กระจกหกด้าน
กระจกหกด้าน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีสั้น ออกอากาศทุกเย็นวันจันทร์ – วันอังคาร เวลา 16:00–16:15 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพฤหัสบดี – ศุกร์ เวลา 11:15–11:30 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพุธ – พฤหัสบดี เวลา 15:45–16:00 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นศุกร์ เวลา 17:45–18:00 น. ปัจจุบัน ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นเสาร์ เวลา 16:15–16:30 น. ทางช่อง 7 HD เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2526[1][2][3] นับเป็นรายการสารคดีที่มีระดับความนิยมสูงสุด[4] ชื่อรายการ กระจกหกด้าน มาจากคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ว่า คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้านมาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง
กระจกหกด้าน | |
---|---|
ประเภท | สารคดีสั้น |
พัฒนาโดย | บริษัท ทริลเลี่ยนส์ แอนด์ ทรีไลอ้อนส์ จำกัด |
บรรยายโดย | สุชาดี มณีวงศ์ |
ผู้ประพันธ์เพลงธีม | Mannheim Steamroller |
ธีมเปิด | Dancing Flames |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | สุชาดี มณีวงศ์ |
ความยาวตอน | 15 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 |
ออกอากาศ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2526 |
สารคดีสั้นทุกชุดของรายการ นางสุชาดี มณีวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตรายการ รับหน้าที่บรรยายและคัดสรรข้อมูลที่นำมาผลิต นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ยังมีการเปิดเว็บไซต์ที่รวบรวมสารคดีที่ออกอากาศไปแล้ว โดยแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาหารและโภชนาการ สุขภาพและวิทยาศาสตร์ บุคคลและสังคม รวมถึงปกิณกะสาระคติ
นับตั้งแต่การออกอากาศเป็นครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพลงประกอบธีมเปิดของรายการใช้เพลง Dancing Flames ของวง Mannheim Steamroller โดยภายหลังยังคงใช้เพลง Dancing Flames มาใส่จังหวะในแนวอินเดียแต่ยังคงแนวทำนองเดิมไว้ แต่มีการเปลี่ยนแปลงภาพกราฟิกซึ่งขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการ
ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รายการ กระจกหกด้าน ได้เพิ่มรายการใหม่ ในรูปแบบสมัยใหม่ (รวมถึงภาพ เสียง และกราฟิกแบบสมัยใหม่) เพื่อได้สาระอีกส่วนหนึ่ง ในชื่อ กระจกหกด้านบานใหม่[5]
รางวัลแก้ไข
- รางวัลเมขลา ประเภทรายการสารคดีสั้นดีเด่น
- รางวัลเมขลา ประเภทรายการความรู้และสาระดีเด่น
- รางวัลเมขลา ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ทั่วไปดีเด่น
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรายการสารคดียอดเยี่ยม
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทความรู้ยอดเยี่ยม
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทสารคดียาว
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น ประเภทรายการสั้น
- สื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.)
- สื่อมวลชนดีเด่นประเภทสารคดีโทรทัศน์ จากมูลนิธิสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย
- รางวัลส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานประเภทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ จากกระทรวงพลังงาน
- รายการโทรทัศน์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม ชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม
- ผู้ผลิตสารคดีทางโทรทัศน์ เพื่อชมรมสภาวะแวดล้อมสยาม รักษาสภาพแวดล้อมที่ดีของประเทศไทย (ปี 2530 , 2531 , 2532 , 2534 , 2535 , 2536 , 2537 และ 2540)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (1 สิงหาคม 2018). "1 สิงหาคม 2526 กระจกหกด้านที่สะท้อนสิ่งต่างๆ มาแล้ว 35 ปี". The Standard.
- ↑ "กระจกหกด้าน" ตอน "ส่องทัศน์สะท้อนไทย". krajokhokdan. 6 สิงหาคม 2013 – โดยทาง ยูทูบ.
- ↑ "กระจกหกด้าน" ตอน "3 ทศวรรษ ส่องทัศน์สะท้อนไทย". krajokhokdan. 8 มกราคม 2014 – โดยทาง ยูทูบ.
- ↑ นนท์ สิริสิงห (มกราคม 2009). "27 ปี กระจกหกด้าน ตำนานสารคดีสั้น". นิตยสารแฮมเบอร์เกอร์. p. 102. ISSN 1685-4810.
- ↑ pigabyte (7 กันยายน 2015). ""กระจกหกด้าน" Rebranding โฉมใหม่ ไฉไลกว่าเดิม เสริมความสนุกมุกล้นจอ!". Marketing Oops!.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- รายการย้อนหลังกระจกหกด้าน – โดยทาง ยูทูบ.