จาการ์ตา
จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาฟียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) หรือ “บัตเตเวีย” ตามพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋า
จาการ์ตา | |
---|---|
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา Daerah Khusus Ibukota Jakarta | |
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ตึกระฟ้า จาการ์ตา CBD; ทำเนียบเมอร์เดกา; สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน; โมนัซ; พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จาการ์ตา; พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินโดนีเซีย และวันปลอดรถที่บุนดารัน HI | |
| |
สมญา:
| |
คำขวัญ: | |
ที่ตั้งในเกาะชวาและประเทศอินโดนีเซีย | |
พิกัด: 6°10′30″S 106°49′39″E / 6.17500°S 106.82750°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
เขต | |
สถาปนา | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070[2] |
สถาปนาเป็นบาตาเวีย | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2162 |
สถานะนคร | 4 มีนาคม พ.ศ. 2164[2] |
สถานะจังหวัด | {28 สิงหาคม พ.ศ. 2504[2] |
เมืองหลัก | จาการ์ตากลาง |
การปกครอง | |
• ประเภท | เขตการปกครองพิเศษ |
• องค์กร | Special Capital Region of Jakarta Provincial Government |
• ผู้ว่าราชการรักษาการ | เฮอรู บูดี ฮาร์โตโน |
• รองผู้ว่าราชการ | ตำแหน่งว่าง |
• นิติบัญญัติ | สภาผู้แทนประชาชนภูมิภาคจาการ์ตา |
พื้นที่ | |
• เขตเมืองหลวงพิเศษ | 664.01 ตร.กม. (256.38 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 3,540 ตร.กม. (1,367 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 7,062.5 ตร.กม. (2,726.8 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 34 ในอินโดนีเซีย |
ความสูง | 8 เมตร (26 ฟุต) |
ประชากร (ประมาณกลาง พ.ศ. 2564)[3] | |
• เขตเมืองหลวงพิเศษ | 10,562,088 คน |
• อันดับ | ที่ 6 ในอินโดนีเซีย |
• ความหนาแน่น | 15,978.2 คน/ตร.กม. (41,383 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง[4] | 34,540,000 คน |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 9,756 คน/ตร.กม. (25,270 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[5] | 33,430,285 คน |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 4,733 คน/ตร.กม. (12,260 คน/ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | รายการ |
• ศาสนา (2565)[6] | รายการ |
เขตเวลา | UTC+07:00 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก) |
รหัสไปรษณีย์ (kode pos) | 10110–14540, 19110–19130 |
รหัสพื้นที่ | +62 21 |
รหัส ISO 3166 | ID-JK |
ทะเบียนพาหนะ | B |
จีดีพี (เฉลี่ย) | 2565 |
- รวม | 3,186.5 ล้านล้านรูปียะฮ์ (ที่ 1) 214.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 669.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี) |
- ต่อหัว | 298.36 ล้านรูปียะฮ์ (ที่ 1) 20,093 ดอลลาร์สหรัฐ 62,701 ดอลลาร์สหรัฐ (พีพีพี) |
- การเติบโต | 5.25% |
เอชดีไอ (2022) | 0.817[7] (ที่ 1) – สูงมาก |
GeoTLD | .id |
ท่าอากาศยานหลัก | ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน–ฮัตตา (CGK) ท่าอากาศยานนานาชาติฮาลิม เปอร์ดานากูซูมา (HLP) |
รถไฟชานเมือง | |
ระบบขนส่งมวลชนเร็ว | |
เว็บไซต์ | jakarta |
ศัพทมูลวิทยา
แก้ประวัติศาสตร์
แก้การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในพื้นที่ของจาการ์ตาในปัจจุบัน เท่าที่ปรากฏคือท่าเรือเกอลาปา (Kelapa) ซึ่งเอกสารไทยโบราณเรียกว่า กะหลาป๋า ใกล้ปากแม่น้ำจีลีวุง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากถิ่นที่ตั้งของฮินดูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 กะหลาป๋าเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับราชอาณาจักรฮินดู ชื่อว่าซุนดา มีการบันทึกว่าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงกะหลาป๋า กษัตริย์ฮินดูทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสสร้างป้อมที่กะหลาป๋าในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตอนต้น ท่าเรือของจาการ์ตาในปัจจุบันยังคงมีชื่อว่า ซุนดาเกอลาปา (Sunda Kelapa) ตามชื่อถิ่นฐานยุคแรก
ในพ.ศ. 2070 เมืองถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน (Fatahillah or Faletehan) ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากเกอลาปาเป็น จายาการ์ตา (Jayakarta แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง" ในภาษาชวา) หรือตรงกับ "ชยะ - กฤต" ใน ภาษาสันสกฤต แปลว่า "ชัยชนะอันเกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว" เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งกรุงจาการ์ตา ชื่อ “จายาการ์ตา” นี้เองที่ต่อมาได้กลายมาเป็นชื่อ จาการ์ตา ในปัจจุบัน
