กองทัพเบลเยียม
กองทัพเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Armée belge, ดัตช์: Belgisch leger) คือกองกำลังทหารของราชอาณาจักรเบลเยียม กองทัพเบลเยียมได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการประกาศอิสรภาพในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1830 ตั้งแต่นั้นมาได้มีส่วนร่วมสำคัญยิ่งในการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1, สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเย็น (สงครามเกาหลี), วิกฤตการณ์คอซอวอ, โซมาเลีย และอัฟกานิสถาน กองพลร่มคอมมานโด (Para Commando) ได้เข้าคุมสถานการณ์ในแอฟริกากลางหลายครั้งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและการอพยพชาวเบลเยียมออกจากบริเวณ ในปัจจุบันกองทัพเบลเยียมนั้นยังประจำการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเลบานอน อัฟกานิสถาน และอ่าวอีเดน
กองทัพเบลเยียม | |
---|---|
Armée belge / Belgisch leger belgische Armee | |
ตราอาร์มประจำของกองทัพเบลเยียม | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1830 |
เหล่า | กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองทหารแพทย์ (Medical Component) |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บังคับบัญชาสูงสุด | สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | เปียเตอร์ เดอ เกรม (พรรค CD&V) |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | พลเอก เฌราร์ด แวน กาเลนแบร์ก |
กำลังพล | |
อายุเริ่มบรรจุ | อายุ 18 ปีบริบูรณ์ |
ยอดประจำการ | 3,3000 นาย (อันดับที่ 76th) |
ยอดสำรอง | 6,000 นาย |
รายจ่าย | |
งบประมาณ | 3 พันล้านยูโร (FY09)[1] |
ร้อยละต่อจีดีพี | 1.2% (FY09) |
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
ยศ | ยศทหารเบลเยียม |
กองทัพเบลเยียมนั้นแบ่งออกเป็น 4 เหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก (Land Component), กองทัพอากาศ (Air Component), กองทัพเรือ (Naval Component) และกองทหารแพทย์ (Medical Component)
ประวัติ
แก้สถานะในปัจจุบัน
แก้ตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 โดยพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ให้รวมเหล่าทัพทั้งสามเหล่าที่เคยแยกกันอย่างอิสระให้รวมเป็นโครงสร้างหน่วยเดียว และแบ่งแยกเป็นสี่ทัพย่อย (Components) ซึ่งประกอบด้วยจำนวนทหารทั้งสิ้นที่ยังอยู่ในปฏิบัติการประมาณ 47,000 นาย โดยกองทัพเบลเยียมนั้นถูกแบ่งโครงสร้างดังนี้
- กองทัพบก (Land Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพบก" (Land Force) (Land Force / Force Terrestre / Landmacht / Heer);
- กองทัพอากาศ (Air Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพอากาศ" (Air Force / Force Aérienne / Luchtmacht / Luftmacht);
- กองทัพเรือ (Marine Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองทัพเรือ" (Navy Force / Force Navale / Zeemacht / Seemacht),
- กองทหารแพทย์ (Medical Component) ในอดีตเคยเรียกว่า "กองบริการเสนารักษ์" (Medical Service / Service Médicale / Medische dienst / Sanitätsdienst).
งบประมาณทั้งสิ้นกว่า สามพันสี่ร้อยล้านยูโรนั้นถูกแบ่งให้กับเหล่าทัพทั้งสี่โดยแบ่งเป็นอัตราส่วนดังนี้[2]
- ร้อยละ 63 เป็นเงินเดือน
- ร้อยละ 25 เป็นค่าบำรุงรักษาอาวุธยุทโธปกรณ์
- ร้อยละ 12 เป็นค่าลงทุนต่างๆ
ศูนย์กลางการปฏิบัติการของกองทัพแต่ละเหล่านั้น (COMOPSLAND, COMOPSAIR, COMOPSNAV and COMOPSMED) ถือเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกรมการพนักงานฝ่ายปฏิบัติการและฝึกอบรม กระทรวงกลาโหม ซึ่งกำกับดูแลโดยผู้ช่วยผู้บัญชาการฝ่ายปฏิบัติการและฝึกอบรม (ACOS Ops & Trg) และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (CHOD) อีกสายหนึ่งคือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการฝ่ายข่าวกรองและความปลอดภัย (ADIV - SGRS) ซึ่งกำกับดูแลงานด้านข่าวกรองโดยเฉพาะ
เชิงอรรถ และ อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Defence Expenditures of NATO Countries (1985–2009)
- ↑ Het Nieuwsblad; saturday 19, sunday 20 and monday 21 july 2008