กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล

กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล (รัสเซีย: Проблема принадлежности южных Курильских островов; อังกฤษ: Kuril Islands dispute) หรือรู้จักในญี่ปุ่นว่า กรณีพิพาทดินแดนตอนเหนือ (ญี่ปุ่น: 北方領土問題โรมาจิHoppō Ryōdo Mondaiทับศัพท์ฮอปโปเรียวโดมอนได; อังกฤษ: Northern Territories dispute) เป็นกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศรัสเซียเหนือเกาะตอนใต้สุดของหมู่เกาะคูริล 4 เกาะ ได้แก่ เกาะอีตูรุป เกาะคูนาชีร์ เกาะชิโกตัน และหมู่เกาะฮาโบไม หมู่เกาะคูริลเป็นกลุ่มเกาะที่วางตัวระหว่างเกาะฮกไกโดของญี่ปุ่นกับคาบสมุทรคัมชัตคาของรัสเซีย หมู่เกาะนี้แยกทะเลโอค็อตสค์จากมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะที่พิพาท 4 เกาะรวมถึงเกาะอื่น ๆ ของหมู่เกาะคูริลถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียตในการบุกครองหมู่เกาะคูริลเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันเกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตยุจโน-คูริลสกี (Yuzhno-Kurilsky) แคว้นซาฮาลินของรัสเซีย ขณะที่ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์โดยเรียกเกาะเหล่านี้ว่าดินแดนตอนเหนือ (Northern Territories) หรือชิชิมะตอนใต้ (Southern Chishima) และถือเป็นส่วนหนึ่งของกิ่งจังหวัดเนมูโระ จังหวัดฮกไกโดของตน

ชื่อหมู่เกาะคูริลในภาษารัสเซีย ชายแดนตามสนธิสัญญาชิโมดะ (2393) และสนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (2418) แสดงด้วยสีแดง ตั้งแต่ปี 2488 เกาะทุกเกาะทางตอนเหนือของฮกไกโดอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย
เกาะพิพาท 4 เกาะ ได้แก่ อีตูรุป คูนาชีร์ ชิโกตัน และฮาโบไม

สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[1] ที่ลงนามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นสหภาพโซเวียต) กับญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2494 ระบุให้ญี่ปุ่นต้องสละ "สิทธิ ตำแหน่ง และการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะคูริล"[2] แต่กระนั้นสนธิสัญญาไม่ได้ยอมรับอำนาจอธิปไตยของสหภาพโซเวียตเหนือหมู่เกาะนี้[3] ญี่ปุ่นกล่าวอ้างว่าอย่างน้อยบางส่วนของเกาะพิพาทไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะคูริล จึงไม่ได้อยู่ใต้ความครอบคลุมของสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[4] ด้านรัสเซียยืนกรานว่าอำนาจอธิปไตยของสหภาพโซเวียตเหนือหมู่เกาะได้รับการยอมรับด้วยความตกลงหลังสงคราม[5] ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตยุติภาวะสงครามอย่างเป็นทางการเมื่อมีการลงนามปฏิญญาร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 แต่ไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพหลังจากนั้น ระหว่างการหารือเพื่อนำไปสู่คำประกาศร่วม สหภาพโซเวียตเสนอสองเกาะเล็กคือชิโกตันและฮาโบไมแลกกับการให้ญี่ปุ่นเลิกอ้างสิทธิ์เหนือสองเกาะใหญ่คืออีตูรุปและคูนาชีร์ แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธข้อเสนอ ความไม่ลงรอยในข้อเสนอของสหภาพโซเวียตและการเรียกร้องให้คืนเกาะของญี่ปุ่นกลายเป็นหมุดหมายของข้อพิพาทที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน[6]

ภูมิหลัง แก้

 
แผนที่ในปี 2482 ของขอบแปซิฟิก ปีบนภาพแสดงช่วงเวลาโดยประมาณที่หลากหลายประเทศอำนาจเข้าควบคุมอาณาเขตที่ครอบครอง
 
ผู้พำนักอาศัยบนเกาะอีตูรุป (ต่อมาเรียก Etorofu) และวัดพุทธ (ก่อนปี 2482)

ข้อตกลงรัสเซีย–ญี่ปุ่นในการจัดการกับสถานะของ เกาะซาฮาลิน และหมู่เกาะคูริลที่มีการตกลงกันครั้งแรกคือสนธิสัญญาชิโมดะใน พ.ศ. 2398 ซึ่งสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศญี่ปุ่น มาตรา 2 ของสนธิสัญญาชิโมดะกำหนดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับชายแดนของทั้งสอง โดยระบุว่า:

