กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง (อังกฤษ: Central malayo-polynesian languages) เป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน[2][3] มีผู้พูดในหมู่เกาะซุนดาน้อยและหมู่เกาะโมลุกกะในทะเลบันดา ใกล้เคียงกับจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก จังหวัดมาลูกู ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศติมอร์-เลสเต (ยกเว้นกลุ่มภาษาปาปัวของติมอร์และเกาะใกล้เคียง) โดยมีกลุ่มภาษาบีมาที่แพร่กระจายในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตกและภาคตะวันออกของเกาะซุมบาวา และกลุ่มภาษาซูลาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดมาลูกูตอนเหนือ เกาะหลัก ๆ ของบริเวณนี้ได้แก่ เกาะซุมบาวา เกาะซุมบา เกาะโฟลเร็ซ เกาะติมอร์ เกาะบูรู และเกาะเซรัม ภาษาที่สำคัญได้แก่ ภาษามัวฆาไรของเกาะโฟลเร็ซตะวันตกและภาษาเตตุนที่เป็นภาษาประจำชาติของติมอร์-เลสเต
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง | |
---|---|
Wallacean | |
(เชิงพื้นที่) | |
ภูมิภาค: | ประเทศอินโดนีเซีย |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ออสโตรนีเซียน
|
| |
ISO 639-5: | plf |
กลอตโตลอก: | cent2245[1] |
กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง (แดง) (เส้นสีดำคือเส้นวอลเลซ) ตามแนวคิดของ Grimes & Edwards โดยมีการรวมคาบสมุทรบมเบอไรถึงบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือด้วย |
การจัดแบ่งกลุ่มภาษานี้มีหลักฐานอ่อน โดยเฉพาะข้อด้อยที่ไม่มีลักษณะร่วมของภาษาในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียกลาง–ตะวันออกที่ต่างจากกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียตะวันออก (Grimes, 1991) ภาษาจำนวนมากทางทางตะวันออกของเกาะโฟลเร็ซและเกาะใกล้เคียงโดยเฉพาะเกาะซาวู มีศัพท์พื้นฐานที่ไม่อยู่ในตระกูลออสโตรนีเซียนมาก และอาจจะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนแน่นอนหรือไม่ (Würm, 1975)
กลุ่มของภาษา
แก้ภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่
- กลุ่มภาษาบีมา-ซุมบา (ภาษาซุมบาวาและภาษาซุมบา)
- กลุ่มภาษาติมอร์
- กลุ่มภาษาดามัรตะวันตก
- กลุ่มภาษาบาบัร
- กลุ่มภาษามาลูกูตะวันตกเฉียงใต้
- กลุ่มภาษาอารู
- กลุ่มภาษาบอมเบไรเหนือ (ตามชายฝั่งของคาบสมุทรบอมเบไรในเกาะนิวกินี)
- กลุ่มภาษามาลูกูกลาง
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Central Malayo-Polynesian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Blust, Robert (1993). "Central and Central-Eastern Malayo-Polynesian". Oceanic Linguistics. 32 (2): 241–293. doi:10.2307/3623195. JSTOR 3623195.
- ↑ Adelaar, Alexander (2005). "The Austronesian languages of Asia and Madagascar: a historical perspective". ใน Adelaar, K. Alexander; Himmelmann, Nikolaus (บ.ก.). The Austronesian Languages of Asia and Madagascar. London: Routledge.