กฤษดา สุโกศล แคลปป์

(เปลี่ยนทางจาก กฤษฎา สุโกศล แคลปป์)

กฤษดา สุโกศล แคลปป์ (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2513) ชื่อเล่น น้อย เป็นนักร้องนำวงพรู นักแสดงชาวไทย นอกเหนือจากผลงานการแสดงเขายังเป็นผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยามร่วมกับครอบครัว กมลา สุโกศล หลังห่างหายไปถึงสิบสองปี น้อยก็กลับมาในฐานะศิลปินเดี่ยว โดยได้ศิลปินมาช่วยแต่งเพลงอย่าง บอย โกสิยพงษ์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และ ตรัย ภูมิรัตน[1]

กฤษดา สุโกศล แคลปป์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดกฤษดา สุโกศล แคลปป์
เกิด26 ธันวาคม พ.ศ. 2513 (53 ปี)
คู่สมรสMelanie Giles
บุตร2 คน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2539–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นภูชิต – 13 เกมสยอง (2549)
จ๊อด – อันธพาล (2555)
อัลฮาวียะลู - ขุนพันธ์ (2559)
หก - ปิดเมืองล่า PATTAYA HEAT (2567)
สุพรรณหงส์นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
13 เกมสยอง (2549)
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
ขุนพันธ์ (2559)
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
13 เกมสยอง (2549)
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ประวัติและการศึกษา แก้

กฤษดา เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน และเป็นน้องชายของสุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ จบปริญญาตรีด้านมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยบอสตัน[2] จากนั้นใช้ชีวิตนักแสดงตามเวทีและสถานที่เล็ก ๆ ในนิวยอร์ก เรียนการแสดง เล่นละครเวทีไปด้วยและทำงานเสิร์ฟอาหารไปด้วยอยู่ 3 ปี จึงกลับประเทศไทย จากนั้นก็ได้ฟอร์มวงพรู[3]

มีผลงานการแสดงภาพยนตร์ไทยอย่าง คนกราบหมา (2539) หัวใจทรนง (2547) ทวารยังหวานอยู่ (2547) และ 13 เกมสยอง (2549)[4] ซึ่งจากเรื่องนี้เองทำให้กฤษดาได้รับรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549[5]

ผลงาน แก้

ภาพยนตร์ แก้

ผลงานพิเศษ แก้

น้อย วงพรูได้ร้องเพลง "เหนื่อยใจ" ในอัลบั้ม Ford & Friends Sing Stone อัลบั้มรวมเพลงจากคอนเสิร์ต “Ford & Friends Let’s Sing Stone and 90th’s Memory” โดยได้คัดเลือกจากบทเพลงดังในอดีตที่ดีที่สุด ของค่าย Stone Entertainment ที่นำมาทำใหม่[6]

ธุรกิจ แก้

ผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยาม แก้

น้อย วงพรูได้เป็นผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ (3/2 ถ.ขาว วชิรพยาบาล ดุสิต ดุสิต, กรุงเทพมหานคร 10300) ตั้งใกล้กับสะพานซั้งฮี้ ซึ่งโรงแรมได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยมีผลตอบรับค่อนข้างดี และยังได้ลงนิตยสารเมืองนอก Travel + Leisure และได้ Top 20 โรงแรมของโลกและได้รับโหวตให้เป็น number one city hotel of the world[7] โดยถูกออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังระดับโลก บิล เบนส์เล การตกแต่งจะใช้โทนสีขาว และดำแซมด้วยเฟอร์นิเจอร์สมัยโบราณ ผสานกลิ่นตะวันตก เข้ากับความคลาสสิกและอบอุ่น อ่อนโยนแบบไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ห้องพัก ทั้งหมดมี 39 ห้องมีพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น 80-160 ตร.ม. ภายในมีเตียงขนาดใหญ่เพดานสูง แต่ละห้องตกแต่งโดยธีม ที่แตกต่างกัน ประดับด้วยเฟอร์นิเจอร์หรู งานศิลปะ และวัตถุโปราณ แฝงมนต์สเน่ห์และกลิ่นอายอารยธรรมร่วมสมัย

โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก สระว่ายน้ำแบบอินฟินิตี้, ฟิตเนส และเวทีมวยไทย พร้อมเทรนเนอร์ส่วนตัว, โยคะกลางแจ้ง, ห้องสมุด, ห้องฉายภาพยนตร์ สไตล์ย้อนยุค, ห้องประชุมสัมมนา, แกลเลอรี่วัตถุโบราณหายาก (ของสะสมส่วนตัวของน้อย วงพรู), ท่าเรือส่วนตัว พร้อมสปีดโบ๊ต และไวไฟฟรี[8][9]

รางวัล แก้

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ แก้

Year Nominated work Category Result
2549 13 เกมสยอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ชนะ
2559 ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ขุนพันธ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ชนะ

รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง แก้

Year Nominated work Category Result
2549 13 เกมสยอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ชนะ

ครอบครัว แก้

น้อย วงพรูสมรสกับนางเมลานี สุโกศล แคลปป์เป็นลูกครึ่งฮ่องกง - อังกฤษเป็นคุณครูโรงเรียนนานาชาติและมีลูกสองคน (ลูกครึ่งจีน-สิงคโปร์) ชื่อว่า ฟินน์และโรซี่[10][11][12]

อาการบาดเจ็บ แก้

น้อย วงพรู เคยต้องรักษาอาการบาดเจ็บจากขามาแล้วสองครั้ง และทุกครั้งมันจะเกิดในช่วงสำคัญ ครั้งแรกเกิดขึ้นโชว์หนึ่งก่อนคอนเสิร์ต Pru & Modern Dog – ทุกสิ่ง (For Fat Live Pru & Modern Dog) ซึ่งเขาโลดโผนกับโชว์จนตกเวที อีกครั้งคือช่วงก่อนอัลบั้มชุดที่สอง (Zero) น้อยไปเล่นกีฬาแล้วหัวเข่าหักจนต้องใส่เฝือกโปรโมตอัลบั้มนั้นในช่วงแรก โดยน้อยกำลังอยู่ในช่วงรักษาอาการเส้นประสาทที่ขาอักเสบ ซึ่งต้องฟื้นฟูและบำบัดโดยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electrical Stimulation โดยคาดว่าจะหายในราวสี่เดือน[13]

อ้างอิง แก้

  1. "12 ปีที่ห่างหาย! คืนตำนานเจ้าพ่อเพลงรัก "เดี่ยว" ครั้งแรก "น้อย วงพรู"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
  2. "รวมบทความ-ข้อมูล เกี่ยวกับ PRU". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  3. นิตยสารอะเดย์ ฉบับที่ 19 เดือนมีนาคม 2545
  4. กฤษดา สุโกศล แคลปป์ nangdee.com
  5. ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549
  6. อัลบั้ม “ Ford & Friends Sing Stone”
  7. นักบริหารอีกบทบาทของน้อย วงพรู[ลิงก์เสีย]
  8. "โรงแรมเดอะสยาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-10-02.
  9. น้อย วงพรู หนุ่มติดส์ เล่าความฝันสู่ความจริง คนดังหลังฉาก[ลิงก์เสีย]
  10. [book.edtguide.com/150-places-modern-mom-love/เมลานี-สุโกศล-แคลปป์ เมลานี สุโกศล แคลปป์]
  11. ความบ้า+ความระห่ำ+ความมีเสน่ห์=กฤษดา สุโกศล หรือที่ทุกคนรู้จักเขาในชื่อ ‘น้อย วงพรู’[ลิงก์เสีย]
  12. มื้อพิเศษคนพิเศษกับ "น้อย วงพรู"
  13. ดนตรีและตัวตนบนความอ่อนไหวของ ‘น้อย วงพรู’

แหล่งข้อมูลอื่น แก้