ชาวดัตช์เข้ามาถึงจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) นำโดยยัน ปีเตอร์โซน กุน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาฟียา (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลนด์ในสมัยโรมัน (เอกสารไทยในสมัยก่อน เช่นพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเที่ยวชวากว่าสองเดือน” เรียกว่าเมือง “บัตเตเวีย” ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ เมืองบัตเตเวียภายใต้การปกครองของดัตช์นี้ถึงสามครั้งใน พ.ศ. 2413, 2439 และ 2444) บาตาฟียาหรือบัตเตเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่ 5 ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์
หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่วทั้งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น ความสำคัญของบาตาฟียาได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาฟียา ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจตราบจนถึงปัจจุบัน
ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาฟียาในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองโดยกลับมาใช้ชื่อ จาการ์ตา เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากคนในท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามใน พ.ศ. 2488 กองกำลังชาวดัตช์กลับเข้ายึดครองเมืองอีกครั้งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชไปก่อนแล้วในช่วงปลายสงคราม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชอินโดนีเซีย ซึ่งยุติลงด้วยการรับรองการก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเต็มรูปแบบเมื่อ พ.ศ. 2492
ภูมิประเทศ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของJakarta | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.5 (88.7) |
32.3 (90.1) |
32.5 (90.5) |
33.5 (92.3) |
33.5 (92.3) |
34.3 (93.7) |
33.3 (91.9) |
33.0 (91.4) |
32.0 (89.6) |
31.7 (89.1) |
31.3 (88.3) |
32.0 (89.6) |
32.6 (90.7) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 24.2 (75.6) |
24.3 (75.7) |
25.2 (77.4) |
25.1 (77.2) |
25.4 (77.7) |
24.9 (76.8) |
25.1 (77.2) |
24.9 (76.8) |
25.5 (77.9) |
25.5 (77.9) |
24.9 (76.8) |
24.9 (76.8) |
24.8 (76.6) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 389.7 (15.343) |
309.8 (12.197) |
100.3 (3.949) |
257.8 (10.15) |
139.4 (5.488) |
83.1 (3.272) |
30.8 (1.213) |
34.2 (1.346) |
30.0 (1.181) |
33.1 (1.303) |
175.0 (6.89) |
123.0 (4.843) |
1,706.2 (67.173) |
ความชื้นร้อยละ | 85 | 85 | 83 | 82 | 82 | 81 | 78 | 76 | 75 | 77 | 81 | 82 | 81 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 26 | 20 | 15 | 18 | 13 | 17 | 5 | 5 | 6 | 9 | 22 | 12 | 168 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 189 | 182 | 239 | 255 | 260 | 255 | 282 | 295 | 288 | 279 | 231 | 220 | 2,975 |
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[8] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun and relative humidity)[9] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "A Day in J-Town". Jetstar Magazine. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Provinsi - Kementerian Dalam Negeri - Republik Indonesia" [Province - Ministry of Home Affairs - Republic of Indonesia] (ภาษาอินโดนีเซีย). Ministry of Home Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2013. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.
- ↑ "Provinsi DKI Jakarta Dalam Angka 2021". Badan Pusat Statistik. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2021. สืบค้นเมื่อ 21 December 2022.
- ↑ "Demographia World Urban Areas" (PDF) (16th annual ed.). February 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 June 2020.
- ↑ "Basis Data Pusat Pengemangan Kawasan Perkotaan" [Urban area development centre database]. perkotaan.bpiw.pu.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ "ArcGIS Web Application".
- ↑ "Human Development Indices by Province, 2020-2021 (new method)" (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ 3 July 2022.
- ↑ "World Weather Information Service – Jakarta". World Meteorological Organization. June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
- ↑ Cappelen, John; Jensen, Jens. "Indonesien - Jakarta, Java" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931-1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 128. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-27. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Jakarta (เว็บไซต์การท่องเที่ยวทางการ)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ จาการ์ตา ที่โอเพินสตรีตแมป
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สาระน่ารู้ก่อนเดินทาง โดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย