กรุงเขมา

สปีชีส์ของพืช
กรุงเขมา
ส่วนหัวและผลของกรุงเขมา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
อันดับ: Ranunculales
วงศ์: Menispermaceae
สกุล: Cissampelos
สปีชีส์: C.  pareira
ชื่อทวินาม
Cissampelos pareira
L.[1]

กรุงเขมา (/กฺรุงขะเหฺมา/, ชื่อวิทยาศาสตร์: Cissampelos pareira) หรือ เครือหมาน้อย เป็นพืชในวงศ์บอระเพ็ด (Menispermaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

กรุงเขมาเป็นไม้เถา เถา กิ่ง ใบ และช่อดอกมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปกลม รูปหัวใจ หรือรูปไต ก้นปิด ปลายแหลม หรือเป็นติ่งหนาม โคนใบมน ตัด หรือเว้าเล็กน้อย ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบ กลีบดอก 4 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรเพศผู้มัดเดี่ยว อับเรณูติดกันเป็นรูปจาน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อกระจะที่ง่ามใบ มีใบประดับรูปกลม หรือรูปไต ซ้อนเหลื่อมกันแน่น ไม่ร่วง ปลายเป็นติ่งหนาม มีขน กลีบเลี้ยง 1 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบดอก 1 กลีบ ออกตรงข้ามกับกลีบเลี้ยง และสั้นกว่า ผลค่อนข้างกลม สีแดง มีขน มีเมล็ดเดียว เล็ก แข็ง รูปโค้ง หรือเป็นรูปเกือกม้า ผิวขรุขระ[2]

ประโยชน์ แก้

ใบกรุงเขมามีสารเพกทิน เมื่อนำมาขยำกับน้ำจะเกิดเป็นวุ้น ใช้รับประทานได้[3][4] ในรากกรุงเขมามีสารแอลคาลอยด์ที่มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น แก้ปวด ห้ามเลือด[5] รักษาโรคทางระบบทางเดินอาหารและเป็นยาสมาน[6] และในทางการแพทย์แผนไทยใช้รากกรุงเขมาแก้ไข้ ดีซ่าน[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Taxon: Cissampelos pareira L." NPGS/GRIN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2008.
  2. "กรุงเขมา Cissampelos pareira". โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ.
  3. กรุงเขมา (PDF). พืชกินได้ในป่าสะแกราช. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. pp. 21–22.
  4. พันธุ์เลิศ พรหมสาขา ณ สกลนคร; อนุวัตร แจ้งชัด; กมลวรรณ แจ้งชัด. การพัฒนากระบวนการผลิตเพคตินจากใบเครือหมาน้อย (PDF) (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
  5. Amritpal Singh; Sanjiv Duggal; และคณะ (January 2010). "An inside preview of Ethnopharmacology of Cissampelos pareira Linn". International Journal of Biological Technology. 1 (1): 114–120. ISSN 0976-4313.
  6. S.K. Jain; Swadesh kumar Ahirwar; Anurag Kumar (2015). "Review of Cissampelos pareira Linn" (PDF). International Journal of Applied Research. 1 (6): 8–9. eISSN 2394-5869.
  7. ชยันต์ พิเชียรสุนทร; แม้นมาส ชวลิต; วิเชียร จีรวงส์ (2017). คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ : ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์. p. 193. ISBN 9786161820718.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้