อาร์มาดาสเปน

(เปลี่ยนทางจาก กองทัพเรืออาร์มาดา)

กองเรืออาร์มาดา เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน โดยเป็นกองเรือที่ถูกเรียกว่าแข็งแกร่งที่สุดเก่งที่สุด ถูกสร้างขึ้นเพื่อเตรียมบุกชิงราชบัลลังก์อังกฤษเนื่องจากพระเจ้าฟิลิปเปที่ 2 ผู้เป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิก ทรงเห็นว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ผู้ปกครองอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งพระนางทรงเป็นคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์ ไม่คู่ควรกับราชบัลลังก์อังกฤษที่สมควรจะมีไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ที่เป็นโรมันคาทอลิกเท่านั้น แต่เหตุผลที่พระเจ้าฟิลิปเปนำมาอ้างก็คือโจรสลัดอังกฤษปล้นเรือสินค้าของสเปนหลายครั้ง ทำให้สเปนต้องทำการตอบโต้อังกฤษ ในการนี้กองเรืออาร์มาดาได้ยกพลไปบุกอังกฤษถึงสองครั้งแต่ก็พ่ายแพ้ทั้งสองครั้ง

ยุทธนาวีที่เกรฟไลน์
ส่วนหนึ่งของ สงครามอังกฤษ-สเปน

กองเรืออาร์มาดาสเปน และ กองเรืออังกฤษ ในเดือนสิงหาคม 1588
วันที่8 สิงหาคม ค.ศ. 1588
สถานที่
ช่องแคบอังกฤษ, บริเวณใกล้เคียง เกรฟไลน์, บางส่วนของเนเธอร์แลนด์
ผล กองทัพอังกฤษได้รับชัยชนะ แต่ทัพเรือสเปนแตกพ่ายไป จนทำให้อังกฤษพบกับความรุ่งเรืองนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
คู่สงคราม
อังกฤษ ราชอาณาจักรอังกฤษ
สาธารณรัฐดัตช์ สาธารณรัฐดัตช์

สเปนสเปนของฮาพส์บวร์ค

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ลอรด์ฮาเวิร์ดแห่งเอฟฟิงแฮม
ฟรานซิส เดรก
ดยุกแห่งเมดินา ซิโดเนีย
กำลัง
เรือรบ 34 ลำ[1]
เรือพาณิชย์ติดอาวุธ 163 ลำ
[1]
เรือฟลายโบท 30 ลำ
เรือใบกัลเลียนของสเปนและโปรตุเกส 22 ลำ
เรือพาณิชย์ติดอาวุธ 108 ลำ[2]
ความสูญเสีย
ยุทธนาวีที่เกรฟไลน์:
เสียชีวิต 50–100 นาย[3]
บาดเจ็บ 400 นาย
เรือเพลิงไหม้8 ลำ[4]
ล้มป่วย:
6,000–8,000 นาย
ยุทธนาวีที่เกรฟไลน์:
เสียชีวิตมากกว่า 600 นาย
บาดเจ็บ 800 นาย[5]
ถูกจับ 397 นาย
เรือจมหรือโดนจับกุม 5 ลำ[6]
ประสบวาตภัย/ล้มป่วย:
เรืออับปาง 51 ลำ
ท้องเรือแตก 10 ลำ[7]
เสียชีวิต 20,000 นาย[8]
ความพ่ายแพ้ของสเปนที่สมรภูมิแห่งกราเวแลงส์

ลำดับเหตุการณ์ แก้

เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ผู้ซึ่งได้ทำการฟื้นฟูอิทธิพลของนิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษและนอกจากนี้พระนางยังเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ทำให้พระนางเอลิซาเบทได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระนางแมรี แต่พระนางเอลิซาเบททรงเป็นโปรเตสแตนต์ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้พระเจ้าฟิลิปเปที่ 2 ทรงไม่พอพระทัยที่อังกฤษจะกลายไปเป็นพวกโปรเตสแตนต์ พระเจ้าฟิลิปเปที่ 2 จึงทรงตัดสินพระทัยให้สร้างกองเรืออาร์มาดาขึ้นเพื่อทำการบุกอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 1587 สเปนได้ยกทัพยกกองเรื มาอยู่รวมกันที่กรุงลิสบอน โดยมีแผนจะลองเรือผ่านช่องแคบขึ้นไปสมทบกับทหารสเปนที่ประจำอยู่ในเนเธอร์แลนด์แล้วจึงบุกขึ้นฝั่งอังกฤษ ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 นั้นทหารบกสเปนเป็นที่เกรงขามของนานาประเทศในยุโรปทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ทรงคาดคะเนว่าจะชนะได้ไม่ยาก

