กวินนาถ ตาคีย์ (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2534) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

กวินนาถ ตาคีย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
ถัดไปยอดชาย พึ่งพร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2534 (33 ปี)
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2562)
พลังท้องถิ่นไท (2562–2566)
พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน)
ชื่อเล่นนู้ด

ประวัติ

แก้

กวินนาถ เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2534 เป็นบุตรของนายวรศักดิ์ อาดัม และนางสาวนวพรรณ ตาคีย์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม[2]

การทำงาน

แก้

กวินนาถ เคยประกอบอาชีพทนายความมาก่อน โดยปี 2558 เป็นเสมียนทนายความ บริษัท เอส.เอส อินเตอร์ลอว์ จำกัด ต่อมาในปี 2559 เธอได้เป็นทนายความของบริษัท จากนั้นในปี 2560 เธอได้เป็นทนายความ บริษัท ลีกัล สเตทแอนด์คอนซัลแตนท์ จำกัด ส่วนปี 2561-2562 เป็นทนายความ บริษัท จาสติก้า ลอว์ แอนด์ บิสซิเนส จำกัด[3]

งานการเมือง

แก้

กวินนาถ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 7 ในนามพรรคอนาคตใหม่ โดยได้คะแนน 31,247 คะแนน ชนะนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนนไปเพียง 28,001 คะแนน และเป็น 1 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่สังกัดพรรคอนาคตใหม่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

กวินนาถ ตาคีย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคพลังท้องถิ่นไท

การโหวตสวนทางกับมติของพรรค

แก้

ในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 10 การพิจารณาให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของ คสช. และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ต่อจากการประชุมครั้งที่ 9 กวินนาถได้ร่วมอยู่เป็นองค์ประชุมให้รัฐบาล สวนทางกับมติของพรรคที่ประท้วงด้วยการเดินออก (วอล์ค-เอาต์)

ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคอนาคตใหม่ มีมติขับกวินนาถพ้นจากสมาชิกภาพพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากกวินนาถได้เคยสวนทางกับมติของพรรค[4] โดยมีคะแนนเสียง 250 ต่อ 5 ซึ่งเป็นมติเอกฉันท์ในการขับออกจากสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันหลังจากถูกขับไล่ออกจากพรรคอนาคตใหม่ก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวกวินนาถ ตาคีย์[ลิงก์เสีย]
  2. ประวัตินางสาวกวินนาถ ตาคีย์, ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2562)
  3. ปูมหลังชีวิต “กวินนาถ” เผยเหตุผลโหวตสวน โดนตราหน้าทรยศ ถูกแฉยับช่วงหาเสียง
  4. ด่วน! อนาคตใหม่ ไม่เก็บไว้ ขับ 4 ส.ส.งูเห่าพ้นพรรค หลังโหวตสวนซ้ำซาก
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