กลุ่มภาษาทิเบต

กลุ่มภาษาทิเบต (Tibetan languages) เป็นกลุ่มย่อยของภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่พูดโดยชาวทิเบตที่อยู่ในบริเวณเอเชียกลางติดต่อกับเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ภาคเหนือของอินเดียในบัลติสถาน ลาดัก เนปาล สิกขิม และภูฏาน ส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนงานทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ

กลุ่มภาษาทิเบต
Tibetan
Central Bodish
กลุ่มเชื้อชาติ:ทิเบต, สิกขิม, ลาดัก, ภูฏาน, เศรปา, จิเรล, บัลติ, โยลโม
ภูมิภาค:จีน (เขตปกครองตนเองทิเบต, มณฑลชิงไห่, มณฑลเสฉวน, มณฑลกานซู่, มณฑลยูนนาน); อินเดีย (ลาดัก, รัฐสิกขิม, รัฐอุตตราขัณฑ์, รัฐหิมาจัลประเทศ, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐอัสสัม); ปากีสถาน (กิลกิต-บัลติสถาน); เนปาล; ภูฏาน
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
จีน-ทิเบต
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:oldm1245[1]
{{{mapalt}}}
พื้นที่ทางวัฒนธรรมทิเบต

ด้วยเหตุผลทางการเมือง สำเนียงของภาษาทิเบตกลาง (รวมทั้งลาซา) คาม และอัมโดในจีน ถือเป็นภาษาทิเบตเพียงภาษาเดียว ในขณะที่ภาษาซองคา ภาษาสิกขิม ภาษาเศรปาและภาษาลาดัก ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก แม้ว่าผู้พูดภาษาดังกล่าวจะถือตนว่าเป็นชาวทิเบตด้วย ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาซองคาและภาษาเศรปามีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงลาซามากกว่าสำเนียงคามและอัมโด

มีผู้พูดกลุ่มภาษาทิเบตทั้งหมดราว 6 ล้านคน ไม่ใช่ทั้งหมดเป็นชาวทิเบต[2] ภาษาทิเบตสำเนียงลาซามีผู้พูดประมาณ 150,000 คนที่เป็นผู้ลี้ภัยในอินเดียและประเทศอื่นๆ ภาษาทิเบตใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในทิเบตที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวทิเบตมากว่าศตวรรษ แต่ไม่สามารถรักษาภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ได้ ชาวเกวียงในคามนั้น รัฐบาลจีจัดให้เป็นชาวทิเบต แต่ภาษาเกวียงอิกไม่ใช่กลุ่มภาษาทิเบต แม้จะอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ภาษาทิเบตคลาสสิกไม่ใช่ภาษาที่มีวรรรยุกต์ แต่บางสำเนียง เช่น ทิเบตกลางและคาม ได้พัฒนาเสียงวรรณยุกต์ขึ้น ส่วนสำเนียงอัมโดและลาดัก และภาษาบัลติไม่มีวรรณยุกต์ ลักษณะของภาษาทิเบตในปัจจุบันเป็นแบบรูปคำติดต่อแม้ว่าจะไม่พบลักษณะนี้ในภาษาทิเบตคลาสสิก

การจัดจำแนกแก้ไข

การแบ่งตามวิธีของ Bradley ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • ภาษาลาดัก หรือภาษาทิเบตตะวันตกโบราณ รวมทั้งภาษาบัลติและภาษาปูริก ไม่มีวรรณยุกต์
  • กลุ่มภาษาทิเบตกลาง มีวรรณยุกตื
  • ภาษาทิเบตตะวันตกสมัยใหม่ พบในลาดักและบริเวณใกล้เคียง
  • ภาษาดบุส-อู พบใน งารี อู-จั้ง และแนวชายแดนทางด้านเหนือของเนปาล
  • ภาษาทิเบตเหนือ พบทางใต้ของมณฑลชิงไห่
  • ภาษาทิเบตใต้ ได้แก่ภาษาสิกขิม ภาษาซองคา ภาษาเศรปา
  • ภาษาคาม มีวรรณยุกต์ ใช้พูดในมณฑลชิงไห่ คามโด เสฉวนและยูนนาน
  • ภาษาอัมโด ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้พูดในชิงไห่ กันซู และเสฉวน

การจัดจำแนกมีความผันแปรมาก บางครั้งรวมสำเนียงคามและอัมโดเข้าด้วยกันเป็นสำเนียงทิเบตตะวันออก (ต่างจากภาษาโบดิชตะวันออก) ภาษาทิเบตที่ใช้ในจีนจัดเป็นภาษาทิเบตมาตรฐาน

ระบบการเขียนแก้ไข

กลุ่มภาษาทิเบตส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรทิเบต แต่ชาวลาดักและชาวบัลติบางส่วนเขียนภาษาของตนด้วยอักษรอาหรับแบบที่ใช้กับภาษาอูรดู ในบัลติสถาน ประเทศปากีสถาน ชาวบัลติเลิกใช้อักษรทิเบตมากว่าร้อยปีซึ่งเป็นอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม ชาวบัลติเริ่มตระหนักถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกโดยเฉพาะจากชาวปัญจาบ จึงพยายามฟื้นฟูอักษรทิเบตขึ้นมาใช้ควบคู่กับอักษรอาหรับ

อ้างอิงแก้ไข

  • Sagart, Laurent; Jacques, Guillaume; Lai, Yunfan; Ryder, Robin; Thouzeau, Valentin; Greenhill, Simon J.; List, Johann-Mattis (2019), "Dated language phylogenies shed light on the history of Sino-Tibetan", Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 116 (21): 10317–10322, doi:10.1073/pnas.1817972116, PMC 6534992, PMID 31061123.
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Early Old Tibetan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Tournadre, Nicolas (2014). "The Tibetic languages and their classification". ใน Owen-Smith, Thomas; Hill, Nathan W. (บ.ก.). Trans-Himalayan Linguistics: Historical and Descriptive Linguistics of the Himalayan Area. De Gruyter. pp. 103–129. ISBN 978-3-11-031074-0. (preprint)

อ่านเพิ่มแก้ไข

  • Beyer, Stephan V. (1992). The Classical Tibetan Language. SUNY Press. ISBN 0-7914-1099-4.
  • Denwood, Philip (1999). Tibetan. John Benjamins Publishing. ISBN 90-272-3803-0.
  • Denwood, Philip (2007). "The Language History of Tibetan". ใน Roland Bielmeier; Felix Haller (บ.ก.). Linguistics of the Himalayas and beyond. Walter de Gruyter. pp. 47–70. ISBN 978-3-11-019828-7.
  • van Driem, George (2001). Languages of the Himalayas: An Ethnolinguistic Handbook of the Greater Himalayan Region containing an Introduction to the Symbiotic Theory of Language. Brill. ISBN 9004103902.
  • AHP43 Amdo Tibetan Language

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข