรฮีนจามากกว่า 250,000 คนถูกผลักดันให้ออกจากยะไข่ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกประณามจากซาอุดีอาระเบีย[2][51]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 มีสมาชิก RSO 120 คนเข้าสู่หม่องด่อโดยข้ามแม่น้ำนาฟที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2537 มีระเบิดเกิดขึ้นในเมืองหม่องด่อ 12 แห่ง[52] ต่อมา ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สมาชิก RSO และแนวร่วมอิสลามโรฮีนจาอาระกัน (ARIF) ได้รวมเข้าด้วยกันและจัดตั้งสภาแห่งชาติโรฮีนจา (RNC) และกองทัพแห่งชาติโรฮีนจา (RNA) นอกจากนั้นได้จัดตั้งองค์กรแห่งชาติโรฮีนจาอาระกัน (ARNO) เพื่อจัดการกับกลุ่มโรฮีนจาที่มีความแตกต่างกันเข้ามาเป็นกลุ่มเดียว ซึ่งมีรายงานว่ากลุ่ม ARNO นี้มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะฮ์[53]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีชายชาวโรฮีนจาประมาณ 80-100 คน ในเมืองหม่องด่อตามแนวชายแดนถูกจับกุมโดยกองทัพพม่าที่ประจำตามแนวชายแดนและถูกเชื่อมโยงกับฏอลิบาน[54][55] กองทหารฏอลิบานที่ชื่อว่ามูลีวี ฮารุนได้ตั้งค่ายฝึกและจัดทำระเบิดทางเหนือของหม่องด่อติดกับชายแดนบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 บุคคลต้องสงสัยที่ถูกจับกุม มี 19 คนถูกนำมาศาลก่อนในเดือนมีนาคมและเมษายนปีเดียวกัน.[56] มี 12 คนที่มีความเกี่ยวข้องกับฏอลิบานหรือกองกำลังติดอาวุธอิสลามถูกตัดสินจำคุกเมื่อ 6 กันยายน พ.ศ. 2554[57]

ความเห็นเกี่ยวกับเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับโรฮีนจา แก้

มอเช เยการ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดขึ้นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่กดดันต่อชาวมุสลิมโรฮีนจา โดยสาเหตุของปัญหาได้แก่ หลังจากที่พม่าประกาศเอกราช มุสลิมไม่ได้รับการยอมรับในราชการทหาร รัฐบาลพม่าได้รับชาวยะไข่ซึ่งต่อต้านชุมชนมุสลิมเข้ามาเป็นตำรวจและเจ้าหน้าที่แทนชาวมุสลิม มุสลิมถูกทหารและตำรวจจับตามอำเภอใจ การประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติได้ก่อให้เกิดปัญหาแก่มุสลิมโรฮีนจา ชาวกะเหรี่ยง กะชีน และชีนที่นับถือศาสนาคริสต์ ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้[58] เยการ์ยังได้กล่าวว่าขบวนการแบ่งแยกดินแดนมุสลิมในยะไข่เกิดขึ้นก่อนพม่าได้รับเอกราช โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการขอแยกดินแดนมายูในรัฐยะไข่ และต้องการเป็นรัฐเอกราชของมุสลิม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 มุสลิมในยะไข่ได้เรียกร้องต่อโมฮัมหมัด อาลี จินนาห์เพื่อขอให้ผนวกดินแดนของตนเข้าไปในปากีสถานที่จะตั้งขึ้นใหม่

อย่างไรก็ตาม กบฏมุญาฮิดีนเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของอูนุซึ่งเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย และชาวมุสลิมยังได้รับการยอมรับจากรัฐบาล การต่อต้านและการกดดันต่อมุสลิมเกิดขึ้นในสมัยนายพลเน วิน นอกจากนั้น ช่วงเวลาในการประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติยังไม่สอดคล้องกันเพราะพม่าประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ในขณะที่กบฏมุญาฮิดีนเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490.[59]

