กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

(เปลี่ยนทางจาก กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์)

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (อังกฤษ: Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ
(Biceps brachii)
กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ
กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (ทางขวา)
รายละเอียด
จุดยึดด้านสั้น: โคราคอยด์ โพรเซสของกระดูกสะบัก ด้านยาว: ปุ่มเหนือแอ่งกลีนอยด์
จุดเกาะปุ่มนูนเรเดียส
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงแขน
ประสาทเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส (C5–C7)
การกระทำงอข้อศอก และพลิกหงายปลายแขน
ตัวต้านกล้ามเนื้อไตรเซ็บ เบรกิไอ
ตัวระบุ
ภาษาละตินmusculus biceps brachii
TA98A04.6.02.013
TA22464
ศัพท์ทางกายวิภาคของกล้ามเนื้อ

กายวิภาคศาสตร์ แก้

จุดเกาะ แก้

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้น (origin) แยกเป็นสองจุดที่บริเวณไหล่ จึงเป็นที่มาของชื่อกล้ามเนื้อ biceps ในภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า สองหัว โดยจุดเกาะต้นทั้งสองได้แก่

จุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อมัดนี้จะมีจุดเดียว คือที่ปุ่มนูนเรเดียส (Radial tuberosity) นอกจากนี้ยังมีบางส่วนขยายออกไปเป็นเอ็นแผ่ที่เกาะกับพังผืดของบริเวณส่วนต้นของปลายแขน ซึ่งเรียกว่า เอ็นแผ่ไบซิพิตัล (Bicipital aponeurosis)

หลอดเลือดแดง แก้

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ จะได้รับเลือดจำนวนมากจากหลอดเลือดแดงแขน (Brachial artery) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ต่อลงมาจากหลอดเลือดแดงรักแร้ (Axillary artery) และยังเป็นหลอดเลือดแดงที่นิยมใช้ในการตรวจวัดความดันโลหิตอีกด้วย

เส้นประสาท แก้

เส้นประสาทที่มาสั่งการกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ คือเส้นประสาทมัสคิวโลคิวทาเนียส (Musculocutaneous nerve) ซึ่งเริ่มต้นจากการเชื่อมรวมกันของเส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ คู่ที่ 5,6 และ 7 จากนั้นจึงรวมเป็นแขนงด้านข้าง (lateral cord) ในร่างแหประสาทแขน (Brachial plexus) ก่อนจะแทงทะลุเข้าสู่กล้ามเนื้อคอราโคเบรเคียลิส (Coracobrachialis muscle) ก่อนจะให้แขนงเข้าสู่กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ

หน้าที่การทำงาน แก้

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขนที่ข้อต่อสามจุด ซึ่งได้แก่

รูปประกอบเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  • Gray's anatomy for students. Drake, RL., Vogl, W. and Mitchell, AWM.
  • Clinically Oriented Anatomy, 4th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.