กลุ่มภาษามอร์ดวินิก

กลุ่มภาษามอร์ดวินิก (Mordvinic languages)[2] เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษายูราลิก ประกอบด้วยภาษาที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือภาษาเอิร์สยาและภาษามอคชา ทั้งสองภาษามีผู้พูดอยู่ในสาธารณรัฐมอร์โดเวีย [3]

กลุ่มภาษามอร์ดวินิก
กลุ่มเชื้อชาติ:ชาวมอร์ดวิน
ภูมิภาค:รัสเซียตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ยูรัล
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:mord1256[1]

ทั้งสองภาษานี้เคยถูกจัดเป็นภาษาเดียวกันในชื่อ "ภาษามอร์ดวิน"[4][5] แต่ปัจจุบันยกระดับขึ้นเป็นกลุ่มของภาษา[6] เพราะทั้งสองภาษานั้นมีความแตกต่างทางด้านสัทวิทยา รากศัพท์ และไวยากรณ์ ผู้พูดภาษามอคชาและภาษาเอิร์สยาไม่สามารถเข้าใจกันได้ทั้งหมด[7] และนิยมใช้ภาษารัสเซียในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม[8]

ทั้งสองภาษานี้ต่างมีระบบการเขียนเป็นของตนเอง โดยระบบการเขียนของภาษาเอิร์สยาเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2465 ส่วนภาษามอคชาเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2466[9] ชื่อเป็นทางการของภาษานี้ในภาษารัสเซียคือ กลุ่มภาษามอร์ดวิเนียน (รัสเซีย: мордовские языки, mordovskiye yazyki)[10]

อ้างอิง แก้

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Mordvin". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Bright, William (1992). International Encyclopedia of Linguistics. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-505196-4.
  3. Grenoble, Lenore (2003). Language Policy in the Soviet Union. Springer. p. A80. ISBN 978-1-4020-1298-3.
  4. Raun, Alo (1988). Sinor, Denis (บ.ก.). The Uralic languages: Description, history and foreign influences. BRILL. p. A96. ISBN 978-90-04-07741-6.
  5. Mordvin languages @ google books
  6. Hamari, Arja; Ajanki, Rigina (2022). "Mordvin (Erzya and Moksha)". ใน Marianne Bakró-Nagy; Johanna Laakso; Elena Skribnik (บ.ก.). The Oxford Guide to the Uralic Languages. Oxford University Press. pp. 392–431.
  7. Феоктистов А. П. Мордовские языки. основы финно-угорского языкознания. Прибалтийско-финские, саамский и мордовские языки. М., 1975
  8. Minahan, James (2000). One Europe, Many Nations. Greenwood Publishing Group. p. A489. ISBN 978-0-313-30984-7.
  9. Wixman, Ronald (1984). The Peoples of the USSR. M.E. Sharpe. p. A137. ISBN 978-0-87332-506-6.
  10. Dalby, Andrew (1998). Dictionary of Languages. Columbia University Press. p. 429. Erza.