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ชายแดนระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่นจะผ่านระหว่างเกาะอีโตรุป (Etorofu) และเกาะ Urup (Uruppu) บริเวณทั้งหมดของเกาะอีโตรุปจะเป็นของญี่ปุ่น และบริเวณทั้งหมดของเกาะ Urup และเกาะในหมู่เกาะคูริลทางตอนเหนือทั้งหมดจะตกอยู่ภายใต้การครอบครองของรัสเซีย[7]

เกาะคูนาชิริ (เกาะคูนาชีร์) เกาะชิโกตัน และหมู่เกาะฮาโบไม ที่ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอีโตรุปไม่ได้รับการกล่าวถึงในสนธิสัญญาและได้รับการเข้าใจในขณะนั้นว่าไม่ได้เป็นเกาะที่อยู่ระหว่างการพิพาทของญี่ปุ่น สนธิสัญญายังระบุอย่างเจาะจงว่าเกาะซาฮาลิน (เกาะคาราฟูโตะ) ไม่ควรได้รับการแบ่งแยกหากแต่ควรจะเป็นเกาะที่ปกครองร่วมกันระหว่างรัสเซีย–ญี่ปุ่น[8]

สนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในปี 2418 รัสเซียและญี่ปุ่นตกลงที่จะให้ญี่ปุ่นสละสิทธิเหนือเกาะซาฮาลิน เป็นการแลกเปลี่ยนสำหรับรัสเซียจะยอมสละสิทธิเหนือหมู่เกาะคูริลเป็นการตอบแทนญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อถกเถียงว่าสิ่งใดเป็นเครื่องกำหนดสิทธิเหนือหมู่เกาะคูริลเพราะความคลาดเคลื่อนในการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสของสนธิสัญญา[9]

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในช่วงปี 2447–8 เป็นความหายนะทางการทหารของรัสเซีย[10][11] สนธิสัญญาพอร์ตสมัท ในปี 2448 เป็นการจบลงของสงครามในครั้งนี้ และทำให้ญี่ปุ่นได้รับครึ่งหนึ่งของเกาะซาฮาลินตอนใต้

แม้ว่าญี่ปุ่นเข้ายึดครองทางตะวันออกไกลของรัสเซียในระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซียหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม ญี่ปุ่นไม่ได้ผนวกดินแดนใด ๆ อย่างเป็นทางการ และถอนกำลังออกโดยญี่ปุ่นในช่วงกลางปี 2463

การปฏิบัติการของสหภาพโซเวียตในการยึดครองหมู่เกาะคูริลเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม และ 3 กันยายน (ญี่ปุ่นประกาศยอมจำนน ในวันที่ 15 กันยายน และลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน) ผู้พำนักอาศัยชาวญี่ปุ่นถูกขับไล่ 2 ปีถัดมา[12]

ข้อพิพาทสมัยใหม่ แก้

พัฒนาการในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แก้

สถานะของทั้งสองฝ่ายไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่มีปฏิญญาร่วมในปี พ.ศ. 2499 โดยสนธิสัญญาสันติภาพถาวรระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซียยังไม่มีข้อสรุป[13]

วันที่ 7 กรกฏาคม พ.ศ. 2548 รัฐสภายุโรปออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการกำชับให้คืนดินแดนที่มีข้อพิพาท[14] ซึ่งรัสเซียประท้วงในทันที

ปลายปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลรัสเซียโดยวลาดิมีร์ ปูติน เสนอคืนเกาะชิโกตันและฮาโบไม (ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่พิพาท) ให้ญี่ปุ่น หากญี่ปุ่นจะยกเลิกการอ้างสิทธิ์ของอีก 2 เกาะ โดยอ้างถึงปฏิญญาร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 ซึ่งให้คำมั่นที่จะยกเกาะชิโกตันและฮาโบไมให้ญี่ปุ่นเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ[15][16][17]

ญี่ปุ่นได้เสนอความช่วยเหลือทางการเงินจำนวนมากแก่หมู่เกาะคูริลหากได้รับการส่งมอบคืน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ชาวเกาะเริ่มได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวในอุตสาหกรรมแปรรูปประมง ผลก็คือคาดว่าชาวเกาะมีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากญี่ปุ่น[18]

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่านายกรัฐมนตรียาซูโอะ ฟูกูดะของญี่ปุ่นกล่าวว่า เขาได้รับจดหมายจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ซึ่งปูตินแสดงความเต็มใจที่จะแก้ไขข้อพิพาทเรื่องดินแดน และเสนอให้เปิดการเจรจารอบใหม่[19]

