กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม
กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม (Liberation Tigers of Tamil Eelam; ทมิฬ: தமிழீழ விடுதலைப் புலிகள்) มีชื่ออื่นๆได้แก่ สมาคมทมิฬระดับโลก สหพันธ์ของสมาคมทมิฬแคนาดา กองทัพเอลอัลลานี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2519 มีจุดประสงค์เพื่อก่อตั้งรัฐทมิฬ เริ่มต่อสู้ด้วยการก่อการร้ายตั้งแต่ พ.ศ. 2526 หัวหน้ากลุ่มคือ เวลูปิลลัย ประภากาเรา
กองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม | |
---|---|
ชื่อพื้นเมือง | தமிழீழ விடுதலைப் புலிகள் |
รู้จักในชื่อ | พยัคฆ์ทมิฬ |
ปีที่ปฏิบัติการ | 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 – 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 |
ผู้นำ | Velupillai Prabhakaran (KIA) |
เป้าหมาย | ก่อตั้งรัฐเอกราชแห่งทมิฬอีฬัมในทางเหนือ และตะวันออกของศรีลังกา. |
แนวคิด | ชาตินิยมทมิฬ Separatism ปฏิวัติสังคมนิยม ฆราวาสนิยม |
สถานะ | ไม่ดำเนินต่อ. กลุ่มถูกทำลายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2009.[1] |
รายได้ประจำปี | $200–300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2][3] |
รายได้ซื้อเครื่องมือ | Donations from expatriate Tamils, extortion,[4] shipping, sales of weapons and taxation under LTTE-controlled areas. |
เว็บ | www |
ปฏิบัติการ แก้ไข
ใช้การสู้รบแบบกองโจร เพื่อทำลายเป้าหมายสำคัญของศรีลังกา นิยมใช้ระเบิดพลีชีพ
สมาชิก แก้ไข
มีพื้นที่หลักในชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกของศรีลังกา แต่จะก่อการร้ายทั่วประเทศศรีลังกา สมาชิกส่วนใหญ่อยู่ในศรีลังกา คาดว่ามีราว 8,000 – 10,000 คน เป็นนักรบ 3,000 – 6,000 คน
การสนับสนุน แก้ไข
กลุ่มนี้เปิดเผยตัวเองอย่างชัดแจ้งในการสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนทมิฬ และวิ่งเต้นขอความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆรวมทั้งสหประชาชาติ ได้รับความช่วยเหลือจากชาวทมิฬที่อาศัยในยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชีย
ปราชัย แก้ไข
หลังทำสงครามกลางเมืองศรีลังกามายาวนานเกือบ 26 ปี ในที่สุด กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมก็เป็นฝ่ายปราชัย[5][ต้องการอ้างอิง] โดย
- วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ประกาศชัยชนะ
- วันที่ 17 พฤษภาคม หัวหน้าฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมประกาศยอมรับความพ่ายแพ้
- วันที่ 18 พฤษภาคม มีข่าวว่าเวลูปิลลัย ประภากาเรา หัวหน้ากลุ่ม เสียชีวิต
- วันที่ 19 พฤษภาคม ประธานาธิบดีมหินทรา ราชปักษา ส่งสารไปถึงรัฐสภาว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายชนะสงคราม และศรีลังกาได้ปลอดจากการก่อการร้ายแล้ว รวมไปถึงมีการยืนยันว่าเวลูปิลลัย ประภากาเรา เสียชีวิตจริง
หลังวันที่ 18 กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีฬัมก็สูญเสียดินแดนทางตอนเหนือและตะวันออกจนหมดสิ้น และสิ้นสุดสถานภาพทางการสู้รบ
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "Rebels admit defeat in Sri Lankan civil war | detnews.com | The Detroit News". detnews.com. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlakabim
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อicg1
- ↑ Shanaka Jayasekara (October 2007). "LTTE Fundraising & Money Transfer Operations". satp.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-08.
แหล่งข้อมูลออนไลน์อื่น แก้ไข
งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง แก้ไข
- ดลยา เทียนทอง. ปฐมบทการก่อการร้าย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
- วงเดือน นาราสัจจ์, "ทมิฬอีแลม (Tamil Ealam) ปัญหาชาติพันธุ์ในศรีลังกา," วารสารประวัติศาสตร์ (2548), หน้า 79-106.