เอ ชาน นักประวัติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคันดะได้เสนอว่า ขบวนการมุญาฮิดีนในยะไข่เกิดจากความรุนแรงระดับหมู่บ้านระหว่างชาวโรฮีนจากับชาวยะไข่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2485[60] โดยในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2485 มุสลิมโรฮีนจาจากภาคเหนือของยะไข่ได้ฆ่าชาวพุทธยะไข่ราว 20,000 คน ในเมืองบูตีดองและหม่องด่อ ในช่วงเวลาเดียวกัน มุสลิมโรฮีนจา 5,000 คนในเมืองมีน-บยาและมเยาะอู ถูกชาวยะไข่ฆ่า[61] ความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอังกฤษติดอาวุธให้ชาวมุสลิมทางภาคเหนือของยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น[62] โดยได้สัญญาว่าหากชาวมุสลิมสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร พวกเขาจะได้รับ "พื้นที่แห่งชาติ"[63] อย่างไรก็ตาม กองกำลังของโรฮีนจากลับพยายามที่จะทำลายหมู่บ้านของชาวยะไข่แทนที่จะต่อต้านญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว ความขัดแย้งระหว่างยะไข่กับโรฮีนจาจึงเกิดขึ้น[60] เมื่อรัฐเอกราชใหม่ของมุสลิมคือปากีสถานกำลังจะได้รับการจัดตั้ง ชาวโรฮีนจาซึ่งขณะนั้นมีกองกำลังติดอาวุธอยู่แล้วจึงต้องการ "พื้นที่แห่งชาติ" ตามที่อังกฤษเคยสัญญาไว้ โดยขอแยกดินแดนมายูออกจากพม่าตะวันตกไปรวมกับปากีสถานตะวันออก มุญาฮิดีนได้ลุกฮือขึ้นในยะไข่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดขึ้นต่อเนื่องมา

หมายเหตุ แก้

  1. การประเมินการจากกองทัพพม่าในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018[15][16]
  2. ทหาร 54 นาย[20][21][22][23][24] ตำรวจ 54 นาย[25][26][21] และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง 1 นาย[27][28]
  3. กองทัพพม่าอ้างว่าได้ฆ่าเฉพาะผู้ก่อความไม่สงบในปฏิบัติการเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถยืนยันจำนวนที่แท้จริงได้[27][29]
  4. ดู[35][36][37][38][39][40][41][42]

