กลุ่มอาการเรย์โนด์

กลุ่มอาการเรย์โนด์[6] (หรือ "เรย์โน" ตามการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส; อังกฤษ: Raynaud syndrome) หรือปรากฏการณ์เรย์โนด์ (อังกฤษ: Raynaud's phenomenon) เป็นอาการทางการแพทย์ตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส ออกุสต์ กาเบรียล มอริซ เรย์โน ผู้อธิบายอาการนี้ครั้งแรกในวิทยานิพนธ์ของเขาในปี 1862 อาการเรย์โนเกิดจากการหดเกร็งของหลอดเลือดฝอย ส่งผลให้เกิดชุด (episodes) ของการไหลเวียนเลือดที่ลดลงในหลอดเลือดฝอยตอนปลาย[1] โดยทั่วไปมักปรากฏอาการนี้นิ้วมือ และบ้างที่นิ้วเท้า[1] และพบได้น้อยในจมูก, หู และริมฝีปาก[1] ช่วงเหล่านี้ส่งผลให้ผิวหนังเกิดกลายเป็นสีขาว จากนั้นจึงเป็นสีน้ำเงิน[2] บ่อยครั้งอาจมีอาการชา หรือเจ็บปวด[2] และทันใดที่การไหลเวียนเลือดกลับคืนมา บริเวณผิวหนังตรงนั้นจะกลายเป็นสีแดงและมีอาการแสบไหม้[2] โดยทั่วไปเกิดขึ้นครั้งละหลายนาที แต่บางกรณีอาจเกิดเป็นชั่วโมง[2]

กลุ่มอาการเรย์โนด์
ชื่ออื่นRaynaud's, Raynaud's disease, Raynaud's phenomenon, Raynaud's syndrome[1]
มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์โน
การออกเสียง
สาขาวิชาวิทยารูมาตอยด์
อาการตรงที่เกิดอาการกลายเป็นสีขาว, จากนั้นน้ำเงิน, จากนั้นแดง, อาการแสบไหม้[2]
ภาวะแทรกซ้อนปวดผิวหนัง, เนื้อตายเน่า[2]
การตั้งต้น15–30 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง[3][4]
ระยะดำเนินโรคเป็นได้ครั้งละหลายชั่วโมง[2]
ปัจจัยเสี่ยงความหนาวเย็น, ความเครียดทางจิตใจ[2]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันคอซัลเกีย, เอริโธรเมลัลเกีย[5]
การรักษาหลีกเลี่ยงความเย็น, ยายับยั้งแคลเซียมชานเนิล, อิโลปรอสต์[3]
ความชุก4% ของประชากร[3]

ตัวกระตุ้นโดยทั่วไปคือความหนาวเย็นและภาวะเครียดทางอารมณ์[2] อาการเรย์โนยังแบ่งออกเป็นเรย์โนปฐมภูมิ (Primary Raynaud's) หรือไอดิโอพาติก ซึ่งเกิดจากอาการหรือสาเหตุที่ไม่ทราบ ส่วนเรย์โนทุติยภูมิ (Secondary Raynaud's) เกิดจากอาการอื่น มีวัยเกิดโรคที่แก่กว่า และมีอาการเจ็บปวดที่รุนแรงกว่ามาก รวมถึงอาจปรากฏแบบอสมมาตรและเกี่ยวกับบาดแผลบนผิวหนัง[3] เรย์โนทุติยภูมิอาจเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อคอนเนคทีฟ เช่น สเคลอโรเดอร์มา และ ลูปัส, อาการบาดเจ็บที่มือ, การสั่นไหวเป็นเวลาต่อเนื่อวยาวนาน, การสูบบุหรี่, ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ และยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด[7] โดยทั่วไปการวินิจฉัยจะดำเนินไปตามอาการ[3]

การรักษาขั้นต้นคือการป้องกันไม่ให้ตรงที่เกิดอาการถูกความหนาวเย็น[3] ส่วนการควบคุมอื่น ๆ อาจมีการสั่งห้ามใช้นิโคตินหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ[3] บางกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียมชานเนิล และ อิโลปรอสต์[3] ในกรณีที่ร้ายแรงมากบางกรณีอาจพบการเจ็บปวดของผิวหนัง หรือ การตายเน่าของเนื้อเยื่อ ซึ่งพบได้ยากมาก[2]

มีผู้ป่วยด้วยอาการนี้ราว 4% ของประชากร[3] เวลาเกิดโรคอยู่ตั้งแต่ 15 ถึง 30 ปี และพบมากกว่าในผู้หญิง[3][4] ส่วนเรย์โนแบบทุติยภูมิมีกพบในผู้สูงอายุมากกว่า[4] ทั้งสองแบบของเรย์โนพบได้ทั่วไปในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "What Is Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "What Are the Signs and Symptoms of Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Wigley, FM; Flavahan, NA (11 August 2016). "Raynaud's Phenomenon". The New England Journal of Medicine. 375 (6): 556–65. doi:10.1056/nejmra1507638. PMID 27509103.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Who Is at Risk for Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.
  5. Barker, Roger A. (2005). The A-Z of Neurological Practice: A Guide to Clinical Neurology (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 728. ISBN 9780521629607. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2017.
  6. ICD10 ฉบับภาษาไทย
  7. "What Causes Raynaud's?". NHLBI. 21 มีนาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก