ฉบับร่าง:กฤษณะ อำนวยพร

(เปลี่ยนทางจาก กฤษณะ อำนวยพร)
กฤษณะ อำนวยพร
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2486
กฤษณะ อำนวยพร
บางซื่อ
จังหวัดพระนคร
คู่สมรสสุกัญญา นาคสนธิ์
อาชีพนักแสดง
นักแข่งรถมอเตอร์ไซค์
นักมวย
ปีที่แสดง(2501-2527)

กฤษณะ อำนวยพร (มีชื่อเล่นว่า แดง) เป็นอดีตนักแสดงดาวร้ายจอเงินชาวไทย[1]

ประวัติ

แก้

กฤษณะหรือแดง เป็นบุตรชายของนายมณีและนางสว่าง อำนวยพร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2486 (บางแหล่งบอกเกิด พ.ศ.2487) มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน หญิง 4 ชาย 3 บิดามีอาชีพเป็นสถาปนิกประจำอยู่กองทัพอากาศ ส่วนมารดาเป็นแม่บ้าน[2]

การศึกษา

แก้

• กฤษณะสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-7 จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

• ชั้น ม.ศ. 5 โรงเรียนโยธินบูรณะ

• ไฮสคูลที่สิงคโปร์

หลังจากเรียนจบ กฤษณะเข้าทำงานที่สายการบิน และมาทำเหมืองฟลูออไรด์ที่ จังหวัดลำพูน

เป็นคนชอบชกมวยและร้องเพลง เข้าสู่วงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 15 ปี ครูสัมพันธ์ พันธ์มณี คนดังแห่งช่อง 4 ผู้จัดละครคณะนาฏศิลปสัมพันธ์ ซึ่งเป็นญาติทางแม่ของเขาได้ชักชวนไปแสดงละครโทรทัศน์ เรื่องแรกคือ พระนเรศวรมหาราช ต่อด้วยขุนศึก ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้ชม นอกจากนั้นยังได้แสดงละครสั้นชุดทหารผ่านศึก ของ รพีพร และละครชุดนี้เองที่ตัวละครที่เขาแสดงมีบทพูดว่า “อย่าให้เซด (Said ในภาษาอังกฤษแปลว่า พูด)” บวกกับท่าทางยียวนกวนประสาทของเขาทำให้วลีนี้ดังมาก และยังคงใช้กันมาจนทุกวันนี้ ด้วยความที่รักในการแสดงกฤษณะก็ยังรับงานแสดงทั้งละครและภาพยนตร์ไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ยังมีงานอดิเรกคือ แข่งรถมอเตอร์ไซค์อีกด้วย

ด้านชีวิตส่วนตัวสมรสกับ สุกัญญา นาคสนธิ์ ผู้ประกาศข่าวของช่อง 4 ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันในปี พ.ศ. 2515 ที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยปลัดอำเภอผู้รับจดทะเบีบนให้คือ อุดมพร คชหิรัญ หรือ นาท ภูวนัย พระเอกชื่อดัง ณ ตอนนั้นนั่นเอง

ปัจจุบัน กฤษณะ อำนวยพร เสียชีวิตแล้ว

ผลงาน

แก้

ผลงานภาพยนตร์

แก้
  • สั่งอินทรีขาวถล่มกรุง 2501
  • ขุนทาส 2513
  • สื่อกามเทพ 2514
  • วิมานสีทอง 2514
  • แม่ศรีไพร 2514
  • นางฟ้าชาตรี 2514
  • กระท่อมปรีดา 2515
  • จันทร์เพ็ญ 2515
  • 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน 2515
  • นี่แหละรัก 2515
  • ทอง ภาค 1 2516[3]
  • จ้าวทุ่ง 2516
  • ส้มตำ 2516
  • มารรัก 2516
  • ไม้ป่า 2516
  • แก้วตาขวัญใจ 2516
  • เจ้าปลิวสิงห์สุพรรณ 2516
  • ผู้กองยอดรัก 2516
  • ข้ามาจากแม่น้ำแคว 2517
  • ขัง 8 2517
  • ตัดเหลี่ยมเพชร 2518[4]
  • สาวแรงสูง 2518
  • พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ 2518
  • ไอ้เหล็กไหล 2518
  • ชายชาติเสือ 2518
  • มัน 2518
  • แด่คุณครูด้วยคมแฝก 2518
  • ดาวสวรรค์ฉันรักเธอ 2518
  • แซ่บ 2519
  • ไอ้ปืนแฝด 2519
  • สัตว์มนุษย์ 2519
  • ชุมแพ 2519[5]
  • เสือ 4 แคว 2519
  • จงอางเพลิง 2520
  • ตบะแตก 2520
  • อีเสือ 2520
  • ลุย 2520
  • ไอ้ตีนโต 2520
  • ความรักไม่มีขาย 2520
  • เขี้ยวเสือเล็บสิงห์ 2520
  • 12 สิงห์สยาม 2520
  • โตเมืองใต้ 2520
  • ลูกขวาน 2520
  • ฆ่าอย่างเดียว 2521
  • พ่อเสือลูกสิงห์ 2521
  • 10 ยอดแสบ 2521
  • ข้ามาคนเดียว 2521 (รับเชิญ)
  • ดงเย็น 2521
  • ผานกเค้า 2522
  • ส.ต.อ. ใจถึง 2522
  • ฟ้าเพียงดิน 2524
  • นักสู้หน้าเซ่อ 2527

ละครโทรทัศน์

แก้

ภาพยนตร์โทรทัศน์

แก้
  • โมรากับโจรป่า
  • เยี่ยมวิมาน
  • ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างอิง

แก้
  1. "‘ดาวร้าย’ หายเข้ากลีบเมฆ | It's Me" https://pphome.wordpress.com/2011/01/13/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86/
  2. กฤษณะ อำนวยพร
  3. ทอง 2516
  4. ตัดเหลี่ยมเพชร 2518
  5. ["หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) | ชุมแพ" https://www.fapot.or.th/main/heritage/view/160 นักแสดงภาพยนตร์ ชุมแพ พ.ศ.2519]