กาญจนา นาคสกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์กิตติคุณกาญจนา นาคสกุล เป็นราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย รวมทั้งภาษาและวรรณคดีเขมรมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศ มีผลงานด้านการเขียนเกี่ยวกับภาษาไทยและภาษาเขมรเป็นจำนวนมาก กาญจนาเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้นเมื่อจัดรายการ "ภาษาไทยวันละคำ" โดยหยิบยกคำภาษาไทยที่คนไทยใช้กันผิดพลาดมากมาอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจและใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ในปี 2555 กาญจนาได้เสนอแนวทางการปรับปรุงคำยืมจากภาษาอังกฤษ 176 คำ แต่ได้ถูกคัดค้าน และทางราชบัณฑิตยสถานได้ ประกาศว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เพราะจัดพิมพ์ไปแล้ว ส่วนข้อเสนอของกาญจนายังอยู่ในช่วงพิจารณาภายใน[1]
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล | |
---|---|
เกิด | กาญจนา นาคสกุล |
อาชีพ | อาจารย์ |
มีชื่อเสียงจาก | ราชบัณฑิต |
การศึกษาแก้ไข
- อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (General Linguistics and Phonetics) และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Cambodian and Thai Language and Literature) จากวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
- ปริญญา วปอ. หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
หน้าที่การงานในอดีตแก้ไข
- หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หน้าที่การงานในปัจจุบันแก้ไข
- ราชบัณฑิต สาขาภาษาไทย ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
ผลงานแก้ไข
- กาญจนา นาคสกุล. ระบบเสียงภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
- กาญจนา นาคสกุล. อ่านภาษาเขมร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
- กาญจนา นาคสกุล. ภาษาไทยวันนี้: รวมคำภาษาไทยน่ารู้จากนิตยสารสกุลไทยและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนดี, 2544.
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานแก้ไข
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)