อ้างอิง แก้

  1. U Nu, U Nu: Saturday's Son, (New Haven and London: Yale University Press) 1975, p. 272.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Bangladesh Extremist Islamist Consolidation". by Bertil Lintner. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2012. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "BL-1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Myint, Moe (24 October 2017). "Rakhine Crisis in Numbers". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 October 2017.
  4. 4.0 4.1 "New Rakhine Police Chief Appointed". www.irrawaddy.com. 6 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  5. "Myanmar military denies atrocities against Rohingya, replaces general". Reuters. 13 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
  6. Millar, Paul (16 February 2017). "Sizing up the shadowy leader of the Rakhine State insurgency". Southeast Asia Globe Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.
  7. J, Jacob (15 December 2016). "Rohingya militants in Rakhine have Saudi, Pakistan links, think tank says". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2017. สืบค้นเมื่อ 21 December 2016.
  8. "Arakan Rohingya National Organisation – Myanmar/Bangladesh". www.trackingterrorism.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2018. สืบค้นเมื่อ 5 May 2018.
  9. 9.0 9.1 Lewis, Simon; Siddiqui, Zeba; Baldwin, Clare; Andrew R.C., Marshall (26 June 2018). "How Myanmar's shock troops led the assault that expelled the Rohingya". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 27 June 2018.
  10. Hunt, Katie. "Myanmar Air Force helicopters fire on armed villagers in Rakhine state". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2016.
  11. "PRESS RELEASE: Rohingya National Army (RNA) successfully raided a Burma Army Camp 30 miles from nort..." rohingya.org. 28 May 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2016.
  12. "An ethnic militia with daring tactics is humiliating Myanmar's army". The Economist. 16 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2020. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  13. Khine, Min Aung; Ko Ko, Thet (23 August 2018). "Western Border on High Alert as ARSA Attack Anniversary Nears". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2018. สืบค้นเมื่อ 23 August 2018.
  14. 14.0 14.1 14.2 Yegar, Moshe (2002). Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. pp. 37, 30, 44. ISBN 978-0-7391-0356-2. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
  15. Olarn, Kocha; Griffiths, James (11 January 2018). "Myanmar military admits role in killing Rohingya found in mass grave". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  16. "'Beyond comprehension': Myanmar admits killing Rohingya". www.aljazeera.com. 11 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2018. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
  17. Brennan, Elliot; O'Hara, Christopher (29 June 2015). "The Rohingya and Islamic Extremism: A Convenient Myth". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  18. Lintner, Bertil (20 September 2017). "The truth behind Myanmar's Rohingya insurgency". Asia Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
  19. Bhaumik, Subir (1 September 2017). "Myanmar has a new insurgency to worry about". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 8 October 2017.
  20. "One officer and 20 soldiers killed in AA clash". Mizzima (ภาษาอังกฤษ). 10 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  21. 21.0 21.1 Soe, Aung Naing (10 March 2019). "Myanmar says 9 police killed in Arakan Army attack". AP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  22. "3 killed in rocket attack on army tugboat in western Myanmar". Xinhua. 23 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
  23. Myint, Moe (8 July 2019). "Two Dead in Rakhine Border Post Attack". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2019. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  24. Myint, Moe (22 July 2019). "Army Officer, 2 Navy Personnel Killed in AA Rocket Attack in Rakhine". The Irrawaddy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 July 2019.
  25. "Myanmar policeman shot dead in northern Rakhine state". The Guardian. Agence France-Presse (AFP). 23 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  26. "13 policemen die in Rakhine rebel attacks". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 5 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
  27. 27.0 27.1 Slodkowski, Antoni (15 November 2016). "Myanmar army says 86 killed in fighting in northwest". Reuters India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2016. สืบค้นเมื่อ 17 November 2016.
  28. "Myanmar tensions: Dozens dead in Rakhine militant attack". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  29. "Nearly 400 die as Myanmar army steps up crackdown on Rohingya militants". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 September 2017.
  30. Habib, Mohshin; Jubb, Christine; Ahmad, Salahuddin; Rahman, Masudur; Pallard, Henri (18 July 2018). "Forced migration of Rohingya: the untold experience". Ontario International Development Agency, Canada. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019 – โดยทาง National Library of Australia.
  31. "Former UN chief says Bangladesh cannot continue hosting Rohingya". Al Jazeera. 10 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
  32. "Around 24,000 Rohingya Muslims killed by Myanmar army, 18,000 raped: report". Daily Sabah. 19 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 August 2019.
  33. "Myanmar: IDP Sites in Rakhine State (as of 31 July 2018)" (PDF). OCHA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
  34. "Rohingya Crisis in Myanmar" (ภาษาอังกฤษ). Global Conflict Tracker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 October 2018.
  35. "Bangladesh is now home to almost 1 million Rohingya refugees". The Washington Post. 25 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.
  36. "Pope apologizes to Rohingya refugees for 'indifference of the world'". CBC News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  37. "Pope Francis Says 'Rohingya' During Emotional Encounter With Refugees". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  38. "Pope uses term Rohingya during Asia trip". BBC News. 1 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
  39. "Myanmar bars U.N. rights investigator before visit". Reuters. 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  40. "China and Russia oppose UN resolution on Rohingya". The Guardian. 24 December 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  41. "Myanmar Military Investigating a Mass Grave in Rakhine". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  42. "100,000 Rohingya on first repatriation list | Dhaka Tribune". www.dhakatribune.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
  43. Yegar, Moshe (1972). Muslims of Burma. Wiesbaden: Verlag Otto Harrassowitz. p. 96.
  44. "টার্গেট আরাকান ও বাংলাদেশের কয়েকটি জেলা স্বাধীন রাষ্ট্রের স্বপ্ন জঙ্গিদের (Some Arakan and Bangladeshi militants target of Independent State)". Dainik Purbokone Bangladesh. สืบค้นเมื่อ 22 October 2012.
  45. "নতুন রাষ্ট্র গঠনে মিয়ানমারের ১১ টি বিচ্ছিন্নতাবাদী গ্রুপ সংগঠিত হচ্ছে (11 secessionist group is organizing to create a new state in Burma)". The Editor, Bangladesh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  46. "Myanmar, Bangladesh leaders 'to discuss Rohingya'". Agence France-Presse. 29 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-19.
  47. 47.0 47.1 "The Rohingya: A humanitarian crisis". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 23 January 2014.
  48. Lintner, Bertil (1999). Burma in Revolt: Opium and Insurgency Since 1948,. Chiang Mai: Silkworm Books. pp. 317–8.
  49. "Bangladesh: Breeding ground for Muslim terror". by Bertil Lintner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
  50. "Rohingyas trained in different Al-Qaeda and Taliban camps in Afghanistan". By William Gomes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  51. Selth, Andrew (Nov–Dec 2003). Burma and International Terrorism,. Australian Quarterly, vol. 75, no. 6,. pp. 23–28.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  52. "Rohingya Terrorists Plant Bombs, Burn Houses in Maungdaw". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  53. "Wikileaks Cables: ARAKAN ROHINGYA NATIONAL ORGANIZATION CONTACTS WITH AL QAEDA AND WITH BURMESE INSURGENT GROUPS ON THE THAI BORDER". Revealed by Wikileaks. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  54. "Nearly 80 Suspected Taliban Members Arrested in Burma". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  55. "Muslims Arrested in Arakan State Accused of Taliban Ties". Irrawaddy News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  56. "19 Alleged Members of Taliban Group Brought to Trial". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  57. "Twelve Suspected Taliban Sentenced to Jail". Narinjara News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-22.
  58. Lall, Marie (23 November 2009). Ethnic Conflict and the 2010 Elections in Burma[ลิงก์เสีย]. Chatham House.
  59. Burmese Encyclopedia. Yangon: Burma Translation Society. 1963. p. 167.
  60. 60.0 60.1 Aye Chan (2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF). SOAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ November 1, 2011. {{cite web}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  61. Kyaw Zan Tha, MA (July 2008). "Background of Rohingya Problem": 1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  62. Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942-1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
  63. Howard Adelman (2008). Protracted displacement in Asia: no place to call home. Ashgate Publishing, Ltd. p. 86. ISBN 0754672387. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.