ข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะคูริลรุนแรงขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นตีพิมพ์ตำราเรียนฉบับใหม่โดยมีข้อแนะนำให้ครูบอกกับผู้เรียนว่า ญี่ปุ่นมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะคูริลใต้ ทำให้กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศในวันที่ 18 กรกฎาคมว่า "[การกระทำเหล่านี้] ไม่ได้สนับสนุนทั้งการพัฒนาความร่วมมือเชิงบวกระหว่างทั้งสองประเทศ หรือการยุติข้อพิพาท" และยืนยันอีกครั้งถึงอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ[20]

นายกรัฐมนตรีทาโร อาโซของญี่ปุ่นและประธานาธิบดีดมีตรี เมดเวเดฟของรัสเซีย ได้พบปะกันที่เมืองซาคาลินเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นหมู่เกาะคูริล อาโซกล่าวหลังการประชุมว่า พวกเขาได้ตกลงที่จะเร่งดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทเพื่อไม่ให้ปัญหาถูกทิ้งไว้ให้คนรุ่นต่อไปหาทางแก้ไขในอนาคต[21]

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ประกาศว่าหมู่เกาะคูริลใต้เป็น "อาณาเขตจำเพาะของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดินแดนที่ญี่ปุ่นมีอำนาจอธิปไตย"[22] เมื่อวันที่ 8 มีนาคม โยชิมาซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ระบุถึงเกาะทั้งสี่ว่าเป็น "ส่วนสำคัญ" ของญี่ปุ่น[23] นี่เป็นการตอบโต้ต่อการรุกรานยูเครนของรัสเซีย[23]

มุมมองปัจจุบัน แก้

 
การเดินทางเพื่อไปเยี่ยมหลุมศพของครอบครัวบนเกาะ Tanfiliev (ซุยเซียวจิมะ)

ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 อดีตผู้พำนักอาศัยชาวญี่ปุ่นเริ่มจัดการเดินทางเพื่อไปเยี่ยมหลุมศพของครอบครัวบนหมู่เกาะคูริล การเยี่ยมหลุมศพนั้นสามารถทำได้เนื่องจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 การพิจารณาคำร้องขอเดินทางเข้านั้นได้ถูกจำกัดอยู่ที่เกาะคูนาชิริเท่านั้น แต่สืบเนื่องจากข้อตกลงในการประชุมสุดยอดญี่ปุ่น–รัสเซีย พ.ศ. 2559 ทำให้สามารถพิจารณาคำร้องขอเดินทางเพิ่มเติมไปยังหมู่เกาะคูริลที่เล็กกว่าได้ ซึ่งใกล้กว่าจุดหมายปลายทางกว่า กระบวนการพิจารณาคำร้องขอเดินทางเข้าเกาะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียนั้นคาดการณ์ว่าจะลดระยะเวลาการเข้าเยี่ยมจาก 5 ชั่วโมงเหลือ 3 ชั่วโมง[24]

มุมมองของญี่ปุ่น แก้

 
รถตู้กำลังเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นใกล้สถานเอกอัครราชทูตรัสเซียในวันที่ 9 สิงหาคม 2558

มุมมองของญี่ปุ่นที่มีต่อกรณีพิพาทนั้นได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการในจุลสารของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น:[25]

  • ปฏิญญาไคโร และปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ไม่สามารถนำมาใช้อ้างสิทธิดินแดนตอนเหนือได้ เพราะเกาะเหล่านั้นไม่เคยเป็นของรัสเซียมาก่อน แม้ก่อนปี 2447–2448 ก็ตาม
  • รัสเซียไม่เคยอ้างสิทธิเกาะกรณีพิพาทมาก่อนอันมาจากการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่นในปี 2428 ด้วยเหตุนี้เกาะกรณีพิพาทจึงไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตที่เป็นของญี่ปุ่นซึ่งได้มา "ด้วยความรุนแรงและความโลภ"
  • ข้อตกลงยัลตา "ไม่ได้กำหนดข้อสรุปเด็ดขาดเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขต เนื่องจากไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าถ้อยแถลงโดยผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับหลักการของข้อสรุปหลังสงคราม (กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตควรจะได้รับการคลี่คลายด้วยสนธิสัญญาสันติภาพ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มีพันธะใด ๆ กับข้อตกลงนี้"[25]
  • การเข้าร่วมสงครามต่อต้านญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียตในปี 2488 นั้นเป็นการละเมิดกติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น และการยึดครองเกาะเหล่านั้นยังเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะสละกติกาสัญญาความเป็นกลางไปแล้วในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2488 ก็ตาม แต่ญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่ากติกาสัญญานั้นจะคงมีผลจนถึงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 5 ปีของการให้สัตยาบันของกติกาสัญญานี้
  • แม้ว่าตามความของมาตรา 2c ในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก ญี่ปุ่นยังคงยืนยันสิทธิทุกประการต่อหมู่เกาะคูริล สนธิสัญญาไม่ได้อ้างสิทธิเหนือเกาะคูนาชิริ เกาะอีตูรุป เกาะชิโกตัน และเกาะฮาโบไม เนื่องจากพวกเขาไม่ได้จัดว่าเป็นเกาะในหมู่เกาะคูริล อีกทั้งสหภาพโซเวียตยังไม่ได้ลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกอีกด้วย

