กฤชนนท์ อัยยปัญญา

กฤชนนท์ อัยยปัญญา

ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา ชื่อเล่น ตั้น (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523) เป็นนักธุรกิจ อาจารย์พิเศษระดับมหาวิทยาลัยและนักการเมือง

กฤชนนท์ อัยยปัญญา ชื่อเล่น ตั้น (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523) เป็นนักธุรกิจ อาจารย์พิเศษระดับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน เคยเป็นผู้สมัครลงรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 29 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ประวัติ แก้

ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา (ตั้น) ชื่อเดิม กฤชนนท์ ห่อทองคำ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2523 กรุงเทพมหานคร

การศึกษา แก้

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 8 (พ.ศ. 2544) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ. 2550) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (พ.ศ. 2557)

การทำงาน แก้

ในปี พ.ศ. 2547 ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา ได้ก่อตั้งบริษัทเอกชนควบคู่กับการเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันอื่นๆ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่า คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

การเมือง แก้

  • ปี พ.ศ. 2561 ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและมีส่วนร่วมในการก่อตั้งพรรค รวมไปถึงร่างนโยบายต่างๆ ของทางพรรค
  • ปี พ.ศ. 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตบางแค (เขต 28) กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (ได้รับคะแนนเสียง 29,413 เสียง) โดยพ่ายแพ้ให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคอนาคตใหม่เพียง 146 คะแนน
  • 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งจากมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ปี พ.ศ. 2566 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเลือกตั้งที่ 29 กรุงเทพมหานคร ในสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งคือนางสาวทิสรัตน์ เลาหพล ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล

ต่อมา ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. อายุน้อยร้อยล้าน ธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เคมี - thaitv channelthai, 16 กันยายน 2562
  2. ในวิกฤต...ยังมีโอกาส - ข่าวสด, 30 มกราคม 2559
  3. “สยามธุรกิจ” บุก เยี่ยมชม โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ “ ไอออนิค” การันตรีมาตราฐานระดับสากล - สยามธุรกิจ 29 มิถุนายน 2561
  4. เรื่องเล่าจากสองข้างทาง - มติชน เทคโนโลยีชาวบ้าน เก็บถาวร 2012-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 เมษายน 2555
  5. ข่าวการเมือง - เดลินิวส์ , 9 มิถุนายน 2563
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