กรมกิจการเด็กและเยาวชน

กรมกิจการเด็กและเยาวชน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน การส่งเสริมสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยการกำหนด นโยบาย มาตรการ กลไก ส่งเสริมสนับสนุนภาครัฐและภาคเอกชน ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนด เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต

กรมกิจการเด็กและเยาวชน
Department of Children and Youth
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง6 มีนาคม พ.ศ. 2558; 9 ปีก่อน (2558-03-06)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1034 ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อภิญญา ชมภูมาศ [1], อธิบดี
  • อุเทน ชนะกุล, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เว็บไซต์https://www.dcy.go.th

ประวัติ แก้

ไฟล์:พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10เปิดกรมกิจการเด็กและเยาวชน.png
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดอาคารสำนักงาน

กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2558 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558[2] ซึ่งเป็นการรวมภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายด้านเด็กและเยาวชน จาก 3 หน่วยงานในสังกัด พม. คือ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (สป.พม.) และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง โดยมีการรวบรวมและยกระดับหน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนเป็น "กรมกิจการเด็กและเยาวชน"

หน่วยงานในสังกัด แก้

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  • กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว
  • กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน
  • ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน
  • ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  • สถานรองรับเด็ก จำนวน 30 แห่ง (สถานสงเคราะห์เด็ก ศูนย์สงเคราะห์และฝึกเยาวชน สถานแรกรับเด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็ก และสถาบันเพาะกล้าคุณธรรม)
  • บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัด จำนวน 77 แห่ง

อ้างอิง แก้

  1. มติคณะรัฐมนตรี 14 กุมภาพันธ์ 2566
  2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘[1]