กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า (อังกฤษ: Antidepressant discontinuation syndrome) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการขัดจังหวะ การลดขนาด หรือการหยุดยาแก้ซึมเศร้า รวมทั้งกลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitors (SSRIs) หรือ serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) โดยมีอาการต่าง ๆ รวมทั้งอาการคล้ายเป็นหวัด และปัญหาทางการนอน ทางประสาทสัมผัส ทางการเคลื่อนไหว ทางอารมณ์ และทางความคิด ในกรณีโดยมาก อาการจะอ่อน ไม่คงอยู่นาน และหายเองโดยไม่ต้องรักษา ส่วนกรณีที่รุนแรง บ่อยครั้งจะรักษาได้โดยให้กลับไปทานยาอีก ซึ่งปกติจะหายภายใน 1 วัน

กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า
Antidepressant discontinuation syndrome
ชื่ออื่นAntidepressant withdrawal syndrome[1]
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
อาการFlu-like symptoms, trouble sleeping, nausea, poor balance, sensory changes[2]
การตั้งต้นภายใน 3 วัน[2]
ระยะดำเนินโรคไม่กี่สัปดาห์ถึงเป็นเดือน[3][4]
สาเหตุStopping of an antidepressant medication[2][3]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันความวิตกกังวล, อาการฟุ้งพล่าน, โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน[2]
การป้องกันค่อย ๆ ลดขนาดยา[2]
ความชุก20-50% (with sudden stopping)[3][4]

อาการ แก้

ผู้ที่มีภาวะนี้คือคนที่ทานยาแก้ซึมเศร้าอย่างน้อย 4 อาทิตย์และพึ่งหยุดยาเร็ว ๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นแบบทันทีทันใด แบบลดขนาดอย่างรวดเร็ว หรือว่าทุกครั้งที่ลดขนาดยาเมื่อกำลังค่อย ๆ ลดยา[2] อาการที่สามัญทั่วไปรวมทั้งอาการคล้ายเป็นหวัด (อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดหัว เหงื่อออก) ปัญหาในการนอน (นอนไม่หลับ ฝันร้าย ง่วงนอนตลอด) ปัญหาทางประสาทสัมผัสหรือการเคลื่อนไหวก็อาจมีได้รวมทั้งเซ สั่น หมุน เวียนหัว และการรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อตในสมอง ปัญหาทางอารมณ์รวมทั้ง ละเหี่ยใจ วิตกกังวล อยู่ไม่สุข และปัญหาทางการรู้คิด เช่น สับสน ตื่นตัวผิดปกติ

ในกรณีที่หยุดยาประเภท Monoamine oxidase inhibitor กะทันหัน อาการโรคจิต (psychosis) ก็อาจมีด้วย[2][5][6] มีอาการกว่า 50 อย่างที่พบแล้ว[7]

กรณีโดยมากเกิดขึ้นเป็นระยะ 1-4 สัปดาห์ อาการอ่อน และหายเอง มีกรณีน้อยที่อาการรุนแรงหรือยาวนานกว่านั้น[2] paroxetine และ venlafaxine ดูยากเป็นพิเศษที่จะหยุด มีคนไข้ที่มีอาการหยุดยาถึง 18 เดือนสำหรับ paroxetine[8][9][10]

การป้องกันและรักษา แก้

อาการหยุดยาสามารถป้องกันได้โดยทานยาตามหมอสั่ง เมื่อจะหยุด ให้ค่อย ๆ หยุด และเมื่อหยุดยาที่มีระยะครึ่งชีวิตสั้น ให้เปลี่ยนไปทานยาที่มีระยะครึ่งชีวิตนานกว่า (เช่น ฟลูอ๊อกซิติน หรือ citalopram) แล้วค่อย ๆ หยุดยานั้น ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสการเกิดหรือมีอาการรุนแรง[5] การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และขึ้นอยู่ว่า ควรจะรักษาด้วยยาต่อหรือไม่ ในกรณีที่ต้องรักษาต่อ ก็เพียงแค่เริ่มทานยาอีก ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่คนไข้ไม่ทำตามคำหมอ ถ้าไม่ต้องรักษาด้วยยาต่อ การรักษาจะขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการ อาการที่เบาอาจไม่ต้องทำอะไรเพียงแต่ให้กำลังใจ อาการปานกลางอาจจะต้องบริหาร ถ้าอาการรุนแรง หรือว่าคนไข้ไม่ตอบสนองต่อวิธีบริหาร อาจจะเริ่มยาอีกแล้วหยุดโดยให้เวลาเพิ่มขึ้นในการค่อย ๆ ลด[8] ในกรณีที่รุนแรงจริง ๆ ที่มีน้อย อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาล[2]

