กองเรือยุทธการ

กองเรือนาวีหลักของกองทัพเรือไทย

กองเรือยุทธการ (อังกฤษ: Royal Thai Fleet) คือกำลังหลักในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือไทย ควบคุมการปฏิบัติการทางเรือและการสงครามพิเศษทางเรือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2466 กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

กองเรือยุทธการ
เครื่องหมายราชการ
ประจำการ19 ธันวาคม พ.ศ. 2466; 100 ปีก่อน (2466-12-19)
ประเทศ ไทย
เหล่าNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
รูปแบบทัพเรือ
บทบาทการสงครามผิวน้ำ
การสงครามปราบเรือดำน้ำ
การบินนาวี
การสงครามทุ่นระเบิด
การสงครามลำน้ำ
หน่วยยามฝั่ง
หน่วยรบพิเศษ
กำลังรบมากกว่า 10,000 นาย[1]
ขึ้นกับส่วนกำลังรบ Naval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
กองบัญชาการกองบัญชาการ กองเรือยุทธการ 2041/1 หมู่ 2 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
เพลงหน่วยมาร์ชกองเรือยุทธการ
วันสถาปนา19 ธันวาคม
เว็บไซต์www.fleet.navy.mi.th
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ พลเรือเอก ณัฏฐพล เดี่ยววานิช [2]
รองผู้บัญชาการพลเรือโท กรวิทย์ ฉายะรถี[3]
รองผู้บัญชาการพลเรือโท ศัลย์ แสวงพานิช[4]

ประวัติ

แก้

กองเรือยุทธการเกิดขึ้นมาพร้อมกับการใช้กำลังรบทางเรือของไทยในอดีต แต่ในอดีตไม่มีการแบ่งเหล่าหรือหน่วยงานชัดเจนนัก กระทั่งในรัชกาลที่ 4 ได้มีการแบ่งหน่วยกำลังรบออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งกำลังทางน้ำแบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ ทหารเรือวังหน้า สังกัดการบัญชาการจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และทหารเรือสำหรับรบ สังกัดการบัญชาการจากเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยะวงศ์ว่าที่สมุหกลาโหม ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการโปรดเกล้าให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยกำลังทางเรือให้ทันสมัยเทียบเท่ากับกำลังทางเรือของยุโรป แบ่งออกเป็น 2 หน่วยใหญ่ คือ กรมเรือพระที่นั่งเวสาตรี (Royal Yacht Troops) ประกอบด้วยเรือกลเล็ก เรือพระที่นั่ง และเรือหลวงไม่ติดอาวุธ ขึ้นตรงต่อกรมแสง และกรมอรสุมพร (Gun Vessels) ประกอบด้วยเรือรบที่ติดอาวุธ ขึ้นต่อกรมพระกลาโหม ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2430 ได้โปรดเกล้าให้รวมและจัดตั้ง กรมทหารเรือ เพื่อบังคับบัญชาทหารเรือทั้งหมด สังกัดอยู่ใต้กรมยุทธนาธิการที่บัญชาการร่วมกันทั้งทหารบกและทหารเรือ ก่อนจะแยกออกมาขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2434[5]

จากนั้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 กรมทหารเรือถูกยกฐานะขึ้นเป็นกระทวงทหารเรือ พร้อมทั้งตั้งหน่วยเพื่อดูแลกำลังทางเรือขึ้นมาโดยเฉพาะเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ชื่อว่า "กองทัพเรือ" เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ จากนั้นในปี พ.ศ. 2475-2476[6] ได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วย กองทัพเรือ เป็นชื่อว่า กองเรือรบ ประกอบกับในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าในรวมกระทรวงทหารบก และกระทรวงทหารเรือ รวมกันเป็นกระทรวงกลาโหม และในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงทหารเรือได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพเรือ ให้สอดคล้องกับกองทัพบก เวลาต่อมากองเรือรบจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองเรือยุทธการในปี พ.ศ. 2498 และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน[7]

ในปี พ.ศ. 2567 กองเรือยุทธการได้นำเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.99 ขึ้นมาจัดแสดงบริเวณหน้าทางเข้ากองบัญชาการกองเรือยุทธการ เพื่อแสดงถึงการเชิดชูเรือของพ่อ ซึ่งเรือ ต.99 เป็นเรือที่พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือด้วยพระองค์เอง[8]