การโต้กลับของอังกฤษในปีเดียวกันภายใต้การนำของ ฟรานซิส เดรก (Francis Drake) โดยการชิงบุกก่อนที่ทัพเรืออาร์มาดาจะเคลื่อนขบวน ซึ่งทัพเรือของอังกฤษยกกองทัพไปทำลายเสบียงและสัมภาระของทัพเรืออาร์มาดาเสียหายหลายพันตันและยึดแหลมวินเซนต์กับอ่าวลิสบอนไว้ชั่วคราว ก่อนกลับอังกฤษยังยึดเรือสเปนลำหนึ่งพร้อมด้วยทรัพย์สิน 114,000 ปอนด์ไปด้วย

ในปี ค.ศ. 1588 สเปนจัดทัพเรืออาร์มาดาขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จ ประกอบด้วยเรือ 350 ลำจากสเปน 80 ลำจากเวนิสและเจนัวอิตาลี ทหาร 12,000 คน จากการสนับสนุนของอิตาลี และสมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะที่รบเพื่อโรมันคาทอลิก (สำนักวาติกัน) เพิ่มเติมอีก 6,000 คน จากการสนับสนุนของพ่อค้าสเปนอีก 12,000 คน และที่ขุนนางสเปนช่วยกันสมทบ รวมแล้วมีเรือรวมเรือรบและเรือเสบียง 450 ลำ กับทหารและลูกเรืออีก 30,000 คน โดยการนำท่านดยุคแห่งปาร์มา และ สิโดเนียดยุคแห่งเมดินา เป็นผู้บังคับบัญชากองเรือในขณะนั้น เอกสารประวัติศาสตร์บางชิ้นระบุว่าทัพเรือสเปนมีเรือรบขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูง บรรทุกลูกเรือ 20,000 คน แล่นออกจากสเปนแล้วขึ้นไปรับทหารอีก 17,000 คน ของดยุคแห่งปาร์มาที่เนเธอร์แลนด์ โดยมีสิโดเนียดยุคแห่งเมดินาเป็นแม่ทัพใหญ่ของกองเรืออาร์มาดาทั้งหมด

วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1588 กองเรืออาร์มาดาแล่นออกจากท่าลิสบอน ซึ่งในวันที่ 31 กรกฎาคม ทัพเรือทั้งสองปะทะกันเป็นครั้งแรก โดยกองทัพเรืออังกฤษไล่ตีสเปนไปไปตามช่องแคบและสามารถยึดเรือสเปนได้สองลำ ชัยชนะครั้งแรกเป็นของอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 7 สิงหาคม ทัพเรืออังกฤษ และ กองเรืออาร์มาดาได้ต่อสู้กัน แต่เรืออังกฤษทำการบรรทุกเชื้อเพลิงไว้แล้วเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานจากนั้นจุดเพลิงเผาให้วอดแล้วพุ่งชนกองเรือของสเปน ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นและกองเรือของสเปนเกิดความหวาดกลัว ทำให้กองเรือของสเปนต่างถ่อยร้นทำให้กองเรือสเปนแตกพ่าย และนั้นคือจุดจบของกองเรืออาร์มาดาของสเปน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Colin Martin, Geoffrey Parker,The Spanish Armada, Penguin Books, 1999, ISBN 1 901341 14 3, p. 40.
  2. Colin Martin, Geoffrey Parker,The Spanish Armada, Penguin Books, 1999, ISBN 1 901341 14 3, pp.10, 13, 19, 26.
  3. Lewis, Michael.The Spanish Armada, New York: T.Y. Crowell Co., 1968, p. 184.
  4. John Knox Laughton,State Papers Relating to the Defeat of the Spanish Armada, Anno 1588, printed for the Navy Records Society, MDCCCXCV, Vol. II, pp. 8–9, Wynter to Walsyngham: indicates that the ships used as fire-ships were drawn from those at hand in the fleet and not hulks from Dover.
  5. Lewis, p. 182.
  6. Aubrey N. Newman, David T. Johnson, P.M. Jones (1985) The Eighteenth Century Annual Bulletin of Historical Literature 69 (1), 108 doi:10.1111/j.1467-8314.1985.tb00698.
  7. Lewis p. 208
  8. Lewis p. 208-9