หญิงมีครรภ์และทารกเกิดใหม่ แก้

ยาแก้ซึมเศร้ารวมทั้งแบบ SSRIs สามารถดำเนินข้ามรกไปถึงทารกได้และมีโอกาสมีผลต่อเด็กในครรภ์และทารกเกิดใหม่ จึงเป็นปัญหาว่า หญิงมีครรภ์ควรจะทานยาแก้ซึมเศร้าหรือไม่ และถ้าทาน ควรจะค่อย ๆ หยุดยาในช่วงครรภ์แก่เพื่อให้ผลป้องต่อทารกที่จะเกิดหรือไม่[11]

กลุ่มอาการปรับตัวหลังคลอด (Postnatal adaptation syndrome) ซึ่งเดิมเรียกว่า “neonatal behavioral syndrome”, “poor neonatal adaptation syndrome”, หรือ "neonatal withdrawal syndrome" สังเกตเห็นเป็นครั้งแรกในปี 2516 ในทารกเกิดใหม่ที่มารดาทานยาแก้ซึมเศร้า อาการในทารกรวมทั้งหงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว ตัวเย็นเกิน และปัญหาน้ำตาลในเลือด ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งเป็นวัน ๆ หลังคลอด และมักจะหายภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด[11]

งานวิจัย แก้

กลไกลของอาการหยุดยายังระบุไม่ได้อย่างชัดเจน[2][6]สมมติฐานหัวแถวก็คือ หลังจากที่หยุดยา จะมีความบกพร่องของสารสื่อประสาทอย่างหนึ่งหรือมากกว่านั้นชั่วคราวในสมอง ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการควบคุมอารมณ์ เช่น เซโรโทนิน โดพามีน นอร์เอพิเนฟริน และกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก และเนื่องจากว่าระบบสื่อประสาทเป็นระบบที่พึ่งกันและกัน การทำงานบกพร่องในระบบหนึ่งก็จะมีผลต่อระบบอื่น ๆ ด้วย[2][12]

วัฒนธรรมและประวัติ แก้

รายงานแรกเกี่ยวกับอาการหยุดยาเกิดกับยา imipramine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบ tricyclic ชนิดแรก เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และประเภทของยาแก้ซึมเศร้าใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นก็มีรายงานคล้าย ๆ กัน รวมทั้ง monoamine oxidase inhibitor, SSRIs, และ SNRIs โดยปี 2544 มียาอย่างน้อย 21 ชนิดซึ่งรวมยาแก้ซึมเศร้าจากกลุ่มสำคัญทุกกลุ่ม ล้วนเป็นเหตุให้เกิดอาการ[8] แต่ว่าเป็นปัญหาที่มีการศึกษาน้อย และวรรณกรรมโดยมากเป็นรายงานผู้ป่วยหรืองานศึกษาทางคลินิกขนาดเล็ก ความชุกของอาการยากที่จะกำหนดและมักก่อความขัดแย้ง[8] พร้อมกับการระเบิดใช้และสนใจยาประเภท SSRIs ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะในยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ทั้งความสนใจในปัญหาและตัวปัญหาเองก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[13] อาการบางอย่างปรากฏจากกลุ่มอภิปรายทางอินเทอร์เน็ต ที่คนไข้กล่าวถึงประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับโรคและยาที่ใช้ การเหมือนถูกไฟช็อตในสมอง (ที่เรียกว่า "brain zaps" หรือ "brain shivers") เป็นอาการหนึ่งที่ปรากฏทางเว็บไซต์[14][15]

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นจากสื่อและความเป็นห่วงของสาธารณชนทำให้มีการตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัยของ SSRI ในประเทศอังกฤษ เพื่อประเมินงานวิจัยทั้งหมดที่มีก่อนปี 2547[16]: iv  โดยคณะได้รายงานว่า ความชุกของกลุ่มอาการอยู่ระหว่าง 5-49% ขึ้นอยู่กับชนิดของยา SSRI ระยะเวลาที่ทานยา และการหยุดยาแบบกะทันหันหรือค่อย ๆ หยุด[16]: 126–136 

เพราะไม่มีเกณฑ์อาการที่มีมติร่วมกัน คณะผู้เชี่ยวชาญคณะหนึ่งประชุมกันในปี 2540 เพื่อร่างคำนิยาม[17] โดยมีกลุ่มอื่น ๆ ที่เกลาคำนิยามนั้นต่อมา[18][19]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ผู้ตรวจสอบบางท่านคิดว่า เนื่องจากอาการเกิดหลังจากหยุดยา นี่หมายถึงว่ายาทำให้เกิดการติด และบางครั้งใช้คำว่า "อาการขาดยา (withdrawal syndrome)" เพื่อเรียก เนื่องจากว่าสารเสพติดบางอย่างก่อให้เกิดการติดทางสรีรภาพ และดังนั้นอาการขาดยาจึงทำให้เป็นทุกข์ ต่อมาทฤษฎีเหล่านี้ตกไป เพราะว่าการติดก่อให้เกิดพฤติกรรมหายา และคนที่ทานยาแก้ซึมเศร้าไม่มีพฤติกรรมนี้ ดังนั้น คำว่า withdrawal syndrome จึงไม่ได้ใช้ต่อไปสำหรับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจาการติดยา[2]

