กลุ่มภาษาเซมิติกใต้

กลุ่มภาษาเซมิติกใต้ (อังกฤษ: South Semitic) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก นอกเหนือจากกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออก (เช่นภาษาอัคคาเดีย) และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (เช่น ภาษาอาหรับ ภาษาอราเมอิก ภาษาฮีบรู)

กลุ่มภาษาเซมิติกใต้
ภูมิภาค:เยเมน, โอมาน, เอธิโอเปีย, เอริเทรีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
แอโฟรเอชีแอติก
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:ไม่มี[1]

กลุ่มภาษาเซมิติกใต้แบ่งได้อีกเป็นสองสาขาหลัก คือกลุ่มภาษาอาระเบียใต้ที่ใช้พูดทางชายฝั่งตอนใต้ของคาบสมุทรอาระเบีย และกลุ่มภาษาเอธิโอปิกที่พบตามฝั่งทะเลแดงด้านจะงอยของทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะในเอธิโอเปียและเอริเทรียในปัจจุบัน ภาษาหลักในเอริเทรียเช่น ภาษาทีกรินยา ภาษาติเกร เป็นกลุ่มภาษาเอธิโอปิกเหนือ ในขณะที่ภาษาอัมฮาราที่เป็นภาษาหลักในเอธิโอเปียเป็นกลุ่มภาษาเอธิโอปิกใต้

บ้านเกิดของกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ส่วนใหญ่เชื่อว่าอยู่ทางตอนเหนือของของเอธิโอเปียและเอริเทรีย หรือทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาระเบีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ สาขาเอธิโอปิกในแอฟริกา เชื่อว่าเกิดจากการอพยพของผู้พูดภาษาอาระเบียใต้จากเยเมนเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา บางกลุ่มเชื่อว่า การอพยพนี้เป็นการอพยพกลับของกลุ่มผู้พูดตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกที่มีต้นกำเนิดในแอฟริกา และอพยพเข้าสู่ตะวันออกกลางและคาบสมุทอาระเบีย โดยกลุ่มของผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิม แต่นักภาษาศาสตร์บางคน เช่น A. Murtonen (1967) เชื่อว่ากลุ่มภาษานี้มีต้นกำเนิดในเอธิโอเปีย

อ้างอิง

แก้
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "กลุ่มภาษาเซมิติกใต้". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.