ท่าทีทางสังคมญี่ปุ่น แก้

 
รถบรรทุกขยายเสียงติดด้วยป้ายโฆษณาชวนเชื่อในอำนาจอธิปไตยญี่ปุ่นเหนือหมู่เกาะคูริลด้านหน้าห้างสรรพสินค้า

ในประเทศญี่ปุ่น มีการเคลื่อนไหวมากกลุ่มที่ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นและรัฐบาลแห่งชาติในการกระตุ้นให้ชาวญี่ปุ่นผลักดันการคืนหมู่เกาะให้มาเป็นของญี่ปุ่นอีกครั้ง ชายคนหนึ่งในครอบครัวที่ถูกขับไล่จากหมู่เกาะ เค็นจิโร ซูซูกิ[26] นำสหพันธ์ผู้พำนักอาศัยบนเกาะชิชิมะและฮาโบไม สาขาโทกาจิ (ชิชิมะเป็นชื่อหมู่เกาะคูริลในภาษาญี่ปุ่น)[27] ในปี 2008 กลุ่มการเคลื่อนไหวหลักมีงบประมาณอยู่ที่ราว 187 ล้านเยน (56 ล้านบาท)[28]

ในปี 2018 พิพิธภัณฑสถานอาณาเขตและอำนาจอธิปไตยแห่งชาติ (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารโทราโนมงมิตซุย เขตชิโยดะ โตเกียว) ถูกจัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ของสาธารณชนถึงปัญหาสิทธิในอาณาเขต ที่เกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตทาเกชิมะ และหมู่เกาะเซ็งกากุ[29]

