กลุ่มดาวจระเข้
กลุ่มดาวจระเข้ เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์สว่าง 7 ดวงที่ก่อตัวเป็นส่วนเอวไปจนถึงส่วนหางของกลุ่มดาวหมีใหญ่ มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า เป๋ย์โต่วชีซิง (北斗七星) แปลว่า "ดาวเจ็ดดวงกระบวยเหนือ" เนื่องจากมีรูปร่างเหมือนกระบวย และสว่างเด่นใกล้ขั้วท้องฟ้าเหนือ ในญี่ปุ่นเองก็ใช้ชื่อเรียกนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอีกชื่อว่า ชิจิเค็มโบชิ (七剣星) หรือ ชิโซโนะโฮชิ (四三の星)[1] ดาวทั้ง 6 ดวงเป็นดาวฤกษ์อันดับ 2 ยกเว้นดาวเดลตาซึ่งเป็นดาวฤกษ์อันดับ 3 ด้วยเหตุนี้จึงโดดเด่นมองเห็นได้อย่างง่ายดายบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวในฤดูใบไม้ผลิ และมีการสร้างเรื่องปรัมปรา ต่าง ๆ ขึ้นทั่วโลก
ดาวที่ประกอบกันเป็นกลุ่มดาวจระเข้
แก้ระบบไบเออร์ | ชื่อเฉพาะ | ชื่อจีน | ชื่อเต๋า |
---|---|---|---|
อัลฟาหมีใหญ่ α Ursae Majoris |
Dubhe | 天樞 | 貪狼 |
เบตาหมีใหญ่ β Ursae Majoris |
Merak | 天璇 | 巨門 |
แกมมาหมีใหญ่ γ Ursae Majoris |
Phecda | 天璣 | 禄存 |
เดลตาหมีใหญ่ δ Ursae Majoris |
Megrez | 天權 | 文曲 |
เอปซิลอนหมีใหญ่ ε Ursae Majoris |
Alioth | 玉衡 | 廉貞 |
เซตาหมีใหญ่ ζ Ursae Majoris |
มิซาร์ Mizar |
開陽 | 武曲 |
เอตาหมีใหญ่ η Ursae Majoris |
Alkaid หรือ Benetnasch | 瑤光 | 破軍 |
ความสัมพันธ์กับดาวอื่น
แก้- หากขยายเส้นที่เชื่อมต่อดาว α และ β ไปยังด้าน α 5 เท่าจะเจอกับดาวเหนือ ด้วยเหตุนี้จึงมักถูกใช้เพื่อค้นหาทิศเหนือ
- หากขยายต่อเส้นโค้งจาก δ ไปยัง η จะนำไปสู่ดาวดวงแก้ว ซึ่งเป็นดาวอันดับ 1 ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และหากขยายต่อไปอีกจะเจอกลุ่มดาวหญิงสาว
-
กลุ่มดาวจระเข้กับดาวเหนือ
-
เส้นโค้งที่ลากไปถึงดาวดวงแก้วและต่อไปยังกลุ่มดาวหญิงสาว
อ้างอิง
แก้- ↑ "目に青葉 天に北斗". 中日新聞社. 2018-04-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-12. สืบค้นเมื่อ 2017-07-26.