คดีฟ้องเป็นกลุ่มปี 2556 แก้

ในปี 2556 มีการฟ้องคดีแบบเป็นตัวแทนกลุ่ม (class action) ชื่อว่า "Jennifer L Saavedra v. Eli Lilly and Company"[20] ต่อบริษัท Eli Lilly and Company โดยอ้างว่าป้ายยา Cymbalta ขาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอาการเหมือนถูกไฟช็อตในสมองและอาการอื่น ๆ เมื่อหยุดยา[21] ส่วนบริษัทร้องให้ศาลยกฟ้องเนื่องจาก "หลักคนกลางมีความรู้ (learned intermediary doctrine)" ที่แพทย์ผู้สั่งยาได้รับคำเตือนถึงปัญหาที่อาจมี และเป็นผู้สื่อความเห็นทางการแพทย์ต่อคนไข้ แต่ว่าในเดือนธันวาคม 2556 ศาลปฏิเสธคำร้องของบริษัท[22]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "Antidepressant Withdrawal Syndrome". ubc.ca. Therapeutics Initiative, The University of British Columbia. 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 August 2018.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 Warner, CH; Bobo, W; Warner, C; Reid, S; Rachal, J (1 August 2006). "Antidepressant discontinuation syndrome". American Family Physician. 74 (3): 449–56. PMID 16913164.
  3. 3.0 3.1 3.2 Gabriel, M; Sharma, V (29 May 2017). "Antidepressant discontinuation syndrome". Canadian Medical Association Journal. 189 (21): E747. doi:10.1503/cmaj.160991. PMC 5449237. PMID 28554948.
  4. 4.0 4.1 Davies, J; Read, J (4 September 2018). "A systematic review into the incidence, severity and duration of antidepressant withdrawal effects: Are guidelines evidence-based?". Addictive Behaviors. 97: 111–121. doi:10.1016/j.addbeh.2018.08.027. PMID 30292574.
  5. 5.0 5.1 Haddad, Peter M.; Anderson, Ian M. (October 2007). "Recognising and managing antidepressant discontinuation symptoms". Advances in Psychiatric Treatment. 13 (6): 447–57. doi:10.1192/apt.bp.105.001966.
  6. 6.0 6.1 Renoir T (2013). "Selective serotonin reuptake inhibitor antidepressant treatment discontinuation syndrome: a review of the clinical evidence and the possible mechanisms involved". Front Pharmacol. 4: 45. doi:10.3389/fphar.2013.00045. PMC 3627130. PMID 23596418.
  7. Haddad PM, Dursun SM (2008). "Neurological complications of psychiatric drugs: clinical features and management". Hum Psychopharmacol. 23 (Suppl 1): 15–26. doi:10.1002/hup.918. PMID 18098217.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Haddad, P. (2001). "Antidepressant discontinuation syndromes". Drug Saf. 24 (3): 183–97. doi:10.2165/00002018-200124030-00003. PMID 11347722.
  9. Tamam, L.; Ozpoyraz, N. (January–February 2002). "Selective Serotonin Reuptake Inhibitor Discontinuation Syndrome: A Review". Advances in Therapy. 19 (1): 17–26. doi:10.1007/BF02850015. PMID 12008858. S2CID 5563223.
  10. Gartlehner G, Hansen RA, Morgan LC, และคณะ (December 2011). "Results". Second-Generation Antidepressants in the Pharmacologic Treatment of Adult Depression: An Update of the 2007 Comparative Effectiveness Review (Report). Comparative Effectiveness Reviews. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality.
  11. 11.0 11.1 Byatt N, Deligiannidis KM, Freeman MP (Feb 2013). "Antidepressant use in pregnancy: a critical review focused on risks and controversies". Acta Psychiatr Scand. 127 (2): 94–114. doi:10.1111/acps.12042. PMC 4006272. PMID 23240634.
  12. Damsa, C.; Bumb, A.; Bianchi-Demicheli, F.; และคณะ (August 2004). "'Dopamine-dependent' side effects of selective serotonin reuptake inhibitors: a clinical review". J Clin Psychiatry. 65 (8): 1064–8. doi:10.4088/JCP.v65n0806. PMID 15323590.
  13. Stutz, Bruce (2007-05-06). "Self-Nonmedication". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-24.
  14. Christmas, M.B. (2005). "'Brain shivers': from chat room to clinic". Psychiatric Bulletin. 29 (6): 219–21. doi:10.1192/pb.29.6.219.
  15. Aronson, J. (2005-10-08). "Bottled lightning". BMJ. 331 (7520): 824. doi:10.1136/bmj.331.7520.824. PMC 1246084.
  16. 16.0 16.1 Expert Group on the Safety of Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) (December 2004). Weller, Ian V.D. (บ.ก.). "Report of the CSM Expert Working Group on the Safety of Selective Serotonin Reuptake Inhibitor Antidepressants" (PDF). Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.
  17. Schatzberg, A.F.; Haddad, P.; Kaplan, E.M.; Lejoyeux, M.; Rosenbaum, J.F.; Young, A.H.; Zajecka, J. (1997). "Serotonin reuptake inhibitor discontinuation syndrome: a hypothetical definition. Discontinuation Consensus panel". J Clin Psychiatry. 5u (7): 5–10. PMID 9219487.
  18. Black, K.; Shea, C.; Dursun, S.; Kutcher, S. (2000). "Selective serotonin reuptake inhibitor discontinuation syndrome: proposed diagnostic criteria". J Psychiatry Neurosci. 25 (3): 255–61. PMC 1407715. PMID 10863885.
  19. WHO Expert Committee on Drug Dependence – Thirty-third Report / WHO Technical Report Series 915 (Report). World Health Organization. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2009.
  20. Jennifer L Saavedra v. Eli Lilly and Company – โดยทาง Justia.com.
  21. Overley, Jeff (January 29, 2013). "Lilly Fights Cymbalta 'Brain Zaps' Suit, Saying It Warned Docs". Law360 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 August 2014.
  22. Tushnet, Rebecca (December 9, 2013). "Learned intermediary doctrine doesn't bar claim at pleading stage". Rebecca Tushnet's 43(B)log (ภาษาอังกฤษ).