กบนา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoplobatrachus rugulosus) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae)

กบนา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Amphibia
อันดับ: อันดับกบ
Anura
วงศ์: วงศ์กบลิ้นส้อม
Dicroglossidae
สกุล: Hoplobatrachus
Hoplobatrachus
(Wiegmann, 1834)
สปีชีส์: Hoplobatrachus rugulosus
ชื่อทวินาม
Hoplobatrachus rugulosus
(Wiegmann, 1834)
ชื่อพ้อง

Rana tigrina ssp. pantherina Steindachner, 1867

ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400 กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัวแสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 150– 50 กรัม เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในช่วงนี้ลำตัวจะมีสีเหลือง นิ้วเท้าด้านหน้าจะมีตุ่มที่ขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นได้ชัดเจน ตุ่มนี้มีประโยชน์ในการใช้เกาะตัวเมียและตุ่มนี้จะหายไปในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 1,500–3,000 ฟอง ต่อครั้ง ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา 24–36 ชั่วโมง ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา 28–45 วัน โดยลูกอ๊อดมีลำตัวสีเขียว

พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้ [2]

อ้างอิง

แก้
  1. Arvin Diesmos, Peter Paul van Dijk, Robert Inger, Djoko Iskandar, Michael Wai Neng Lau, Zhao Ermi, Lu Shunqing, Geng Baorong, Lue Kuangyang, Yuan Zhigang, Gu Huiqing, Shi Haitao, Chou Wenhao (2004). "Hoplobatrachus rugulosus". IUCN Red List of Threatened Species. 2004: e.T58300A11760194. doi:10.2305/IUCN.UK.2004.RLTS.T58300A11760194.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. กบนา

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้