มุมมองของรัสเซีย แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Article 25 of The San Francisco Peace Treaty defines the Allied Forces as "the States at war with Japan, […] provided that in each case the State concerned has signed and ratified the Treaty. […] the present Treaty shall not confer any rights, titles or benefits on any State which is not an Allied Power as herein defined; nor shall any right, title or interest of Japan be deemed to be diminished or prejudiced by any provision of the Treaty in favor of a State which is not an Allied Power as so defined." The Allied powers were Australia, Canada, Ceylon, France, Indonesia, the Kingdom of the Netherlands, New Zealand, Pakistan, the Republic of the Philippines, the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland, and the United States of America. The Soviet Union refused to sign the treaty.
  2. "The history of the Kuril Islands Dispute". RIA Novosti. 1 พฤษภาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009.
  3. Text of Gromyko's Statement on the Peace Treaty.New York Times, page 26, 9 กันยายน 1951.
  4. Northern Territories dispute highlights flawed diplomacy. By Gregory Clark. Japan Times, 24 มีนาคม 2005. "Japanese materials at the time – Foreign Ministry maps, statements by former Prime Minister Shigeru Yoshida at San Francisco and in his later memoirs, and newspaper reports all make it clear that Etorofu and Kunashiri were most definitely included. The chief U.S. negotiator for the San Francisco treaty, Secretary of State John Foster Dulles, agreed. Asked at San Francisco to define the territory of the Kurils, he said only that the Habomais might be excluded (at the time there were suggestions that Shikotan might be part of the Kurils). More was to follow. Questioned in the Diet on October 19, 1951, over whether the word "Kurils" as used in the treaty included Etorofu and Kunashiri, the head of the Foreign Ministry Treaties Bureau, Kumao Nishimura, said unambiguously that both the northern Chishima and southern Chishima (Etorofu and Kunashiri) were included."
  5. О проблеме мирного договора в российско-японских отношениях (ภาษารัสเซีย). Russian Ministry of Foreign Affairs. 22 กรกฎาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009.
  6. James D. J. Brown (2016). Japan, Russia and their Territorial Dispute: The Northern Delusion. Routledge. p. 1. In 1956, on the occasion of the restoration of bilateral diplomatic relations, Moscow officially stated that it was willing to transfer the two smaller islands to Japan following the conclusion of a peace treaty. As confirmed by Vladimir Putin in 2000 and again in 2012, this remains Moscow's position (Soejima and Komaki 2012). Japanese leaders, however, have consistently refused to accept this offer, drawing attention to the fact that Shikotan and Habomai represent only 7 percent of the disputed territory (Prime Minister Noda cited in Nihon Keizai Shinbun 2012). Despite the passage of much time and considerable diplomatic effort, the sides have essentially been unable to proceed beyond this impasse.
  7. Article 2 of the Treaty of Shimoda: Henceforth the borders between Russia and Japan will pass between the islands Iturup (Etorofu) and Urup (Uruppu). The whole island of Iturup belongs to Japan and the whole island Urup and the other Kuril Islands to the north constitute possessions of Russia
  8. Ito, Masami, "Russian-held isles: So near, so far", Japan Times, 18 January 2011, p. 3.
  9. Mormanne, Thierry (1992). Le problème des Kouriles : pour un retour à Saint-Pétersbourg. p. 58–89. ISSN 1164-5857.
  10. Sohn, Joan (2011). 36 Letters. Jewish Publication Society. ISBN 978-0-82760926-6. The fabled Russian military machine proved to be inept and the Russo-Japanese War of 1904–1905 was a slaughterhouse and a disaster. … Brest was a transit station and camp for the army, and the city was full of soldiers and reservists returning from the disastrous Russo-Japanese War.
  11. Papastratigakis, Nicholas (2011). Russian Imperialism and Naval Power: Military Strategy and the Build-Up to the Russo-Japanese War. I. B. Tauris. ISBN 978-1-84885691-2. Gatrell has asserted that the navy, in contrast to the army, was not underfunded and the armament requirements of the Navy Ministry were satisfied, since most of the money was spent on the construction and repair of vessels. In this sense he attributed the navy's disastrous performance in the Russo-Japanese War to the mismanagement of adequate resources and enforced economies impairing the training of crews.
  12. K. Takahara, Nemuro raid survivor longs for homeland. Japan Times, September 22, 2007. Accessed August 3, 2008
  13. Fackler, Martin (2 พฤศจิกายน 2010). "Japan Summons Envoy to Russia Over Kurile Islands Dispute". New York Times. p. A12. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010. Japan's dispute with Russia has divided the two countries for more than half a century, preventing them from signing a formal peace treaty to conclude World War II
  14. "European Parliament resolution on relations between the EU, China and Taiwan and security in the Far East #15". Strasbourg: European Parliament. 7 กรกฎาคม 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2013.
  15. Soviet-Japanese joint declaration of 1956 [ru] — full text (ในภาษารัสเซีย)
  16. declaration of 1956, official Japan site — full text (ในภาษารัสเซีย)
  17. declaration of 1956, Japan embassy — full text (ในภาษารัสเซีย)
  18. "Islands disputed with Japan feel Russia's boom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2007.
  19. Ueno, Teruaki. "Russia's Putin, Japan PM may meet over island row". Reuters. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2016.
  20. Russia hopes to solve territorial dispute with Japan by strengthening trust, Xinhua News Agency, สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008.
  21. "BBC NEWS - Asia-Pacific - Japan, Russia discuss islands row". 18 กุมภาพันธ์ 2009.
  22. 北方領土は「固有の領土」 岸田首相 ["The Northern Territories are" unique territories ", Prime Minister Kishida]. Jiji Press (ภาษาญี่ปุ่น). 7 มีนาคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2022.
  23. 23.0 23.1 "Japan renews island dispute with Russia". Yahoo News (Australian Associated Press). 8 มีนาคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2022.
  24. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 Japan's Northern Territories (Pamphlet). Japan Ministry of Foreign Affairs website (See External links below).
  26. "抑留55年目の回顧~「シベリア抑留関係展示会」【3】". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.
  27. Tokachi branch of the League of Chijima Habomai Islands Residents: 2008 16th Regular Meeting Proposals (paper document in Japanese)「支部長 鈴木 健二郎」
  28. [1] เก็บถาวร ตุลาคม 30, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. "Japan displays documents to defend claims to disputed isles". The Washington Post. Associated Press. 2018-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-26. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.

44°6′N 146°42′E / 44.100°N 146.700°E / 44.100; 146.700