ภารกิจ

แก้

กองเรือยุทธการมีภารกิจในการจัดเตรียมกำลังทางเรือสำหรับการปฏิบัติการทางทะเล ปฏิบัติการในลำน้ำ และปฏิบัติการด้วยอากาศยานแบบต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติและรักษาอธิปไตยของประเทศ คุ้มครองเรือประมง และทำหน้าที่ยามฝั่งในการช่วเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล[7][6]

นอกจากนี้กองเรือยุทธการยังเป็นหน่วยหลักในการประสานงานในการฝึกร่วมผสมทางทะเลกับมิตรประเทศต่าง ๆ เช่น กองทัพเรือสหรัฐ กองทัพเรืออินเดีย[9] กองทัพเรือจีน[10] ในรายการฝึกต่าง ๆ เช่น

โครงสร้าง

แก้

กองเรือยุทธการ ประกอบด้วยโครงสร้างหน่วยงานภายใน ดังนี้

กองบัญชาการ

แก้

กองบัญชาการ กองเรือยุทธการ ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน ได้แก่

  • กองกำลังพล
  • กองข่าว
  • กองยุทธการ
  • กองส่งกำลังบำรุง
  • กองสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • กองกิจการพลเรือน
  • กองโครงการและงบประมาณ
  • กองแผนการช่าง
  • กองตรวจสอบสภาพยุทโธปกรณ์
  • กองการเงิน
  • กองพระธรรมนูญ

หน่วยขึ้นตรง

แก้

กองเรือยุทธการ ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง[6] ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติกองเรือยุทธการ
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพเรือ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-09-17.
  6. 6.0 6.1 6.2 ""กองเรือยุทธการ" รำลึก 97 ปี พร้อมทั้งภารกิจสงครามและสังคม". Thai PBS.
  7. 7.0 7.1 "ประวัติกองเรือยุทธการ". www.fleet.navy.mi.th. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "กองทัพเรือนำเรือ ต.99 ขึ้นจากท้องทะเลจัดวางด้านหน้าหน่วยรบกองเรือยุทธการ จ.ชลบุรี". mgronline.com. 2024-09-06.
  9. หนึ่ง (2021-11-12). "ส่งเรือหลวงทยานชล ร่วมลาดตระเวนระหว่างกองทัพเรือไทย-อินเดีย".
  10. จ้อย (2023-09-03). "'ทัพเรือไทย-จีน' โชว์ศักยภาพฝึกผสม BLUE STRIKE 2023".
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "กองเรือตรวจอ่าว". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  12. ""กองเรือฟริเกต" ราชนาวีไทย มีที่มาอย่างไร? ในวงถกการเมืองไทย". Thai PBS.
  13. "กองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  14. 14.0 14.1 14.2 "กองเรือทุ่นระเบิด". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  15. 15.0 15.1 15.2 "Amphibious - Organization". www.fleet.navy.mi.th. สืบค้นเมื่อ 2024-09-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 "กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  17. ""ผบ.ทร."รับมอบ "เรือหลวงมาตรา"". เนชั่นทีวี. 2014-06-27.
  18. "เรือหลวงรัง – Seafarer Library" (ภาษาอังกฤษ).
  19. "กองทัพเรือรับเรือหลวงหลีเป๊ะเข้าประจำการ". Thai PBS.
  20. "ทร. รับ ร.ล.ตาชัย เข้าประจำการ เสริมปฏิบัติการเรือขนาดใหญ่ และเรือดำน้ำ". www.thairath.co.th. 2023-08-21.
  21. "กองเรือยามฝั่ง - Detail Today". www.coastguard.navy.mi.th.
  22. phranakornsoft (2023-01-18). "กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ ทำบุญ เรือ ต.98 และ เรือ ต.99 ก่อนเรือปลดประจำการ". Aboatmagazine.com.
  23. "กองเรือยามฝั่ง - Detail Main". www.coastguard.navy.mi.th.
  24. "กองเรือยามฝั่ง - Detail Today". www.coastguard.navy.mi.th.