กว้าง รอบคอบ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2482) อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 และอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา[1]

กว้าง รอบคอบ
อธิบดีกรมสามัญศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 2 กันยายน พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าคุณหญิง สมจินตนา ภักดิ์ศรีวงศ์
ถัดไปสุวัฒน์ เงินฉ่ำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2482 (85 ปี)
อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน
คู่สมรสสมสมัย รอบคอบ

ประวัติ

แก้

กว้าง รอบคอบ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2482 (นับแบบใหม่) ที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นบุตรของนายโจม กับนางเพ็ง รอบคอบ ด้านครอบครัวสมรสกับนางสมสมัย รอบคอบ (สกุลเดิม กลิ่นเนียม) มีบุตร 3 คน[2] ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี

กว้าง รอบคอบ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม เมื่อปี พ.ศ. 2498 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา (ป.กศ.) จากโรงเรียนฝึกหัดครูอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2500 ต่อจากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในปี พ.ศ. 2504 และประกาศนียบัตรบัณฑิต ด้านการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ในปี พ.ศ. 2510 นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และหลักสูตรประกาศนียบัตรนักบริหารระดับสูง (นบส.1) รุ่นที่ 9 ในปี พ.ศ. 2534

การทำงาน

แก้

กว้าง รอบคอบ เริ่มรับราชการครู เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในตำแหน่งครูตรี โรงเรียนบำรุงวิทยา (สุนทรวิจิตร) จังหวัดนครพนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้ย้ายเข้ามาทำหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบท (คมช.) ที่โรงเรียนบวรนิเวศ และเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2518 กระทั่งในปี พ.ศ. 2532 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา และเป็นรองอธิบดีกรมสามัญศึกษาในปีถัดมา

กว้าง รอบคอบ ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการระดับ 10 ในปี พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมพลศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ และอธิบดีกรมสามัญศึกษาเป็นตำแหน่งสุดท้ายในอาชีพข้าราชการ

งานการเมือง

แก้

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีธรรม[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ[4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาภายหลังได้รับเลื่อนขึ้นแทนพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ลาออก ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[5] จากนั้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ขอลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน เพื่อไปร่วมงานการเมืองกับพรรคอื่น ส่งผลให้นายกว้าง รอบคอบ ได้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ตามระเบียบข้อบังคับของพรรค และประกาศไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 แต่ยังคงรักษาพรรคไว้ต่อไป[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายกว้าง รอบคอบ[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. "การคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีต่ออีกหนึ่งวาระ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  5. ""กว้าง รอบคอบ"รายงานตัว-ปฏิญาณตนเป็น ส.ส.ต่อสภาแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-29.
  6. ""พรรคเพื่อแผ่นดิน" ประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ไม่ส่งผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2011-05-29.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๘ ง หน้า ๗๔๘, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